ด้านการคมนาคม กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารของเมียนมาอยู่ระหว่างจัดทําแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ระดับชาติ โดยความช่วยเหลือจาก JICA เพื่อสร้างระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ รองรับการค้ากับต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และส่งเสริมการพัฒนา ด้านอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีแผนปรับปรุงท่าอากาศยานภายในประเทศ 3 แห่ง ให้เป็นท่าอากาศยาน นานาชาติ ได้แก่ (1) Heho (2) Magwe และ (3) Pakokku เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากจีนและประเทศอื่น ๆ [su_spacer size=”20″]
อนึ่ง แผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ดังกล่าว ยังรวมถึงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเส้นทางโลจิสติกส์ ทั้งหมด 5 แห่ง เพื่อเชื่อมโยงระบบการขนส่งทางถนนและแม่น้ํากับเขตอุตสาหกรรม ท่าเรือ และ ต่านชายแดนต่าง ๆ ได้แก่ (1) North-South Logistics Corridor เชื่อมโยงย่างกุ้งกับจีน (2) South East Logistics Corridor เชื่อมโยง มม. กับไทย (3) Trans-Myanmar Logistics Corridor เชื่อมโยงรัฐยะไข่กับรัฐฉาน (4) India Logistics Coridor เชื่อมโยงกับอินเดีย (5) Main River Logistics Corridor เชื่อมโยงแม่น้ําสายหลัก และ (6) Coastal Marine Logistics Corridor เชื่อมโยงเมืองกับทะเล[su_spacer size=”20″]
ด้านการค้า รัฐบาลเมียนมาอยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายด้าน e-commerce เพื่อควบคุมการค้าสินค้าและบริการ ออนไลน์ตามข้อกําหนดของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ ในที่ประชุมคณะกรรมการการค้าชายแดนไทย-เมียนมา เมื่อเดือน มีนาคม ที่ผ่านมา ฝ่ายไทยได้เสนอให้เมียนมากําหนดสกุลบาทเป็นเงินสําหรับการค้าระหว่างไทยกับเมียนมาเพื่อเสถียรภาพของการค้าชายแดน และทั้งสองฝ่ายได้หารือ เกี่ยวกับการจัดตั้งจุดตรวจสอบที่เดียวที่ด่านชายแดน (single stop inspection at border gate) รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านการค้า[su_spacer size=”20″]
ด้านการเงินการคลัง ธนาคารกลางของเมียนมาอนุญาตให้สาขาธนาคารต่างชาติ 7 แห่ง ในกรุงย่างกุ้งเปิดให้บริการการเงินเพื่อการค้าขาย (trade financing services) โดยยังมีสาขาธนาคารต่างชาติอีก 5 แห่ง ในกรุงย่างกุ้งที่จะได้รับ อนุญาตเพิ่มเติมภายในปี 2559 ทั้งนี้ การขยายสาขาธนาคารต่างชาติเพื่อให้บริการดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรมการส่งออก และส่งเสริมการปรับปรุงธุรกิจ[su_spacer size=”20″]
ด้านพลังงานไฟฟ้า กระทรวงไฟฟ้าและพลังงานของเมียนมาได้อนุมัติการดําเนินโครงการด้านพลังงาน 4 รายการ ได้แก่ (1) โครงการก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ระหว่างบริษัท Total ของฝรั่งเศส และบริษัท Seimens ของเยอรมนี ที่เมือง Kan Pauk ภาคตะนาวศรี (2) โครงการ LNG ระหว่างบริษัท Zheful Holding Group ของจีนกับ Supreme Group ของเมียนมาที่เมือง Mee Laung Galing ภาคอิระวดี (3) โครงการ LNG ของบริษัท Toyo-Thai Corporation Public Co. Ltd. (TTCL) ของไทย ที่ย่างกุ้ง และ (4) โครงการก๊าซธรรมชาติระหว่างบริษัท Sinohydro ของจีน และ Supreme Group ของเมียนมา ที่เจ้าผิวก์ รัฐยะไข่ นอกจากนี้เมียนมาได้ลงนามข้อตกลงสามฝ่ายกับจีนและบังกลาเทศ ด้านการค้าพลังงาน ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน การแบ่งปันทรัพยากรไฟฟ้า การสนับสนุนกันด้านการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของทั้งสามประเทศ[su_spacer size=”20″]
อนึ่ง ไทยมีโอกาสลงทุนในเมียนมา โดยเฉพาะในสาขาที่รัฐบาลเมียนมาให้ความสําคัญ อาทิ โลจิสติกส์ ภาคการผลิต และพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ นโยบายส่งเสริมการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ในการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านตามแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงกับไทยจะอํานวยประโยชน์ ในการส่งเสริมการค้าการลงทุนผ่านแนวชายแดนไทย-เมียนมา [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง