เม็กซิโกเป็นตลาดขนาดใหญ่ โดยในปี 2560 เศรษฐกิจเติบโตในอัตราร้อยละ 2.1 GDP มีจำนวน 1,153.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ GDP per capita มีจำนวน 8,928 ดอลลาร์สหรัฐ และได้รับ FDI กว่า 29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีประชากรกว่า 127 ล้านคน มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคลาตินอเมริการองจากบราซิล เป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทยในลาตินอเมริกา และมีความตกลงด้านสิทธิประโยชน์ทางการค้ากับกว่า 50 ประเทศทั่วโลก อาทิ NAFTA (สหรัฐฯ และแคนาดา) สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (เปรู ชิลี และโคลอมเบีย) Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTPP) ซึ่งเม็กซิโกได้ร่วมลงนามเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561 ทำให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนและใช้เม็กซิโกเป็นศูนย์กลางการผลิต/ประตูสู่ภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะภูมิภาคอเมริกาเหนือ (NAFTA) และใต้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ภาคเอกชนไทยที่สนใจส่งออกมายังเม็กซิโกและป้อนสินค้าให้ Original Equipment Manufacturers (OEMs) จำนวนมากในเม็กซิโก โดยเฉพาะในสาขายานยนต์และอากาศยาน สามารถพิจารณาขยายการส่งออกมาเม็กซิโกหรือเข้ามาลงทุนในเม็กซิโกเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบข้างต้นได้ โดยสาขาที่ไทยและเม็กซิโกสามารถพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกันได้มีดังนี้[su_spacer size=”20″]
-
- ด้านยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์[su_spacer size=”20″]
1.1 อุตสาหกรรมยานยนต์ในเม็กซิโก [su_spacer size=”20″]
– เม็กซิโกเป็นฐานการผลิตรถยนต์สำหรับภูมิภาคอเมริกาเหนือ โดยในปี 2560 เม็กซิโกผลิตรถยนต์ได้เป็นอันดับ 7 ของโลก รองจากจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี อินเดีย และเกาหลีใต้ ตามลำดับ เป็นจำนวน 3.77 ล้านคัน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.9 จากปีก่อนหน้า และส่งออกรถยนต์สูงอันดับ 4 ของโลก เป็นจำนวนกว่า 3.1 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 จาก
ปีก่อนหน้า โดยในปี 2561 เม็กซิโกคาดว่า จะผลิตรถยนต์ได้ 4 ล้านคัน และในปี 2563 คาดว่า จะผลิตได้ 5 ล้านคัน[su_spacer size=”20″]
– ในช่วงปี 2553 – 2560 บริษัทผลิตรถยนต์ (OEM) ต่างชาติ 7 บริษัท ลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ของเม็กซิโกเป็นมูลค่ากว่า 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันดังต่อไปนี้ (1) ที่ตั้งของเม็กซิโกซึ่งสามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคอเมริกาเหนือและภูมิภาคลาตินอเมริกาได้ (2) ความตกลงสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่เม็กซิโกกับหลายประเทศทั่วโลก (3) ค่าแรงงานต่ำ (4) สภาวะทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยรวมมีเสถียรภาพ และ (5) นโยบายที่เปิดเสรีด้านการค้า โดยการเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างชาติดังกล่าวส่งผลให้เม็กซิโกได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย[su_spacer size=”20″]
– ฐานการผลิตรถยนต์ในเม็กซิโกตั้งอยู่ใน 14 รัฐ ใน 3 ภาคของประเทศ ได้แก่ (1) ภาคกลางตอนใต้ อาทิ รัฐปวยบลา ซึ่งมี Volkswagen เข้ามาตั้งโรงงานอยู่ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1940 – 1960 (2) ภาคเหนือ อาทิ รัฐนวยโวเลออง ซึ่งมีบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ และ OEM ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ อาทิ Navistar (ผลิตรถบรรทุก) ของสหรัฐฯ Daimler (ผลิตรถเมล์) ของเยอรมนี ฯลฯ เข้ามาตั้งอยู่ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1980 – 1990 (หลังมีการลงนาม NAFTA) โดยปัจจุบัน OEM ผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก ได้แก่ Kia พร้อม suppliers ก็ได้เข้ามาตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน และ (3) ภาคกลางตอนบน อาทิ รัฐกวานาวาโต รัฐเกเรตาโร รัฐซันหลุยส์โปโตซี และรัฐอากวัสกาเลียนเตส ซึ่งมี Nissan, Honda, Mazda, Toyota, BMW, GM, Hino, Volkwagen และ Daimler เข้ามาตั้งโรงงานอยู่ นอกจากนี้ Beijing Automotive Industry (BAIC) ซึ่งเป็น OEM จากจีน และได้เข้ามาตั้ง assembly line สำหรับเริ่มต้นผลิตรถยนต์รุ่น D20 และ X25 ที่รัฐเวรากรูซ (ภาคใต้ของเม็กซิโก) และเมื่อปี 2559 ได้มีการศึกษาศักยภาพของรัฐต่าง ๆ ในเม็กซิโกเพื่อวางแผนเปิดโรงงาน OEM เต็มรูปแบบสำหรับปี 2565 ในเม็กซิโกต่อไป ทั้งนี้ BMI ระบุว่า บริษัทจีนหลายบริษัทมาลงทุนในเม็กซิโกเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา[su_spacer size=”20″]
1.2 โอกาสในการขยายการค้าและการลงทุน[su_spacer size=”20″]
– สินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เป็นสินค้าอันดับต้น ๆ ที่ไทยและเม็กซิโกนำเข้า/ส่งออกระหว่างกัน โดยในปี 2560 ไทยส่งออกยานยนต์ ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์เป็นอันดับ 1 (1,075.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.83) ของสินค้าส่งออกทั้งหมดจากไทยมายังเม็กซิโก (ร้อยละ 36.06) และนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์เป็นอันดับ 2 (126.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.60) จากสินค้านำเข้าทั้งหมดของไทยจากเม็กซิโก (ร้อยละ 21.07)[su_spacer size=”20″]
– เม็กซิโกสนใจนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ทดแทน (aftermarket) และสินค้าขนาดเล็กอื่น ๆ อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครื่องเสียงจากจีน อินเดีย และเอเชีย[su_spacer size=”20″]
– เม็กซิโกยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการหล่อโลหะ (die-casting) และการปั๊มขึ้นรูปโลหะ (stamping process) อาทิ การเผาผนึก (sintering) การปรับปรุงพื้นผิว (surface finishing) การบำบัดความร้อน (heat treatment) ฯลฯ รวมถึงยังไม่สามารถผลิตวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการดำเนินการดังกล่าวได้เพียงพอต่ออุปสงค์ของห่วงโซ่การผลิตของประเทศ อาทิ แก้ว เซรามิก การฉีดพลาสติก สารกึ่งตัวนำ (semiconductor)วัสดุการนำไฟฟ้าต่ำ (dielectric material) ระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว (embedded software) เครื่องหล่อ (foundry) แผงวงจรไฟฟ้า (printed circuit board) ฯลฯ จึงเป็นโอกาสสำหรับบริษัทไทยที่มีความเชี่ยวชาญใน
การผลิตวัสุดุและอุปกรณ์ดังกล่าวที่จะส่งออกมายังเม็กซิโกและ/หรือเข้ามาลงทุนในเม็กซิโก[su_spacer size=”20″]
– บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เม็กซิโกส่วนใหญ่อยู่ใน tier 1 ดังนั้น บริษัทไทยที่อยู่ใน tier 2 และ 3 อาจพิจารณาส่งออกมายังเม็กซิโกหรือเข้ามาลงทุนในเม็กซิโกได้[su_spacer size=”20″]
- ด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
– เม็กซิโกเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของลาตินอเมริกา โดยสินค้าที่มีการผลิตมากที่สุดในสาขานี้ ได้แก่ โทรทัศน์จอแบน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และตู้เย็นอัจฉริยะ จึงต้องการนำเข้าสินค้าประเภทหน่วยจัดเก็บข้อมูล หน่วยประมวลผลดิจิทัล อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์ และแผงวงจรไฟฟ้าจำนวนมากจากต่างประเทศ รวมถึงไทย เพื่อนำมาประกอบขั้นสุดท้ายในเม็กซิโก[su_spacer size=”20″]
– ทั้งนี้ ในปี 2560 ไทยส่งออก (1) เครื่องประมวลผลข้อมูลและชิ้นส่วนประกอบมาเม็กซิโก 556.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2) แผงควบคุมไฟฟ้า 83.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3) อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ และส่วนประกอบ 68.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4) แผงวงจรไฟฟ้า 57.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด 55.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ (6) เครื่องรับสัญญาณวิทยุ/โทรทัศน์และส่วนประกอบ 54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นเพียงร้อยละ 18.66 ร้อยละ 2.8 ร้อยละ 2.31 ร้อยละ 1.92 ร้อยละ 1.87 และร้อยละ 1.81 จากสินค้าส่งออกทั้งหมดของไทยมายังเม็กซิโก [su_spacer size=”20″]
3 ด้านพลังงาน[su_spacer size=”20″]
– เม็กซิโกมีทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นจำนวนมากและมีศักยภาพเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมได้ อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา มีบริษัท PEMEX ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจผูกขาดอุตสาหกรรมปิโตรเลียมแห่งเดียวภายในประเทศ โดยไม่มีภาวะการแข่งขัน รัฐบาลปัจจุบันจึงดำเนินนโยบายปฏิรูปด้านพลังงาน โดยเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยให้มีการเปิดประมูลการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันบนพื้นดิน ในน้ำตื้น และน้ำลึก ไปแล้ว 8 รอบ ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดประมูลรอบที่ 9 และ 10 บริเวณภาคพื้นดิน และเปิดประมูลให้บริษัทต่างชาติมาเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท PEMEX (farm-outs) ไปแล้ว 4 รอบ[su_spacer size=”20″]
– ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2561 ปตท. สผ. ชนะการประมูลสัญญาใบอนุญาตในการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันบริเวณน้ำลึก รอบที่ 7 ของเม็กซิโก ในรัฐเวรากรูซ ร่วมกับ PC Carigali (บริษัทลูกของ Petronas) สัญชาติมาเลเซีย และ Ophir สัญชาติอังกฤษ และในตอนใต้ของอ่าวเม็กซิโก ร่วมกับ PC Carigali, Sierra สัญชาติเม็กซิโก และ Repsol สัญชาติสเปน[su_spacer size=”20″]
– BMI Research คาดว่า ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไปเม็กซิโกจะสามารถผลิตพลังงาน (น้ำมันดิบ NGPL และของเหลวอื่น ๆ) ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการที่บริษัทต่างชาติซึ่งชนะการประมูลสัญญาใบอนุญาตสำรวจและ
ขุดเจาะน้ำมันในเม็กซิโกตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เริ่มเข้ามาลงทุนสำรวจ ขุดเจาะ ผลิต และจัดจำหน่ายพลังงานในเม็กซิโก ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2560 กลุ่ม consortium ที่ชนะการประมูลรอบแรกเมื่อปี 2557 ได้แก่ Sierra Oil & Gas สัญชาติเม็กซิโก Premier Oil PLC สัญชาติอังกฤษ และ Talos Energy LLC สัญชาติสหรัฐฯ ประกาศสำรวจพบน้ำมันดิบในบ่อ Zama-1 (เริ่มต้นสำรวจเมื่อเดือน พ.ค. 2560) บริเวณน้ำตื้นของอ่าวเม็กซิโกแล้ว โดยคาดว่ามีน้ำมันดิบเบา 1.4 – 2 พันล้านบาร์เรล ซึ่งนับเป็นปริมาณน้ำมันดิบที่ค้นพบมากที่สุดในโลกในบริเวณน้ำตื้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา[su_spacer size=”20″]
- ด้านอากาศยาน[su_spacer size=”20″]
– OEMs ประกอบเครื่องบินหลายราย อาทิ Airbus สัญชาติฝรั่งเศส Bombardier สัญชาติแคนาดา และ Hawker Beechcraft (ผลิตเครื่องบินทั่วไปและเครื่องบินเจ็ท) สัญชาติสหรัฐฯ และบริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินจำนวนมาก อาทิ Safran สัญชาติฝรั่งเศส Aernnova สัญชาติสเปน ฯลฯ รวมกว่า 330 บริษัท เข้ามาลงทุนใน 23
รัฐในเม็กซิโก เช่น รัฐเกเรตาโร รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย รัฐชีวาวา รัฐโซโนรา ฯลฯ เพื่อใช้เม็กซิโกเป็นฐานในการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือภายใต้ NAFTA ทำให้มีการจัดตั้ง Aerospace Cluster ในหลายรัฐ อาทิ รัฐเกเรตาโร รัฐชีวาวา รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย (ตอนเหนือของเม็กซิโก)[su_spacer size=”20″]
– ในปี 2559 เม็กซิโกส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอากาศยาน 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้รับ
การลงทุนต่างประเทศภายใต้อุตสาหกรรมดังกล่าว 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (Mexican Federation of Aerospace Industry (FEMIA) ยังไม่ประกาศข้อมูลทางการของปี 2560) โดยในปี 2563 เม็กซิโกคาดว่า จะส่งออกได้ 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะมีการลงทุนต่างชาติ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจำนวนบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสาขาดังกล่าวน่าจะเพิ่มเป็นประมาณ 380 บริษัท[su_spacer size=”20″]
– เม็กซิโกมีความเชี่ยวชาญด้านซ่อมบำรุงและประกอบชิ้นส่วนเครื่องบิน (MRO) ด้วย โดยมีฐานซ่อมบำรุงและบริษัทเอกชนให้บริการด้าน MRO อาทิ Mexicana MRO Services ตั้งอยู่ที่ กรุงเม็กซิโก รัฐเกเรตาโร ฯลฯ[su_spacer size=”20″]
– เม็กซิโกให้ความสำคัญกับการค้นคว้าและวิจัยเพื่อผลิตชิ้นส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มและนวัตกรรมสูงให้แก่ OEMs ในประเทศและตลาด NAFTA ด้วย โดยการจัดตั้งศูนย์วิจัยและออกแบบ อาทิ ห้องทดลองด้านอากาศยาน รัฐเกเรตาโร ขณะนี้ รัฐบาฮากาลิฟอร์เนียอยู่ระหว่างเตรียมการตั้งศูนย์ฝึกอบรม ออกแบบ และปฏิบัติการด้านอากาศยาน และรัฐโซโนรา (ตอนเหนือของเม็กซิโก) อยู่ระหว่างเตรียมการเปิดหลักสูตรวิศวกรรมการบินเป็นครั้งแรกในรัฐฯที่ Technological Institute of Hermosillo (ITH) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองหลวง (Hermosillo) ของรัฐฯในปี 2561 รวมถึงก่อสร้าง Regional Center of Research, Technological Development and Innovation for the Aerospace Sector (CIDITSA) มูลค่ากว่า 40 ล้านเปโซ ที่ ITH เพื่อเชื่อมโยงและสนับสนุนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการบินและอากาศยานในรัฐฯ และต่างประเทศ ซึ่งคาดว่า ห้องปฏิบัติการบางส่วนจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือน ส.ค. 2561 โดยจะเริ่มวิจัยและพัฒนาเครื่องบินและยานอวกาศที่ไม่ใช้คนบังคับ (autopilot) ดาวเทียมขนาดเล็ก (Minisatellite) ดาวเทียมนาโน (Nanosatellite) การออกแบบเครื่องบิน และการสำรวจระยะไกล (remote sensing) ก่อน[su_spacer size=”20″]
– เม็กซิโกสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานภายในประเทศด้วย อาทิ Airbus และ Bombardier ได้ร่วมมือกับรัฐเกเรตาโร จัดตั้งมหาวิทยาลัย[su_spacer size=”20″]
ด้านอากาศยาน (Aeronautic University of Queretaro) ณ รัฐเกเรตาโร รวมถึงหลักสูตรฝึกอบรมตามที่อุตสาหกรรมต้องการ
– โดยที่ไทยอยู่ระหว่างพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และมีโครงการพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ภายใต้แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงน่าจะขยายความร่วมมือในด้านดังกล่าวกับเม็กซิโก เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของเม็กซิโก โดยเฉพาะการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติในการผลิตอากาศยานและชิ้นส่วนรวมถึงบริษัทที่ให้บริการด้าน MRO และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอากาศยานและพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก