โมซัมบิกกำลังก้าวเป็นหนึ่งในผู้ผลิตแร่กราไฟต์รายใหญ่ของโลกโดยในปี 2023 โมซัมบิกถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากจีนและมาดากัสการ์ในการเป้นประเทศผู้ส่งออกแร่กราไฟต์ทั่วโลกโดยผลิตได้ราว 96,000 ตัน อีกทั้งโมซัมบิกยังมีปริมาณสำรองแร่กราไฟต์มากเป็นอันดับ 3 ของโลกอยู่ที่ร้อยละ 8.9 (จีนและบราซิลมีปริมาณมากที่สุดทั่วโลกร้อยละ 27.9 และ 26.4 ตามลำดับ) อีกทั้งปริมาณความต้องการแร่กราไฟต์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแนวโน้มความต้องการในอุตสาหกรรม EV แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยในปี ค.ศ. 2023 ความต้องการกราไฟต์เพิ่มสูงขึ้น 5.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.7 ล้านตันในปี ค.ศ. 2022 และธนาคารโลก (2020) ประเมินว่าในช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2050 ความต้องกราไฟต์จะเพิ่มขึ้นกว่า 500% ทั่วโลก นอกจากนี้ Fortune Business Insights (2025) ประเมินว่าในปี ค.ศ. 2024 อุตสาหกรรมกราไฟต์จะเติบโตจาก 8.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2025 และก้าวกระโดดเป็น 13.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 2032 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี แบบทบต้น (CAGR) 6.9% ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
นอกจากนี้ โมซัมบิกยังมีโครงการเหมืองกราไฟต์อีก 2 แห่ง ได้แก่
1. โครงการเหมือง Balama ตั้งอยู่ที่จังหวัด Cabo Delgado ทางเหนือโมซัมบิก โดยบริษัท Syrah Resources (ออสเตรเลีย) ได้รับสัมปทาน และเป็นเหมืองแร่กราไฟต์ที่ใหญ่ที่สุดในโมซัมบิกและแห่งหนึ่งของโลก โดยเริ่มผลิตแร่เชิงพาณิชย์ครั้งแรกเมื่อ ม.ค. 2562 มีกำลังผลิตสูงสุด 350,000 ตันต่อปี และเป็นแหล่งผลิตแร่กราไฟต์ สำคัญให้กับหลายบริษัทชั้นนำรวมทั้งรถยนต์ Tesla และ POSCO Future M (เกาหลี) ทั้งนี้ สื่อหลายแห่งรายงานว่า เหมืองแห่งนี้ถือว่าเป็นเหมืองกราไฟต์คุณภาพสูงที่ใหญ่ที่สุดในโลก (the world’s largest high-grade graphite mine)
2. โครงการเหมือง Montepuez ตั้งอยู่ที่เมือง Montepuez จังหวัด Carbo Delgado โดยเมื่อ ก.พ. 2568 บริษัท Global Li-lon Graphite Corp. (แคนาดา) ได้เข้าซื้อโครงการฯ โดยบริษัทฯ วางแผนลง นามข้อตกลงซื้อขายขั้นสุดท้ายใน เม.ย. 2568 ทั้งนี้ พื้นที่นี้มีชื่อเสียงเรื่องแร่กราไฟต์ชนิด Rake และมีคุณภาพสูง ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในโครงการ The Ambata Arana Mine เหมืองแร่กราไฟต์ในมาดากัสการ์
โดยแร่กราไฟต์มีความสำคัญในอุตสาหกรรม EV ทั่วโลก โดยโมซัมบิกมีปริมาณสำรองกราไฟต์เป็นอันดับต้นของโลก (อันดับ 3 รองจากจีนและบราซิล) แต่ยังถือเป็นประเทศ new entry ในอุตสาหกรรมแร่กราไฟต์ อย่างไรก็ตาม โมซัมบิกยังเผชิญกับความท้าทายหลายด้านทั้งปัจจัยภายในและภายนอก นอกจากนี้ โมซัมบิกยังมุ่งเน้นการส่งออกแร่ดิบ (raw graphite) เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันโมซัมบิกส่งออกกราไฟต์ไปหลาย ประเทศ อาทิ จีน อินเดีย เยอรมนี สหรัฐและออสเตรีย โดยปี ค.ศ. 2024 Benchmark Mineral Intelligence ประมาณว่าโมซัมบิกส่งออกกราไฟต์ร้อยละ 10 ของ ปท. ผู้ส่งออกทั่วโลก และมีแนวโน้มจะมีบทบาทเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญในอนาคต
ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาปูโต
เรียบเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์