- ภาพรวมการลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมยานยนต์ในเม็กซิโก
– มีบริษัทผลิตรถยนต์ (OEM) ต่างชาติชั้นนำระดับโลกหลายบริษัทเข้ามาตั้งโรงงานผลิตในเม็กซิโก อาทิ Volkswagen ตั้งอยู่รัฐปวยบลา (ภาคกลางตอนใต้) และรัฐกวานาวาโต (ภาคกลางตอนบน) Audi รัฐปวยบลา Toyota
รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) และรัฐกวานาวาโต (ภาคกลางตอนบน) Ford รัฐโซโนราและรัฐชีวาวา (ภาคเหนือ) GM รัฐโกอาวีลา (ภาคเหนือ) รัฐกวานาวาโต รัฐซันหลุยส์โปโตซี (ภาคกลางตอนบน) และรัฐ Estado de México (ภาคกลาง) Honda และ Mazda รัฐกวานาวาโต Chrysler รัฐโกอาวีลา Nissan & Daimler รัฐอากวัส-กาเลียนเตส (ภาคกลางตอนบน) Nissan รัฐ Estado de México และรัฐโมเรโลส (ภาคกลาง) BMW รัฐซันหลุยส์โปโตซี KIA รัฐนวยโวเลออง (ภาคเหนือ) นอกจากนี้ บริษัท Beijing Automotive Industry (BAIC) จากจีน ได้เข้ามาตั้ง assembly line สำหรับเริ่มต้นผลิตรถยนต์รุ่น D20 และ X25 ที่รัฐเวรากรูซ (ภาคใต้ของเม็กซิโก) เมื่อปี 2559
- ภาพรวมยอดขายรถยนต์ปี 2560
การส่งออกไปต่างประเทศ
– ในปี 2560 เม็กซิโกผลิตรถยนต์ได้ทั้งหมด 38 รุ่น โดยรุ่นของรถยนต์ส่วนบุคคลขนาดเล็กที่ผลิตได้มากที่สุด
ได้แก่ (1) Nissan Sentra (2) Nissan Versa (3) Volkswagen Jetta (4) Ford Fusion และ (5) KIA Forte และรุ่นของรถยนต์ส่วนบุคคลขนาดใหญ่ที่ผลิตได้มากที่สุด ได้แก่ (1) Chevrolet Silverado 2500 (2) RAM Crew Cab (3) Jeep Compass (4) Honda HR-V และ (5) GMC Sierra โดยเม็กซิโกส่งออกร้อยละ 83.9 ของรถยนต์ที่ผลิตได้ไปยังตลาดอเมริกาเหนือ (NAFTA) ร้อยละ 6.4 ไปอเมริกาใต้ ร้อยละ 5.4 ไปยุโรป ร้อยละ 1.3 ไปเอเชีย และร้อยละ 0.1 ไปแอฟริกา
– เม็กซิโกส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 75.3 ของการส่งออกรถยนต์ทั้งหมดของเม็กซิโก) จำนวน 2,335,245 คัน โดยรถยนต์รุ่นที่ส่งออกมากที่สุด ได้แก่ (1) RAM 2500 (2) Silverado 2500 Regular Cabin และ (3) Nissan Sentra
– แคนาดาเป็นอันดับ 2 จำนวน 267,219 คัน โดยรถยนต์รุ่นที่ส่งออกมากที่สุด ได้แก่ (1) GMC Sierra
(2) RAM 2500 และ (3) Chevrolet Silverado 2500 Regular Cabin
– เยอรมนีเป็นอันดับ 3 จำนวน 96,753 คัน โดยรถยนต์รุ่นที่ส่งออกมากที่สุด ได้แก่ (1) Volkswagen Jetta (2) Volkswagen Tiguan และ (3) Volkswagen Beetle Cabrio
– โคลอมเบียเป็นอันดับ 4 จำนวน 50,067 คัน โดยรถยนต์รุ่นที่ส่งออกมากที่สุด ได้แก่ (1) Chevrolet Trax (2) Ford Fiesta Sedan และ (3) Nissan March
– บราซิลเป็นอันดับ 5 จำนวน 49,043 คัน โดยรถยนต์รุ่นที่ส่งออกมากที่สุด ได้แก่ (1) Chevrolet Trax (2) Volkswagen Jetta และ (3) Nissan Pick-up
การจำหน่ายภายในประเทศ
– ในปี 2560 OEMs ในเม็กซิโกขายรถยนต์ให้ตลาดภายในประเทศได้ทั้งหมด 1,530,317 คัน โดยยี่ห้อที่
ยอดขายเติบโตสูงที่สุด ได้แก่
(1) KIA ขายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 จากปีก่อนหน้า แม้ว่า KIA เพิ่งเข้ามาลงทุนในเม็กซิโกได้เพียง3 ปี แต่ขณะนี้ สามารถขายรถยนต์ได้มากที่สุดเป็นอันดับ 7 และมีส่วนแบ่งร้อยละ 5.7 ของตลาดทั้งหมด ซึ่งน้อยกว่า Honda เพียงร้อยละ 0.1 เนื่องด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ราคาสมเหตุสมผลกับคุณภาพ ให้การรับประกันยาวนานถึง 7 ปี โดยรุ่นที่ขายดีที่สุด ได้แก่ Rio, Sportage และ Forte
(2) Hyundai เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 จากปีก่อนหน้า เนื่องด้วยยอดขาย Creta และ Grand i10 ที่เพิ่มขึ้น
(3) Suzuki เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 เนื่องด้วยการพัฒนานวัตกรรมใหม่ในรถยนต์รุ่น Swift การเปิดตัวรถยนต์
รุ่น Ignis ซึ่งเป็น SUV nano รุ่นแรกในเม็กซิโก และความนิยมในรุ่น Vitara โดยนิตยสาร Motor Pasion คาดว่า Suzuki
จะยังคงเป็นที่นิยมต่อเนื่องในปี 2561 จากการส่งเสริมการขายรุ่น Swift และการเปิดตัวรถยนต์แบบ sport version
– Ford แม้ว่าจะประสบปัญหาข่าวลือเกี่ยวกับการใช้งานของ PowerShift และการตีตลาดของรถยนต์ยี่ห้อใหม่ ๆ ในเม็กซิโก แต่ก็ขายรถยนต์รุ่น Figo Sedan ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 ในขณะที่ Nissan แม้ว่า อัตราส่วนยอดขายจะลดลงร้อยละ 9.1 แต่ก็ยังคงยอดขายสูงสุดในเม็กซิโก และรถยนต์ของ Nissan ยังคงติดอันดับ Top 10
รถยนต์ที่ขายได้มากที่สุดในเม็กซิโก ซึ่งได้แก่ รุ่น Versa (อันดับ 1 – 83,346 คัน) NP 300 Frontier (อันดับ 2 – 66,938 คัน) March (อันดับ 5 – 48,836 คัน) Sentra (อันดับ 7 – 38,731 คัน) และ Tsuru (อันดับ 10 – 231,56 คัน)
- โอกาสด้านการลงทุนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ในเม็กซิโก
– การส่งออกสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยมายังเม็กซิโกมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการเจรจาทบทวน
ความตกลง NAFTA จากการที่สหรัฐฯ เสนอปรับอัตราส่วน regional content ในสาขายานยนต์จากร้อยละ 62.5 เป็นร้อยละ 85 โดยร้อยละ 50 จะต้องผลิตในสหรัฐฯ ดังนั้น ผู้ประกอบการของไทยในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์ควรจะมองหาลู่ทางในการเข้ามาลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเม็กซิโก เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบดังกล่าว
โดยจะต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของบริษัท OEM ด้านยานยนต์และคู่แข่งจากบริษัทผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์ต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในเม็กซิโก
- รัฐที่มีศักยภาพสำหรับการเข้ามาลงทุนด้านยานยนต์ในเม็กซิโก
รัฐนวยโวเลออง (เมืองหลวง: มอนเตร์เรย์)
– เป็นรัฐที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับการลงทุน มีชายแดนเชื่อมต่อกับสหรัฐฯ ยาว 14 กม. โดยเมืองมอนเตร์เรย์ห่างจากชายแดนสหรัฐฯ 200 กม. มีโครงสร้างพื้นฐานชั้นนำ รวมถึงทางรถไฟที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศ โดยมี Colombia International Bridge (รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร รัฐนวยโวเลอองเป็นเจ้าของ) เชื่อมต่อรัฐฯ กับเมือง Laredo รัฐเทกซัส สหรัฐฯ โดยตรง ทั้งนี้ สะพานดังกล่าวสามารถรองรับรถบรรทุกสินค้าได้กว่า 12,000 คัน/วัน
– มีแรงงานฝีมือที่มีทักษะสูง มีประสิทธิภาพ และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้มากที่สุดในประเทศ มีนักศึกษาจบการศึกษากว่า 300,000 คน/ปี โดยจบระดับปริญญาโทและปริญญาเอก กว่า 1,000 คน/ปี จบสาขาวิศวกรรมกว่า 7,500 คน/ปี และจบเป็นช่างเทคนิคกว่า 11,000 คน/ปี ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยชั้นนำของเม็กซิโกและ
ของภูมิภาคลาตินอเมริกา อาทิ Universidad Autonoma de Nuevo Leon (UNAL), Instituto Tecnologico de Estudios Superiores de Monterrey (Tec de Monterrey), Universidad de Monterrey ฯลฯ ตั้งอยู่ที่
รัฐนวยโวเลออง โดยมหาวิทยาลัยหลายแห่งมีความร่วมมือในลักษณะ dual degree กับหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเม็กซิโก (รองจากกรุงเม็กซิโก และรัฐฮาลิสโก) มีประชากร 5.1ล้านคน (ร้อยละ 4.2 ของประชากรทั้งประเทศ) สนับสนุน GDP ของ ประเทศในอัตราส่วนกว่าร้อยละ 8 (รองจากกรุงเม็กซิโกและรัฐ Estado de México) มีรายได้ประชากรต่อหัวเฉลี่ยสูงที่สุดในประเทศ ดึงดูดการลงทุนต่างชาติในอัตราส่วนร้อยละ 10 ของทั้งประเทศ
– FDI ในรัฐนวยโวเลอองส่วนใหญ่อยู่ในสาขา (1) ยานยนต์ (2) การผลิตอุตสาหกรรมขั้นสูง (3) อุปกรณ์ไฟฟ้า (4) โลจิสติกส์ (เนื่องจากตั้งอยู่ติดชายแดนสหรัฐฯ) และ (5) พลังงาน (โดยการนำเข้าไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากสหรัฐฯ) โดยรัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษาของรัฐฯ ร่วมมือกันส่งเสริม Cluster ในสาขาต่าง ๆ รวมถึงยานยนต์และสาขาที่มี FDI เข้ามาลงทุนสูงที่สุดข้างต้น
– การลงทุนจากต่างชาติที่สำคัญคือ (1) สหรัฐฯ (ร้อยละ 44) (2) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 16) เนื่องมาจากการเข้ามาลงทุนของ Kia และห่วงโซ่อุปทานของ Kia (3) ญี่ปุ่น (4) สเปน (5) อิตาลี (6) แคนาดา (7) จีน (ยังเข้ามาลงทุนไม่มาก แต่อยู่ระหว่างศึกษาลู่ทางเพื่อเข้ามาลงทุนเพิ่มเติม และสนใจมาตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมในเมืองมอนเตร์เรย์) และ(8) สหราชอาณาจักร ทั้งนี้ มีบริษัทต่างชาติมาลงทุนในเมืองมอนเตร์เรย์ประมาณกว่า 3,500 บริษัท
– ปัจจุบัน กว่าร้อยละ 40 ของบริษัทผู้ผลิตสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าของเม็กซิโกตั้งอยู่ที่รัฐนวยโวเลอองและพื้นที่ใกล้เคียง (รัศมี 100 กม.) ซึ่งมีห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมดังกล่าวตั้งอยู่อย่างค่อนข้างครบวงจร โดยบริษัทที่ลงทุนในเมืองมอนเตร์เรย์เน้นการออกแบบและการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาด้วย โดยปัจจุบัน มีศูนย์ R&D ในเมืองมอนเตร์เรย์ 97 แห่ง
รัฐอากวัสกาเลียนเตส (เมืองหลวง: อากวัสกาเลียนเตส)
– ที่ตั้ง ตั้งอยู่ศูนย์กลางของประเทศ ใกล้เมืองเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ กรุงเม็กซิโก เมืองกวาดาลาฮารา (รัฐฮาลิสโก) และเมืองมอนเตร์เรย์ ห่างจากรัฐเทกซัสทางรถยนต์ 8 ชม. นครลอสแอนเจลิส 14 ชม. ใกล้เคียงกับท่าเรือสำคัญคือ ท่าเรือ Manzanillo (สำหรับการขนส่ง/ส่งออกไปเอเชีย) รัฐโกลีมา (ภาคตะวันตก) และท่าเรือ Altamira และ Tampico (สำหรับการขนส่ง/ส่งออกไปยุโรป) รัฐตาเมาลีปัส (ภาคตะวันออก) และมีเที่ยวบินตรงไป Houston, Dallas และนครลอสแอนเจลิสรายวัน ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐฯ จะมีขนาดเล็ก (5,616 ตาราง กม.) แต่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีแผ่นดินไหว ไม่ได้รับผลกระทบ จากพายุเฮอริเคน และไม่ประสบปัญหาการประท้วงในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 47 ปี
– โครงสร้างพื้นฐาน รัฐฯ มีมหาวิทยาลัย 38 แห่ง นิคมอุตสาหกรรม 19 เขต ศูนย์ R&D 8 แห่ง มีถนนรวม 223 กม. และมีท่าอากาศยานนานาชาติ 1 แห่ง ซึ่งรองรับเที่ยวบิน 222 เที่ยวบิน/สัปดาห์
– สาขาที่มีศักยภาพของรัฐฯ ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการเกษตร การขนส่งและโลจิสติกส์ เภสัชกรรม การท่องเที่ยว และเกษตรกรรม โดยในช่วงปี 2542 – 2559 รัฐฯ ได้รับ FDI รวม 6,373 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2559 ได้รับ FDI 447.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ปท. ที่เข้ามาลงทุนในรัฐฯ มากที่สุด ได้แก่ ญป. (ร้อยละ 38.4) สหรัฐฯ (ร้อยละ 22.6) สเปน (ร้อยละ 5.1) เยอรมนี (ร้อยละ 4) และ ฝศ. (ร้อยละ 2.3) และสาขาที่เข้ามาลงทุนในรัฐฯ มากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต (ร้อยละ 76.5)
– Nissan และอุตสาหกรรมยานยนต์ในรัฐฯ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รัฐฯ ดึงดูด FDI ด้านยานยนต์กว่า 7 พันล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงจาก Nissan ซึ่งเข้ามาลงทุนในรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2525 ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ (1) ความปลอดภัยสูง (2) ทรัพยากรบุคคลมีคุณภาพ (3) รัฐฯ ตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์สำหรับการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ
ที่เม็กซิโกมี FTA ด้วย และ (4) รัฐฯ จัดสรรโคงสร้างพื้นฐานให้แก่บริษัท รวมถึงให้บริษัทซื้อที่ดินได้ในราคาย่อมเยา โดยบริษัทเพิ่งจัดตั้งโรงงานแห่งที่สองในรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ รัฐฯ ตั้งเป้าไว้ว่า ในปี 2561 จะผลิตรถยนต์ได้ 1 ล้านคัน โดย Nissan ผลิต 550,000 คัน และ Daimler ผลิต 450,000 คัน
รัฐกวานาวาโต (เมืองหลวง: กวานาวาโต)
– ที่ตั้งและเส้นทางคมนาคม ตั้งอยู่ตรงกลางของประเทศ มีประชากร 5.8 ล้านคน หนาแน่นเป็นอันดับ 6 ของประเทศ โดยทางด่วนสำคัญที่สุดของประเทศ ได้แก่ ถนนสายที่ 45 และ 57 ตัดผ่านรัฐกวานาวาโต ทั้งนี้
การเดินทางโดยรถยนต์จากรัฐฯ ไปยังสหรัฐฯ ใช้เวลาประมาณ 9.30 ชม. ไปยังท่าเรือ Lázaro Cardenas
(ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับการส่งออกไปเอเชีย) ใช้เวลา 5 ชม. และไปยังอ่าวเม็กซิโก ใช้เวลาประมาณ 7.30 ชม. นอกจากนี้ รัฐฯ มีท่าอากาศยานนานาชาติที่ให้บริการเที่ยวบินรายวันไปยัง Houston, Los Angeles, Dallas และ Atlanta และรายสัปดาห์ไปยัง Chicago และ San Francisco
– แรงงาน ปัจจุบันมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ 253,298 คน นักเรียนสายอาชีพ 9,707 คน และนักศึกษา 130,112 คน โดยแบ่งเป็นนักศึกษาวิศวกรรมและภาคส่วนการผลิต 46,375 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ โดยแต่ละปี มีผู้จบการศึกษาระดับ ม. ปลาย 56,314 คน สายอาชีพ 2,723 คน และระดับปริญญาตรี 19,183 คน โดยจบจากคณะวิศวกรรมและภาคส่วนการผลิต 5,266 คน ทั้งนี้ รัฐฯ มีมหาวิทยาลัย 45 แห่ง โดยคณะวิศวกรรม
ในม. ต่าง ๆ ของรัฐฯ จัดสอนหลักสูตร อาทิ วิศวกรรมเครื่องกลไฟฟ้า วิศกรรมเครื่องจักรกล วิศวกรรมอุตสาหกรรม วิศวกรรมหุ่นยนต์ วิศวกรรมกระบวนการผลิต วิศวกรรมระบบยานยนต์ ฯลฯ
– รัฐฯ ได้จัดตั้งสถาบันฝึกอบรมแรงงาน (Instituto Estatal de Capacitación – IECA) เพื่อฝึกอบรมแรงงาน
ป้อนบริษัทเอกชนในรัฐฯ และได้ร่วมกับภาคเอกชนจัดโครงการส่งเสริมการฝึกอบรมและการจ้างงาน ดังนี้ (1) Bécate (Get yourself a scholarship) คือการให้ทุนแก่แรงงานแรกเข้าเพื่อไปฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน
(2) Just in Time คือการจัดเตรียมแรงงานตั้งแต่ บ. เริ่มเข้ามาตั้งในเม็กซิโก เพื่อให้มีแรงงานที่มีทักษะตามที่บริษัทต้องการเพียงพอก่อนที่บริษัทจะเริ่มปฏิบัติการ (3) Cooperative/Dual Training Model คือโครงการจัดฝึกอบรมหลายทักษะพร้อมกัน และ (4) Training without Borders คือการจัดให้ นศ./แรงงานได้ฝึกอบรมภายในบริษัทเป็นเวลา 6 เดือน และในต่างประเทศเป็นเวลา 6 เดือน
– อุตสาหกรรมยานยนต์ รัฐฯ ดึงดูด FDI ได้เป็นอันดับ 1 ในประเทศ โดยในช่วง 20 ปี มีบริษัท 400 แห่ง มาลงทุนด้านยานยนต์ในรัฐฯ โดยในปี 2563 คาดว่า OEM กว่า 10 บริษัทภายในรัศมี 2,000 กม. รอบรัฐฯ จะผลิตรถยนต์รวมกันได้ 2 ล้านคัน โดย OEM ในรัฐฯ อาทิ (1) Mazda ในเมือง Salamanca (2) Honda และ (3) Toyota ในเมือง Celaya (4) GM ในเมือง Silao ฯลฯ ผลิต 1 ล้านคัน ทั้งนี้ รัฐฯ มีเขตนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 28 เขต โดยการกระจายตัวของ OEM ไปตามเขตนิคมอุตสาหกรรมในเมืองต่าง ๆ เป็นไปตามนโยบายของรัฐฯ (Industrial Cities) ในการถ่วงดุลการปรับตัวสูงขึ้นของค่าครองชีพและเพื่อกระจายรายได้ การจ้างงาน และการพัฒนาไปยังเมืองต่าง ๆ ในรัฐฯ
– การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในรัฐฯ (1) Honda ผลิตรถยนต์รุ่น Honda Fit (2) Hino ผลิตรถบรรทุกรุ่น HINO 500 Series (3) GM ผลิตรถยนต์ SUV รุ่น Cadillac Escalade และรถกระบะรุ่น Silverado (4) Mazda ผลิตรถยนต์รุ่น 1 และ 3 และ (4) Toyota เพิ่งประกาศปรับแผนการผลิตจากรถยนต์รุ่น Corolla เป็น
รถกระบะรุ่น Tacoma โดยคงการผลิต Corolla ไว้ที่สหรัฐฯ นอกจากนี้ ชิ้นส่วนยานยนต์ที่รัฐฯ ผลิตเป็นหลัก อาทิ เครื่องยนต์ แกนล้อรถ ระบบส่งกำลัง ยางรถยนต์ เครื่องปั่นไฟ และระบบควบคุมอุณหภูมิ (HVAC)
รัฐเกเรตาโร (เมืองหลวง: เกเรตาโร)
– รัฐฯ มีประชากร 2 ล้านคน อยู่ในวัยทำงาน 829,000 คน อายุเฉลี่ย 26 ปี มีการว่างงานในอัตราร้อยละ 4.48 ตั้งอยู่ศูนย์กลางเม็กซิโก ใกล้กรุงเม็กซิโก มีความปลอดภัย ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงท่าเรือสำคัญของ ปท. ได้แก่ Altamira และ Tampico ฝั่งอ่าวเม็กซิโก สำหรับการส่งออกไปยังยุโรป และ Lázaro Cardenas และ Manzanillo ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับการส่งออกไปเอเชีย มีเที่ยวบินตรง
ไป Los Angeles, Dallas, Houston และ Chicago โดยในเดือน พ.ย. 2560 รัฐฯ จะมีเที่ยวบินตรงไป Atlanta ด้วย
– (1) STANDARD&POOR’S ประเมินการลงทุนในรัฐฯ เป็นระดับ mxAA+ (2) MOODY’S INVESTORS SERVICE ประเมินการลงทุนในรัฐฯ เป็นระดับ Aa1.mx (3) KPMG จัดลำดับว่า บริษัทต่างชาติเลือกที่จะเข้ามาลงทุนในรัฐฯ เป็นอันดับที่ 1 ในประเทศ และ (4) FDI American Cities of the Future จัดลำดับให้รัฐฯ อยู่ในอันดับ 2 ของเมืองที่มี
ความเป็นมิตรต่อการทำธุรกิจมากที่สุดในภูมิภาคอเมริกา ทั้งนี้ มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในรัฐฯ เฉลี่ย 3 แห่ง/เดือน
– ในช่วงปี 2542 – ปัจจุบัน รัฐฯ ดึงดูด FDI จำนวน 13.913 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยร้อยละ 40.3 มาจากสหรัฐฯ ร้อยละ 15.6 จากสเปน ร้อยละ 10.9 จากแคนาดา ร้อยละ 9.4 จากบราซิล ร้อยละ 3.9 จากญี่ปุ่น ร้อยละ 2.9 จากเยอรมนี ร้อยละ 2.3 ทั้งนี้ การลงทุนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 28.5 ของการส่งออกของรัฐฯ ทั้งหมด) อยู่ในสาขายานยนต์ (ไม่มี OEM แต่มีบริษัท tier 1 และ 2 กว่า 270 แห่ง ซึ่งเน้นป้อนสินค้าให้ OEM ในรัฐใกล้เคียง อาทิ กวานาวาโตและซันหลุยส์โปโตซี) อากาศยาน (มี 2 OEM คือ Airbus และ Bombardier และ tier 1) และ IT และการบริการ
– รัฐฯ มีเขตนิคมอุตสาหกรรม 45 แห่ง โดยบริษัทที่เข้ามาลงทุนในรัฐฯ เช่น Siemens, IBM, Ericsson, Bombardier (ประกอบเครื่องบิน สัญชาติแคนาดา) Safran (ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน สัญชาติ ฝรั่งเศส) ฯลฯ รัฐฯ ได้รับ
การลงทุนด้านอากาศยานมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นศูนย์ MRO ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยเป็นการร่วมลงทุนระหว่างสายการบิน Delta กับ Aeromexico ตั้งบริษัทTechOps
