กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาได้ออกประกาศที่ 25/2561 อนุญาตให้บริษัทที่ต่างชาติถือหุ้นร้อยละ 100 หรือร่วมทุนระหว่างชาวเมียนมากับชาวต่างชาติสามารถดําเนินธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจขายส่งในเมียนมา โดยกําหนดเงื่อนไขเรื่องเงินลงทุนขั้นต่ำ (minimum initial investment) ตั้งแต่ 7 แสน ถึง 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามแต่กรณี โดยบริษัทที่ต่างชาติเป็นเจ้าของหรือบริษัทร่วมทุนที่ชาวเมียนมาถือหุ้นอยู่ด้วย จะต้องมีเงินลงทุนระยะแรก (initial investment capital) ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
เงินลงทุนระยะแรกสําหรับการค้าปลีก | เงินลงทุนระยะแรกสําหรับการขายส่ง | |
บริษัทที่ชาวต่างชาติถือหุ้น ร้อยละ 100 และบริษัทร่วมทุน ที่ชาว มม. ถือหุ้นน้อยกว่า ร้อยละ 20
|
3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ | 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
บริษัทร่วมทุนที่ชาว มม. ถือหุ้น มากกว่าร้อยละ 20 | 7 แสนดอลลาร์สหรัฐ | 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
หมายเหตุ ไม่รวมค่าเช่าที่ดิน[su_spacer size=”20″]
บริษัทที่ประสงค์จะดําเนินธุรกิจค้าปลีกหรือขายส่งภายใต้ประกาศดังกล่าวจะต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา โดยมีเอกสารประกอบ ได้แก่[su_spacer size=”20″]
(1) ใบรับรองการจดทะเบียนบริษัท
(2) สําเนาใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจากคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา
(3) หนังสือรับรองจากคณะกรรมการพัฒนาเมือง หรือ คณะกรรมการพัฒนาเขตของรัฐหรือภาคที่เกี่ยวข้องในเมียนมา
(4) รายการสินค้าที่จะขายผ่านการค้าปลีกหรือการขายส่ง
(5) แผนธุรกิจที่มีรายละเอียดเงินลงทุนระยะแรก พื้นที่ลงทุน และขนาดของพื้นที่ที่จะใช้ (occupied area) เป็นตารางเมตร
บริษัทที่จดทะเบียนภายใต้ประกาศดังกล่าวและประสงค์จะเปิดสาขาใหม่ จะต้องแจ้งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาให้ทราบล่วงหน้า 90 วัน[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ประกาศดังกล่าวของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาอนุญาตให้ชาวเมียนมาดําเนินธุรกิจค้าปลีกหรือขายส่งได้เองโดยไม่จํากัดเงินลงทุนระยะแรก อย่างไรก็ตาม หากบริษัทเมียนมาได้มีการดําเนินธุรกิจแล้ว และเงินลงทุนระยะแรกมีมูลค่า 7 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 7 แสนดอลลาร์สหรัฐ บริษัทจะต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เมียนมาภายใน 150 วัน[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์เมียนยังมีข้อจํากัด ดังนี้[su_spacer size=”20″]
(1) พื้นที่ทําการค้าปลีกหรือการขายส่ง ซึ่งรวมถึง minimarket และร้านสะดวกซื้อต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 929 ตารางเมตร
(2) ห้ามดําเนินธุรกิจนอกเวลา วัน หรือในพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการด้านการพัฒนาของภาค รัฐ เมือง หรือ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
(3) ห้ามกระจายสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือต่ำกว่ามาตรฐาน และขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) ห้ามขายสินค้าผิดกฎหมาย[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ บริษัทมีหน้าที่ในการให้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เพื่อสนับสนุนการตรวจสอบบริษัท และการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ประกาศของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาถือได้ว่าเป็นการเปิดเสรีการค้าปลีกและขายส่ง และเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมามากขึ้น[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง