ในปี 2561 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของ สปป. ลาว อยู่ในระดับร้อยละ 2.04 ซึ่งสูงกว่าปี 2560 และคาดว่าในปี 2562 อัตราเงินเฟ้อมีความเป็นไปได้ที่ จะเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยราคาสิ นค้าในหมวดอาหาร เครื่องดื่มที่ไม่มี แอลกอฮอล์ และสินค้าเพื่อการเกษตรปรับตั วสูงขึ้น [su_spacer size=”20″]
ศูนย์ค้นคว้านโยบายเศรษฐกิ จมหภาคและปรับปรุงโครงสร้ างเศรษฐกิจของสถาบันค้นคว้ าเศรษฐกิจแห่งชาติลาวรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อของ สปป. ลาว มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงในปี 2556 – 2560 และในปี 2561 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของ สปป. ลาว อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.04 ซึ่งปรับตัวสูงกว่าปี 2560 ร้อยละ 0.83 โดยมีปัจจัยที่ทำให้อัตราเงิ นเฟ้อรวมเพิ่มขึ้น อาทิ หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของราคาสิ นค้าด้านการเกษตร อาทิ ข้าวและพืชผักต่าง ๆ (ยกเว้นราคาเนื้อ) เนื่องจากหลายแขวงประสบภัยน้ำท่ วม รองลงมาเป็ นหมวดการคมนาคมและขนส่ง เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าขนส่งและยานพาหนะปรั บตัวเพิ่มขึ้น และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้ า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคา ผ้าและค่าตัด ทั้งนี้ สภาพดังกล่าวทำให้คาดว่าในปี 2562 อัตราเงินเฟ้อจะยังคงเพิ่มขึ้ นอย่างต่อเนื่อง [su_spacer size=”20″]
ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบั นยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่ องตั้งแต่ปี 2556 โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยน ระหว่างกีบกับดอลลาร์สหรัฐ และกีบกับบาท แม้ว่าการที่เงินกีบอ่อนค่าเมื่ อเทียบกับสกุลดังกล่าวจะส่งผลดี ต่อ การส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกที่ได้รั บการชำระเป็นสกุลเงินบาท แต่การอ่อนค่าดังกล่าวมีผลต่ อการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่นำเข้ าจากไทย (มูลค่านำเข้าจากไทยคิดเป็นร้ อยละ 62 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด) [su_spacer size=”20″]
ด้านเงินสำรองระหว่างประเทศ ลดลงจาก 1,016.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในสิ้นปี 2560 เป็น 948.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาส 3 ปี 2561 เนื่องจากดุลการชำระกับต่ างประเทศยังขาดดุลอย่างต่อเนื่ องมาตั้งแต่ ไตรมาส 1 ของปี 2560 ระดับเงินสำรองที่มีอยู่ในปัจจุ บันถือว่ายังบอบบางมากเมื่อเที ยบกับการนำเข้า [su_spacer size=”20″]
ด้านนโยบายเงินตรา พบว่าปริมาณเงินหมุนเวียนรวม (M2) ที่เข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้นในระดั บที่ช้าลงจนถึงสิ้นปี 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.89 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกัน อยู่ระดับร้อยละ 12.45 สาเหตุหลักมาจากการขยายสินเชื่ อช้าลง [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของงบประมาณพบว่า มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2560 ตามการสรุปของกระทรวงการเงินแห่ ง สปป. ลาว รายรับทั้งหมดของปี 2561 ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 เป็นครั้งแรกที่รายรับ สามารถปฏิบัติได้เกินแผนงาน (แผนงานมีเป้าหมายที่ 22,700 พันล้านกีบ หรือ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ส่วนรายจ่ายสามารถปฏิบัติได้ร้ อยละ 97.11 ของแผนงาน แผนงานมีเป้าหมายที่ 32,809 พันล้านกีบ หรือ 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้ทั้งปีการขาดดุลอยู่ในระดั บร้อยละ 4.96 ของ GDP สูงกว่าที่สภาแห่งชาติรับรอง ร้อยละ 4.92 จากระดับการขาดดุลที่ สะสมมาหลายปีทำให้หนี้สิ นสะสมอยู่ในระดับสูงประมาณร้ อยละ 60 ของ GDP ดังนั้น ในปี 2562 รัฐบาลแห่ง สปป. ลาว จึงเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินภาครัฐ โดยจะจำกัดงบประมาณของรัฐเพื่ อลดการรั่วไหลของงบประมาณ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์