สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (SAARC Chamber of Commerce and Industry (CCI)) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 6th SAARC Business Leaders Conclave ระหว่างวันที่ 16 – 18 มีนาคมที่ผ่านมา
มีจุดประสงค์เพื่อนําผู้ประกอบการและนักลงทุนในเอเชียใต้มาร่วม หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาค การจัดการกับความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจและ การเมืองของประเทศสมาชิก และการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในด้านพลังงาน การท่องเที่ยว และมิติ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย เลขาธิการ SAARC ได้สนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ SAARC และเสนอให้ประเทศสมาชิกพิจารณายกเลิกกําแพง ภาษี ลดปริมาณสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อการเก็บภาษี รวมทั้งเพิ่มการอํานวยความสะดวกด้านการค้าและ ความสอดคล้องด้านมาตรฐานต่างๆ ในภูมิภาค ปัจจุบัน SAARC อยู่ในระหว่างการจัดทําข้อตกลงหลายสาขา ได้แก่ การเดินรถไฟ การบริการด้านอากาศ รวมทั้งการขยายโครงการเรือขนส่งสินค้าและผู้โดยสารใน มหาสมุทรอินเดียให้ครอบคลุมไปยังบังกลาเทศ มัลดีฟส์และปากีสถาน และยังมีแผนที่จะจัดทําข้อตกลงความ ร่วมมือด้านพลังงานและส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการรวมตัวทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงของภูมิภาคในอนาคต[su_spacer size=”20″]
การส่งเสริมความแข็งแกร่งของ SAARC มีความสําคัญมากต่อบทบาทในเศรษฐกิจโลกของเอเชียใต้ในอนาคต เนื่องจากศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีประชากรมากถึง 1.7 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรโลก และมีมูลค่า GDP ตามอํานาจการซื้อถึง 9.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ SAARC ยังต้องมุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมโยงที่มีคุณภาพและการมีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ทั้งทางรถไฟ ถนน อากาศ ทะเล แม่น้ำ และดิจิทัล รวมทั้งต้องคํานึงถึงการเคลื่อนย้ายของประชากรซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนในภูมิภาคเป็นกลไกสําคัญที่จะนํามาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและศักยภาพใหม่ๆ ของเอเชียใต้ต่อไป[su_spacer size=”20″]
การขยายความร่วมมือด้านพลังงานจะทำให้ภูมิภาคเอเชียใต้ได้ประโยชน์ร่วมกัน (win-win benefits) ที่ผ่านมา SAARC มีพลวัตด้านการค้าขายพลังงานหลายรูปแบบทั้งการจัดทําข้อตกลงด้านพลังงานของ SAARC และข้อตกลงด้านการค้าขายพลังงานทวิภาคีระหว่างอินเดียกับประเทศ ต่างๆ ได้แก่ เนปาล ภูฎาน และบังกลาเทศ อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคเอเชียใต้ยังคงต้องพัฒนาศักยภาพด้านการผลิต พลังงานอย่างมหาศาล โดยธนาคารโลกได้ประเมินว่าเอเชียใต้ต้องการเงินลงทุนประมาณ 1.7 ถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในการสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อพลังงาน (power grid) การสร้างถนน และการผลิตน้ํา เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของประชากรในภูมิภาค และประเทศสมาชิก SAARC จําเป็นที่จะต้องใช้เงินลงทุนถึง 630 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสําหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยเหตุผลดังกล่าว การส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานภายใน SAARC จึงเป็นประเด็นที่ประเทศสมาชิกจะต้องร่วมมือกันเพื่อนําไปสู่ผลประโยชน์และความเจริญทางเศรษฐกิจร่วมกัน[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ภูมิภาคเอเชียใต้ยังมีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและผจญภัย แต่ประเทศใน ภูมิภาคยังขาดการส่งเสริมภาพลักษณ์และการทํา branding ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มคุณค่าของสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศ ทั้งนี้ การพัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวและโรงแรมตั้งแต่แบบประหยัดไปจนถึงแบบหรูหรา การรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก็เป็นส่วนสําคัญที่จะช่วยให้การท่องเที่ยวของประเทศในภูมิภาคมีการเติบโตมากขึ้น อีกทั้ง การลดขั้นตอนที่ซับซ้อนของการทําวีซ่าของบางประเทศและการปรับราคาบัตร โดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศให้ถูกลงจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของภูมิภาคและเพิ่มระยะเวลาการพักแรมของนักท่องเที่ยวในเอเชียใต้ให้นานขึ้น[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