เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศโมร็อกโกในปี ค.ศ. 2020 สํานักข่าว L’Economiste เผยแพร่รายงานของธนาคารโลกที่ระบุว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโมร็อกโกในปี ค.ศ. 2020 มีอัตรา -6.3% ซึ่งเป็นอัตรา การเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบครั้งแรกของโมร็อกโกในรอบ 20 ปี เนื่องด้วยผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด ได้แก่ สาขาการท่องเที่ยว (-57%) เนื่องจากการหยุดชะงักของกิจการด้านการท่องเที่ยวตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 รวมถึงการระงับการขนส่งทางอากาศและทางเรือ ภาคส่วนอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน ได้แก่ สาขาสิ่งทอและเครื่องหนัง (-14.6%) สาขาการก่อสร้าง (-129%) สาขาพลังงาน (- 11%) สาขาอุตสาหกรรมเครื่องกลและเหล็ก (-7.9%) สาขาการพาณิชย์ (-4.7%) สาขาอุตสาหกรรมการเกษตร (- 2%) เนื่องจากปริมาณอุปสงค์ภายในประเทศลดลงรวมถึงอุปสรรคของการส่งออกไปต่างประเทศ นอกจากนี้ การลงทุนในตลาดหุ้นมีอัตราเติบโตลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับ ค.ศ. 2019 อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.8 อุปสงค์ภายในประเทศโดยภาพรวมลดลงร้อยละ 4 โดยอุปสงค์ภาคครัวเรือนมีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 5.1 ในขณะที่อุปสงค์ภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 จากการสนับสนุนด้านงบประมาณในกองทุน ที่จัดตั้งเพื่อแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 อย่างไรก็ดี สาขาเศรษฐกิจในบางสาขามีอัตราการเติบโตได้ดี โดยเฉพาะสาขาไปรษณีย์และโทรคมนาคม ซึ่งมีอัตราการเติบโตร้อยละ 6.1 ในปี ค.ศ. 2020
.
การคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2021-2022 จากธนาคารโลกประมาณการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2021 โมร็อกโกจะมีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง ที่ร้อยละ 4 และปรับตัวเป็นร้อยละ 3.7 ในปี ค.ศ. 2022 จากการผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุข และ สภาพอากาศที่เอื้ออํานวยให้ผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศดีขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับ การประมาณการณ์โดยคณะกรรมาธิการระดับสูงด้านการวางแผน (Haut Commissariat au Plan – HCP) ของโมร็อกโกที่ประมาณการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโมร็อกโกจะเติบโตร้อยละ 0.5 ในช่วงไตรมาสแรก ของปี ค.ศ. 2021 จากเดิมที่ติดลบ 4 ไตรมาสติดต่อกัน โดยสาขาการเกษตรจะเป็นสาขาที่เติบโตสูงสุดร้อยละ 10.8
.
ในส่วนของประเทศตูนิเซีย ธนาคารโลกประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจตูนิเซียมีอัตราการเติบโต 9.2% ในปี ค.ศ. 2020 โดยสาขาที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ สาขาการท่องเที่ยวและการขนส่ง รองลงมาคือ สาขา อุตสาหกรรม และเหมืองแร่ อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 18 ในช่วงไตรมาสแรกของ ค.ศ. 2020 ก่อน ปรับตัวลดเหลือร้อยละ 16 ในช่วงไตรมาสที่สาม การลงทุนจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 25 ในช่วง 9 เดือนแรก ของปี อย่างไรก็ดี อัตราการขาดดุลงบประมาณลดลงเหลือร้อยละ 7 ของ GDP ในปี ค.ศ. 2020 เนื่องจากปริมาณการนําเข้าจากต่างประเทศลดลง ทั้งนี้ รัฐบาลตูนิเซีย ประมาณการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นเป็นร้อยละ 4 ในปี ค.ศ. 2021
.
สุดท้ายในส่วนของประเทศมอริเตเนีย รายงานจากกระทรวงเศรษฐกิจประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจของมอริเตเนียมีอัตราการเติบโต -3.2% ในปี ค.ศ. 2020 (จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโตร้อยละ 6.3 ก่อนเกิดสถานการณ์ COVID-19) และ คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 2 ในปี ค.ศ. 2021 และร้อยละ 4.2 ในปี ค.ศ. 2022 ถึงแม้การส่งออกในสาขาเหมืองแร่ เหล็ก และทอง ยังอยู่ในระดับคงตัว แต่ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ได้แก่ สาขาการประมง เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลง และสาขาการขนส่งและบริการ ทั้งนี้ ภาพรวมในปี ค.ศ. 2020 มอริเตเนียมีอัตราการขาดดุลงบประมาณร้อยละ 15.3 ของ GDP
.
ในระหว่างที่โลกกำลังหาทางฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19ผู้ประกอบการไทยควรเร่งพัฒนาศักยภาพและปรับเปลี่ยนช่องทางการตลาดให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจระหว่างประเทศและเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมที่โดนกระทบหนัก
.
สอท. ณ กรุงราบัต