มาเลเซียเริ่มนโยบายลดการพึ่งพิงแรงงานต่างชาติตั้งแต่ช่วงต้น ค.ศ. 2000 ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 (the 8th Malaysia Plan 2001 – 2005) เพื่อขับเคลื่อนให้มาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีประสิทธิภาพการผลิต โดยไม่พึ่งพิงแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือ เพื่อพัฒนาไปสู่การผลิตที่อาศัยเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ โดยมีการผลักดันนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แม้จะประสบความท้าทาย เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังพึ่งพาแรงงานต่างชาติ ทั้งนี้ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 11 (the 11th Malaysia Plan 2016 – 2020) เริ่มมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนมากขึ้น โดยกําหนดเป้าหมายให้มีสัดส่วนแรงงานต่างชาติในกําลังแรงงานทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 15 ภายในปี 2563 และลดขั้นตอนการดําเนินการจ้างแรงงานต่างชาติให้อยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรมนุษย์เพียงหน่วยงานเดียว ทําให้ในปัจจุบันมีแรงงานต่างชาติถูกกฎหมายร้อยละ 12.6 ของกําลังแรงงานทั้งหมด
.
ปัจจุบัน รัฐบาลมาเลเซียภายใต้นายกรัฐมนตรี Muhyiddin Yassin ยังคงดําเนินนโยบายลดการพึ่งพิงแรงงานต่างชาติ เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดที่ผ่านมา โดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ทําให้อัตราการว่างงานในมาเลเซียเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 เป็นร้อยละ 5.1 และ 4.7 ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีเดียวกัน ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม (SOCSO) ประเมินว่า อัตราการว่างงานเฉลี่ยในปี 2563 จะอยู่ที่ร้อยละ 4 ซึ่งสูงที่สุดในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมา
.
ทั้งนี้ ตั้งแต่มีสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 รัฐบาลมาเลเซียมีนโยบายลดการพึ่งพิงแรงงานต่างชาติหลังโควิด-19 ได้แก่ (1) ประกาศระงับการจ้างแรงงานต่างชาติใหม่ทุกภาคประกอบการ จนถึงสิ้นปี 2563 ยกเว้นการจ้างงานในภาคก่อสร้าง การเพาะปลูก และการเกษตร (2) กําหนดให้นายจ้างที่จะจ้าง แรงงานต่างชาติ ต้องประกาศตําแหน่งงานว่างที่จะว่าจ้างในเว็บไซต์ MYFuturelobs ก่อน ไม่น้อยกว่า 14 – 30 วัน และให้มีผู้แทนจากหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เข้าร่วมสัมภาษณ์ชาวต่างชาติที่นายจ้างประสงค์จะจ้างงานด้วย (3) ผลักดันแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายออกนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง และ (4) ห้ามจ้างแรงงานต่างชาติในงานบางประเภท เช่น ตลาดสด โดยใช้ข้ออ้างด้านการควบคุมโรคระบาด
.
อย่างไรก็ดี ล่าสุด รัฐบาลมาเลเซียประกาศเลื่อนระยะเวลาการบังคับใช้มาตรการการประกาศตําแหน่งงานว่าง ในเว็บไซต์ฯ ออกไปจากกําหนดเดิมในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เป็นเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 และประกาศแผนปรับเทียบผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย (Undocumented Migrant Recalibration Plan) ระหว่าง 16 พฤศจิกายน 2563 – 30 มิถุนายน 2564 ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ (1) โครงการปรับเทียบเพื่อเดินทางกลับ ซึ่งอนุญาตให้ผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางด้วยความสมัครใจภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด และ (2) โครงการปรับเทียบเพื่อเป็นแรงงาน ถูกกฎหมาย เพื่อจัดให้ผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายได้รับการจ้างงานอย่างถูกกฎหมายในภาคประกอบการ 4 สาขา คือ ก่อสร้าง การผลิต การเพาะปลูก และการเกษตร ซึ่งเป็นกิจการที่จัดอยู่ในประเภท 3D (Dangerous, Difficult, and Dirty) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน แรงงานในบางภาคประกอบการ
.
มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลมาเลเซียส่งผลให้ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมที่จําเป็นต้องใช้แรงงานต่างชาติ เช่น ภาคการเพาะปลูก และธุรกิจที่จําเป็นต้องจ้างพนักงานต่างชาติเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนมาตรการฯ อย่างไรก็ดี รัฐบาลมาเลเซียมักมีท่าที่อ่อนลงทุกครั้งที่มีการเรียกร้องจากภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมที่ยังจําเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะในงานที่มีลักษณะอันตราย ยากลําบาก หรือสกปรก ที่เรียกกันในหมู่ชาวมาเลเซียว่า งานประเภท 3D และไม่เป็นที่ต้องการของชาวมาเลเซีย
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์