ปัจจุบัน สปป. ลาวมีโรงงานอุตสาหกรรมและหัตถกรรม 8,475 แห่ง แบ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ 684 แห่ง ขนาดกลาง 1,025 แห่ง ขนาดเล็ก 6,766 แห่ง และขนาดเล็กแบบครัวเรือน 19,522 แห่ง ในปี 2563 สามารถ
สร้างงานให้แก่ประชาชนจำนวน 161,584 คน ประกอบด้วยแรงงานในโรงงานขนาดใหญ่ 65,041 คน ขนาดกลาง 25,930 คน ขนาดเล็ก 33,358 คน และขนาดเล็กแบบครัวเรือน 37,255 คน
.
ในช่วงปี 2559 – 2563 มูลค่าการผลิตของภาคอุตสาหกรรมแปรูปขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.22 (แผนกำหนดที่ร้อยละ 12) อุตสาหกรรมผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 42.38 ต่อปี การผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับรูปภาพ แสง สี เสียงเฉลี่ยร้อยละ 26.04 ต่อปี การผลิตเครื่องนุ่งห่มเฉลี่ยร้อยละ 25.31 การผลิตยางและพลาสติกเฉลี่ยร้อยละ 10.47 การผลิตเครื่องดื่มเฉลี่ยร้อยละ 8.43 ต่อปี และการผลิตอาหารเฉลี่ยร้อยละ 6.43
.
ที่ผ่านมาการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้แก่ธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปและหัตถกรรมจะเน้นการสร้างกฎระเบียบ แผนพัฒนาและยุทธศาสตร์ กลไกบริหารจัดการที่สะดวกและดำเนินการได้ง่ายขึ้น โดยสามารถออกกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายอุตสาหกรรมแปรรูป กฎหมายคุ้มครองเคมี และกฎหมายหัตถกรรม โดยในปี 2562 กรมอุตสาหกรรมและหัตถกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าสปป. ลาวได้ออกกฎระเบียบย่อย โดยสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำนวน 16 ฉบับ พร้อมทั้งรับรองยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม 5 ด้าน ปี 2564 – 2568 ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมตัดเย็บ อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ หัตถกรรม และอุตสาหกรรมไอทีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าราคาถูก
.
ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. เศรษฐกิจการค้า วันที่ 30 พ.ย. 63
.
https://laoedaily.com.la/2020/11/30/86713/
.
สอท. ณ เวียงจันทร์