เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2562 ธนาคารแห่งเอเชีย (ADB) ประจำ สปป. ลาว ได้จัดการประชุมเผยแพร่รายงานเศรษฐกิจ ประจำปี 2562 โดยมีนายยาซุซิ เนกิชิ ผู้แทนสำนักงาน ADB ประจำ สปป. ลาว พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม [su_spacer size=”20″]
นายลัดตะนะไต หลวงลาดบันดิด ผู้เชี่ยวชาญด้านการปกครอง บริหารรัฐและเศรษฐศาสตร์ของ ADB กล่าวว่า ในปี 2562 – 2563 GDP ของ สปป. ลาว จะยังคงขยายตัวร้อยละ 6.5 ประกอบด้วยการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 8.1 ภาคเกษตรกรรมร้อยละ 2.5 ภาคการบริการร้อยละ 6.7 [su_spacer size=”20″]
นายยาซุซิฯ กล่าวว่า เศรษฐกิจของ สปป. ลาว จะยังคงขยายตัว เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคเกษตรกรรม การผลิตกระแสไฟฟ้า การก่อสร้าง และการบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ได้เสนอให้รัฐบาล สปป. ลาว รักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหาภาค ลดภาระหนี้สิน ปรับปรุงการคุ้มครองด้านการเงินด้วยการเพิ่มการจัดเก็บรายรับ และลดการขาดดุลงบประมาณประจำปีของรัฐ [su_spacer size=”20″]
สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2562 – 2563 คาดว่า จะอยู่ในระดับร้อยละ 2 สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงในตลาดโลก ในขณะที่ราคาอาหารทั่วไปยังคงที่ เนื่องจากมีการฟื้นตัวของภาคเกษตรกรรม ด้านการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2562 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 9.5 ของ GDP และร้อยละ 10 ในปี 2563 การส่งออกกระแสไฟฟ้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มูลค่าการส่งออกของประเทศที่เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12 ในปี 2562 – 2563 ในขณะเดียวกันการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ในปี 2562 และร้อยละ 12 ในปี 2563 โดยเป็นการน้ำเข้าเพื่อสนับสนุนโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้า ทางด่วน และทางรถไฟ นอกจากนี้ คาดว่า คลังสำรองที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจะลดลงและมีมูลค่าต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2562 [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ มีปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงต่อสภาพเศรษฐกิจ อาทิ เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมทางการค้าโลกที่ยังไม่มีความแน่นอน การชำระหนี้สินภายนอกของประเทศยังมีความอ่อนไหวและอาจจะร้ายแรงขึ้นกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ และการเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ [su_spacer size=”20″]
นายสุลินทอน เลืองคำสิง นักวิชาการอาวุโสด้านเศรษฐศาสตร์ของ ADB ระบุว่า ในปี 2562 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียจะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.7 และในปี 2563 จะอยู่ที่ร้อยละ 5.6 เป็นผลจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียในปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.9 โดยยังไม่รวมประเทศและเขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมใหม่ๆ อาทิ ฮ่องกง จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไต้หวัน นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อยังคงลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ในปี 2562 – 2563 ในขณะที่ค่าเงินสกุลของประเทศที่เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคเอเชียมีมูลค่าเพิ่มขึ้น [su_spacer size=”20″]
นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาของภูมิภาคเอเชียว่า ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจเป็นปัญหาในอนาคต โดยเฉพาะกับประเทศที่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และการบริโภคที่ลดลงในตลาดโลกอาจทำให้เกิดการเสียโอกาสในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์