– จุดแข็งของรัฐฯ คือ Academia – Industry – Government partnership โดยรัฐฯ มีนโยบาย “Triple Helix” ซึ่งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคอุตสาหกรรม เพื่อการพัฒนา รัฐฯ มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งโดยร้อยละ 90 ของแรงงานในรัฐฯ เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ทั้งนี้ ไม่ปรากฏการประท้วงแรงงานในภาคส่วนการผลิตของรัฐฯ มาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
– รัฐฯ มีศูนย์ฝึกอบรม 102 แห่ง และ Institute of Training for the Work in the State of Queretaro (Instituto de Capacitación para el Trabajo de Estado de Querétaro – ICATEQ) ใช้ระบบ Dual Education System ของเยอรมนีในการฝึกอบรมในสาขาต่าง ๆ เช่น การขึ้นรูปพลาสติก อิเล็กทรอนิกส์ ภาษาอังกฤษ เทคนิคยานยนต์ ฯลฯ มี Technical High School 28 แห่ง ศูนย์ R&D 50 แห่ง เช่น Center of Advanced Technology (CIATEQ) Center of Engineer and Industrial Development (CIDESI) ฯลฯ โดยมี Polytechnic University of Queretaro (Universidad Politécnica de Querétaro – UPQ) เน้นด้านยานยนต์โดยเฉพาะ และร่วมกับเยอรมนีจัดการสอน/ฝึกอบรม dual education system ด้วย
- ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเข้ามาตั้งบริษัทในเม็กซิโก บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเม็กซิโกจะต้อง
จดทะเบียนเป็นบริษัทสัญชาติเม็กซิโก โดยสามารถสร้างพันธมิตรกับบริษัทท้องถิ่นที่ให้บริการสนับสนุนการตั้งบริษัทลงทุนในเม็กซิโก (shelter company) ซึ่งสามารถสนับสนุนการจัดสรรที่ดิน ให้เช่าโรงงานและอาคารสำนักงาน ว่าจ้างแรงงานท้องถิ่น และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายท้องถิ่นได้ โดยจะต้องจ่ายค่าบริการให้กับ shelter company ทั้งนี้ เม็กซิโกไม่จำกัดจำนวนแรงงานต่างชาติ เช่น ผู้จัดการ/ผู้บริหารของ KIA เป็นชาวเกาหลีทั้งหมด
โดยใช้แรงงานเป็นชาวเม็กซิโก เป็นต้น และ/หรือการร่วมลงทุน (Joint Venture) กับบริษัทเม็กซิโก ทั้งนี้ แต่ละรัฐ
ในเม็กซิโกให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนด้านภาษีและด้านอื่น ๆ อาทิ การจัดสรรแรงงาน การจัดหลักสูตรฝึกอบรมแรงงาน การจัดสรรโครงสร้างพื้นฐาน แตกต่างกันไปตามแต่กรณี
- ช่องทางภาษีสำหรับการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์จากไทยมาเม็กซิโก
– ปัจจุบันไทยและเม็กซิโกยังไม่มีความตกลง FTA ระหว่างกัน ซึ่งปกติแล้วหากเม็กซิโกจะนำเข้าสินค้าจากไทย จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 16 ภาษีการนำเข้า (Import Tax) ค่าธรรมเนียมศุลกากร (Derecho de Trámite Aduanero – DTA) และค่าธรรมเนียมสำหรับกระบวนการตรวจสอบล่วงหน้า (Pre-validation – PRV)
ทั้งนี้ มีบริษัทในเม็กซิโกที่เชี่ยวชาญเฉพาะที่สามารถให้บริการและคำปรึกษาด้านกฎหมาย ภาษีศุลกากร การนำเข้า/ส่งออกและโลจิสติกส์ แก่บริษัทต่างชาติในเม็กซิโกตั้งแต่ขั้นตอนการพิจารณาตัดสินใจลงทุนไปจนถึงการเข้ามาลงทุนและการเริ่มประกอบการในเม็กซิโก
สอท. ณ กรุงเม็กซิโก