รัฐบาลเมียนมาได้ประกาศแผนบรรเทาผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือ “COVID-19 Tourism Relief Plan” สรุปสาระสําคัญดังนี้
[su_spacer]
1. โครงสร้างของแผนฯ – ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 3 ข้อ แผนปฏิบัติการ 12 แผน และกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม โดยแบ่งช่วงเวลาการดําเนินการตามกลยุทธ์ หน่วยงานสําคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงวางแผน การคลัง และอุตสาหกรรม กระทรวงก่อสร้าง กระทรวงการท่องเที่ยวและโรงแรม กระทรวงแรงงาน การตรวจคนเข้าเมืองและประชากร สหพันธ์การท่องเที่ยวเมียนมา ธนาคารกลางแห่งเมียนมา และ Union of Myanmar Travel Association (UMTA)
[su_spacer]
2.ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ
[su_spacer]
2.1 ความอยู่รอด (Survival) – ระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 2563 โดยมีหลายมาตรการ ที่เริ่มดําเนินการไปแล้ว
[su_spacer]
1) การลดหย่อนภาษี เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนและสัญญาเช่าสําหรับ โรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยว
2) มาตรการกระตุ้น (stimulus package) เช่น การให้เงินกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 การการันตีเงินกู้ก้อนใหม่สัดส่วนร้อยละ 50 โดยรัฐบาล
3) การเยียวยาบุคลากรในภาคการท่องเที่ยว เช่น การสนับสนุนการฝึกอบรมออนไลน์ ในทักษะเกี่ยวกับการจัดการวิกฤต การตลาด การท่องเที่ยวและการโรงแรม โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย การขยายระยะเวลารับสิทธิในการรักษาพยาบาล ตั้งแต่ 5 เดือน – 1 ปี ให้แก่พนักงานที่ถูกเลิกจ้าง
4) การประเมินตลาด เช่น การประเมินตลาดเป้าหมาย คาดการณ์ตลาดที่น่าจะฟื้นตัวก่อน และพัฒนาแพคเกจการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น การพัฒนากลยุทธ์ใหม่ทางการตลาดซึ่งรวมถึง Digital marketing
[su_spacer]
2.2 การกลับมาให้บริการใหม่หลังการล็อกดาวน์และการกักตัว (Reopening) – ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2563
[su_spacer]
1) การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน เช่น การออกใบรับรองมาตรฐานความปลอดภัยโดยกระทรวงสาธารณสุขการจัดตั้งคณะทำงานภายใต้กระทรวงท่องเที่ยวและโรงแรมเพื่อกํากับดูแลและออกแนวปฏิบัติ ด้านความปลอดภัยและการตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น
2) การจัดการฝึกอบรมโดยได้รับค่าจ้าง (paid training programs)
3) การตลาดสําหรับวิถีชีวิตแบบใหม่ (Marketing for New Normal situation) ประกอบด้วย แผนการกระตุ้นการท่องเที่ยวหลายด้านสําหรับนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศโดยมุ่งเน้นความปลอดภัยและราคาที่ดึงดูด
4) การสนับสนุน e-Commerce และการทําธุรกรรมออนไลน์ (Digital payment) เพื่ออํานวยความสะดวกนักท่องเที่ยวโดยคํานึงถึงความสําคัญของการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม ต่อการใช้เทคโนโลยีด้วย
[su_spacer]
2.3 การเริ่มต้นใหม่ (Re-launching) ระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 – มกราคม 2564
[su_spacer]
1) การตลาดและการสื่อสารมวลชน เช่น การร่วมมือที่ใกล้ชิดมากขึ้นกับสื่อต่าง ๆ การจัดกลุ่มเป้าหมายของนักท่องเที่ยวในลักษณะกลุ่มทัวร์ รวมถึง Myanmar-Mekong Travel Bubble
2) การอํานวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว เช่น การผ่อนปรนด้านวีซ่า การลดค่าธรรมเนียมวีซ่า
3) การดึงดูดการลงทุนด้านการท่องเที่ยว เช่น tax holiday การสนับสนุนสถาบัน ด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม
4) การสนับสนุนเงินช่วยเหลือและเงินกู้ ด้วยการจัดต้องกองทุนฟื้นฟู การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว การเข้าถึงแหล่งข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์แนวโน้มการท่องเที่ยวของโลก การจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นต้น
[su_spacer]
3. ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
[su_spacer]
เมื่อต้นเดือนมิถุนายน กระทรวงท่องเที่ยวและโรงแรมเมียนมา ประกาศว่า รัฐบาลเมียนมามีแผนจะร่วมมือกับกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ในการฟื้นฟูการท่องเที่ยว โดยพิจารณาว่า ทั้ง 3 ประเทศ สามารถควบคุมการแพร่ระบาดฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเมียนมาในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ขณะนี้ยังไม่มีแผนการที่ชัดเจน ในทางกลับกันเมียนมาไม่ได้กล่าวถึงไทยใน “แผนความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน” นี้ อาจเป็นเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ อย่างไรก็ดี ในกลยุทธ์ที่ 3 ของเมียนมา (ช่วงสิงหาคม 2563 – มกราคม 2564) ปรากฏกิจกรรม Myanmar-Mekong Travel Bubble ภายใต้แผนปฏิบัติการ Introducing Communication Campaign and Marketing ที่มุ่งหมายการขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ลุ่มแม่น้ําโขงโดยรวมไว้ ซึ่งครอบคลุมประเทศไทยด้วย
[su_spacer]
นอกจากนี้ COVID-19 Tourism Relief Plan ของเมียนมา มีการกําหนดหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งองค์กรทางธุรกิจที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชัดเจน ถือเป็นการดําเนินการแบบ “the-whole-of-society approach” และคํานึงถึงผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติจริงด้วยการกําหนด รายละเอียดเป็นกิจกรรมตามแต่ละแผนปฏิบัติการ
[su_spacer]
ทั้งนี้ รัฐบาลเมียนมาให้ความสําคัญต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นแหล่งรายได้ที่สําคัญของเมียนมาและเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 อย่างมากการดําเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการนี้ น่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยความพร้อมและโอกาสที่เปิดให้ ในการมีความร่วมมือกับต่างประเทศ ในปีนี้ กัมพูชากับเมียนมามีโอกาสการฉลอง 65 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งมีแผนการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างกันเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว กอปรกับการผ่อนคลายมาตรการเกี่ยวกับสนามบิน และการเดินทางเข้า-ออกในประเทศนั้น ๆ เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวในเส้นทางมัณฑะเลย์ – เสียมราฐ – มาเก๊า (และไต้หวัน) ดังนั้น การดําเนินกิจกรรม Myanmar – Mekong Travel Bubble กับกัมพูชาอาจจะเกิดขึ้นได้ ในลําดับแรก
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง