การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ธนาคารโลกประจํา สปป.ลาว เปิดเผยรายงานเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 ว่า เศรษฐกิจ สปป. ลาว จะมีการฟื้นตัวระดับปานกลางในปี 2564 ถึงแม้ว่าการระบาดของโรค COVID-19 สายพันธุ์ใหม่รอบที่สองจะส่งผลกระทบต่อการริเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์ว่า การขยายตัวของ GDP จะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ในปี 2564 อัตราการขยายตัวดังกล่าว ลดลงจากการคาดการณ์เบื้องต้นเมื่อเดือน มีนาคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ซึ่ง ขึ้นกับสมมติฐานหลายอย่าง เช่น ปัจจัยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน การเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ในทั่วประเทศให้ได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลฯ กําหนดไว้ การควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 ในชุมชนให้ได้ในระดับที่แน่นอนจนถึงสิ้นปี
.
การขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจจะลดลงมากกว่าตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ ถ้าโรค COVID-19 มีการระบาดร้ายแรงและมาตรการจํากัดการเดินทางของประชาชนภายในประเทศ (Lockdown) ยังคงดำเนินต่อไป หรือกรณีที่ สปป.ลาว ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแห้งแล้ง หรือการระบาดของโรคสัตว์เลี้ยงการเกษตรและเกษตรเชิงอุตสาหกรรมเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรเชิงอุตสาหกรรม นอกจากนี้อุตสาหกรรมการผลิต พลังงานไฟฟ้า เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมแปรรูปก็พบว่ามีการฟื้นตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นายอเล็กซ์ เครมเมอร์ (Mr. Alex Kremer) หัวหน้าสํานักงานธนาคารโลกประจํา สปป.ลาว กล่าวว่า “ความเสี่ยงในการแก้ไขปัญหาความยุ่งยากด้านการชําระหนี้สาธารณะ การอ่อนค่าของเงินกีบ และรายรับของภาครัฐที่ต่ำ ยังจํากัดทางเลือกของรัฐบาล สปป.ลาว ในการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การส่งเสริมและกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน ตลอดจนการส่งเสริมกิจกรรมทางการค้าให้สามารถนําเข้าและส่งออกสินค้าได้อย่างสะดวกและคล่องตัวจะทําให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายรับจากภาษีและอากรเพื่อนําเงินมาแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจให้ตรงตามเป้าหมาย”
.
ภาวะการลงทุนรัฐบาล
สปป.ลาว โดยแขวงจําปาสักได้อนุญาตให้บริษัท เอไอดีซี การค้าจํากัดผู้เดียว ลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตแป้งมันสําปะหลังในพื้นที่เมืองบาเจียงเจริญสุข แขวงจําปาสัก โดยพิธีลงนาม (MOU) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมจําปาสักแกรนด์ แขวงจําปาสัก มีมูลค่าการลงทุน 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 24 เดือน โรงงานผลิตแป้งมันสําปะหลังที่ได้รับการอนุญาตให้จัดตั้งดังกล่าวเป็นโรงงานขนาดใหญ่และมีความทันสมัยที่สุดใน สปป.ลาว สามารถผลิตแป้งมันสําปะหลังได้วันละ 450 ตัน ซึ่งจะสามารถช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่แขวงจําปาสักและแขวงใกล้เคียงมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นการส่งออกสินค้าวัตถุดิบเป็นหลักทําให้ไม่มีความมั่นคงทางด้านราคาและรายได้
.
การบริโภคภายในประเทศ
ดัชนีการบริโภคภายในประเทศแบ่งตามหมวดสินค้าของ สปป.ลาว ประจําเดือน กรกฎาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน มิถุนายน 2564 ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.36 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา หรือเปรียบเทียบปีต่อปีปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.70 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า และบริการในหมวดต่างๆ ดังนี้
.
(1) หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.10 และเมื่อเปรียบเทียบปีต่อปีปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.44
(2) หมวดสุราและยาสูบ เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.66 และเมื่อเปรียบเทียบปีต่อปีปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.21
(3) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.15 และเมื่อเปรียบเทียบปีต่อปีปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.94
(4) หมวดที่พักอาศัย น้ำประปา ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงหุงต้ม เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนปรับดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87 และเมื่อเปรียบเทียบปีต่อปีปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.87
(5) หมวดเครื่องใช้ในครัวเรือน เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.44 และ เมื่อเปรียบเทียบปีต่อปีปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.71
(6) หมวดการรักษาสุขภาพและยา เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.60 และเมื่อเปรียบเทียบปีต่อปีปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.24
(7) หมวดคมนาคมและการขนส่ง เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.92 และเมื่อเปรียบเทียบปีต่อปีปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.78
(8) หมวดโรงแรมและร้านอาหาร เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.19 และเมื่อเปรียบเทียบปีต่อปีปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.42
(9) หมวดสินค้าและบริการอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนปรับดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.20 และ เมื่อเปรียบเทียบปีต่อปีปรับดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.23
.
อัตราเงินเฟ้อประจําเดือน กรกฎาคม 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว พบว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.70 ปัจจัยที่ทําให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน กรกฎาคม 2560 มีการผันผวนเพิ่มขึ้นนั้นมาจากหมวดหมวดสินค้าและบริการอื่นๆ ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.23 หมวดไปรษณีย์และโทรคมนาคมปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.03 หมวดคมนาคมและการขนส่งปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.78 หมวดสุราและยาสูบปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.21 หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.44 หมวดโรงแรมและร้านอาหารปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.42 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.93 หมวดเครื่องใช้ในครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.71 หมวดที่พักอาศัย น้ำประปา ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงหุงต้มปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.87 หมวดการรักษาสุขภาพและยาปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.24
.
สําหรับการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อเดือน กรกฎาคม 2564 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน มิถุนายน 2564 หมวดคมนาคมและการขนส่ง ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.60 หมวดหมวดสินค้าและบริการอื่นๆ ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.20 หมวดโรงแรมและร้านอาหารปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.19 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.15 หมวดการรักษาสุขภาพและยาปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.13 หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.10 หมวดที่พักอาศัย น้ำประปา ไฟฟ้า และเชื้อเพลิงหุงต้มปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.87 ปัจจัยที่ทําให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน กรกฎาคม 2564 ปรับเพิ่มขึ้น มาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
.
(1) รายการสินค้าอาหารสดและการบริการยังสืบต่อปรับราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่นําเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการอ่อนค่าของเงินกีบ
(2) ราคาทองคํารูปพรรณและราคาทองคําแท่งในตลาดโลกยังสืบต่อผันผวนและปรับราคาเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2560 เป็นสาเหตุทําให้ราคาทองคําใน สปป.ลาว มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งกระทบต่อราคาสินค้าในหมวดหมวดสินค้าและบริการอื่นๆ ปรับเพิ่มสูงขึ้น
(3) ราคาน้ํามันเชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อราคาน้ํามันและราคาสินค้าประเภทต่างๆ ใน สปป.ลาว อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากน้ํามันเชื้อเพลิงเป็นสินค้านําเข้าและเป็นสินค้ายุทธปัจจัยของ สปป.ลาว
.
อัตราการว่างงานเดือนสิงหาคม 2564 ยังเป็นช่วงระยะเวลาที่แรงงานลาวเดินทางกลับจากการไปทํางานในต่างประเทศ โดยผ่านจุดผ่านแดนถาวร พร้อมทั้งกักตัวในสถานที่กักกันที่กําหนดไว้ ซึ่งรัฐบาลฯ ต้องจัดสรรเงินงบประมาณการบริหารราชการแผ่นดินที่มีอยู่อย่างจํากัดเพื่อนําไปใช้จ่ายรองรับการกักกันและรักษาแรงงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่นําเชื้อโรค COVID-19 ไปแพร่กระจายในชุมชน หรือควบคุมให้มีการแพร่กระจายในชุมชนน้อยที่สุด
.
โดยนักวิชาการคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานใน สปป.ลาว อาจจะเพิ่มสูงขึ้นถึง ร้อยละ 30 ของจํานวนประชากรที่อยู่ในเกณฑ์อายุวัยทํางานภายในสิ้นปี 2564 ถ้าหากโรค COVID-19 ยังแพร่ระบาด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนลาวเพิ่มมากขึ้น
.
ผู้ประกอบการไทยควรวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการลงทุน อีกทั้งควรพิจารณานำเสนอหรือทำการตลาดสินค้าส่งออก เช่น น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์รวมทั้งชิ้นส่วนรถยนต์ และเหล็ก ซึ่งเป็นสินค้าที่กำลังเป็นที่ต้องการใน สปป.ลาว
.
สถานเอกอัคราชทูต ณ เวียงจันทน์