เมื่อวันที่ 2 – 3 มิ.ย. 62 คณะผู้แทนของธนาคารแห่งประเทศไทย นําโดยนางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ได้เดินทางมาเยือนเมียนมาร์ เพื่อสํารวจโอกาสและความเป็นไปได้ ในการผลักดันให้สกุลเงินบาทไทยสามารถโอน ชําระ และแลกเปลี่ยนในระบบตามกฎหมายของเมียนมาร์ โดยเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 62 เอกอัครราชทูตได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่คณะฯ และเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 62 คณะฯ ได้หารือกับภาคเอกชน และภาคธนาคารของไทยและเมียนมาร์ สรุปสาระสําคัญดังนี้
[su_spacer]
- 1. การทำธุรกรรมการเงินในเมียนมาร์
ปัจจุบันธนาคารกลางเมียนมาร์ (Central Bank of Myanmar – CBM) อนุญาตให้สกุลเงินต่างประเทศ สามารถดําเนินธุรกรรมกับสกุลเงินจัดได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1.1 สกุลเงินที่สามารถโอน ชําระ และแลกเปลี่ยนในระบบ (Eligible Currency) ซึ่งบุคคลทั่วไป และนิติบุคคลสามารถดําเนินธุรกรรมและแลกเปลี่ยนเงินกับสกุลเงินจัดได้โดยตรงที่จุดให้บริการ (money changer) ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สิงคโปร์ และยูโร
1.2 สกุลเงินที่สามารถโอนและชําระในระบบ (Settlement Currency) โดยนิติบุคคลสามารถ ดําเนินธุรกรรมผ่านธนาคารที่ได้รับอนุญาต (Authorized Dealer – AD) อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปไม่สามารถดําเนิน ธุรกรรมและแลกเปลี่ยนกับสกุลเงินได้โดยตรง ได้แก่ หยวนจีน และเยนญี่ปุ่น
1.3 สกุลเงินที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรได้ (Physical Note) ตามจุดให้บริการที่กําหนดไว้ เท่านั้น เช่น ธนาคาร และเคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่บุคคลทั่วไปและนิติบุคคลยังไม่สามารถใช้ในการดําเนิน : ธุรกรรมผ่านระบบธนาคาร ได้แก่ ริงกิตมาเลเซีย และบาท
[su_spacer]
- 2. ผลดีของการผลักดันให้สกุลเงินบาทเป็นEligible Currency ในเมียนมาร์
2.1 ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศที่ดีในการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเมียนมาร์ อาทิ การส่งเสริม การดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่องทางที่เป็นทางการ และการรวบรวมข้อมูลตัวเลขที่เป็นทางการของสถิติการค้า และการลงทุน
2.2 อํานวยความสะดวกการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านระบบธนาคารโดยไม่จําเป็นต้องผ่าน สกุลเงินหลักอื่น ๆ และลดปัญหาการโอนเงินนอกระบบธนาคาร (โพยก๊วน) โดยเฉพาะการโอนเงินกลับประเทศของ แรงงานเมียนมาร์ ในประเทศไทย
2.3 รองรับการดําเนินธุรกรรมผ่านระบบ QR Code ระหว่างธนาคารของไทยกับธนาคารของ เมียนมาร์ ซึ่งสอดคล้องกับความพยายามของธนาคารแห่งประเทศไทยาลังผลักดันประเด็นดังกล่าวกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน เพื่อสนับสนุน แนวคิดการเป็นสังคมดิจิทัลของอาเซียน (Digital ASEAN)
[su_spacer]
- 3. การดําเนินการในอนาคต
3.1 UMFCCI จะจัดทํา non-paper เกี่ยวกับประโยชน์ของการแลกเปลี่ยน โอน และชําระ ระหว่างสกุลเงินบาทกับสกุลเงินจ๊าต เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนําไปประกอบการจัดทําเอกสารเสนอแก่ฝ่ายเมียนมาร์ ภายในเดือน มิ.ย. 62
3.2 นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยมีกําหนดเยือนเมียนมาร์ เพื่อพบหารือกับนาย Kyaw Kyaw Maung ผู้ว่าการธนาคารกลางเมียนมาร์ และคาดว่าจะลงนาม MOU ความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย กับ CBM ด้วย ในช่วงเดือน ก.ค. 62
3.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้กลไกความร่วมมือด้านวิชาการและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเพื่อสานความสัมพันธ์ ของทั้ง 2 องค์กร ในฐานะ regulator ด้านการธนาคารในประเทศตนเอง อาทิ การฝึกอบรมแก่บุคลากรด้านการเงิน และการธนาคารของเมียนมาร์ ทุกระดับ การเสนอแนวทางการพัฒนานโยบายหรือแผนปฏิบัติการด้านการธนาคารของเมียนมาร์ รวมทั้งการพัฒนาระบบธนาคารเพื่อรองรับการใช้ E- Banking และ E-Commerce ที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้นในเมียนมาร์
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง