เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2563 ธนาคารโลกได้เผยแพร่รายงานเศรษฐกิจสําหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ฉบับเดือน เม.ย. 2563 ในหัวข้อ “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 (East Asia and Pacific in Time of COVID-19)” ซึ่งระบุว่า ในปี 2563 เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะขยายตัวลดลง อยู่ที่ร้อยละ 2.1 ในกรณีการระบาดไม่รุนแรง และอาจติดลบร้อยละ 0.5 ในกรณีรุนแรง ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ เมื่อปี 2562 ที่ร้อยละ 5.8
[su_spacer]
สําหรับเศรษฐกิจลาว ธนาคารโลกคาดว่า การระบาดของโรคโควิด 19 จะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจลาว ในปี 2563 อยู่ในร้อยละ 3.6 ในกรณีการแพร่ระบาดไม่รุนแรง และอาจจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.2 ในกรณีรุนแรง ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจลาวจะขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.8 ซึ่งภาคบริการจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.9 จากร้อยละ 6.7 ในปี 2562 ในขณะที่ภาคการเกษตรจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
[su_spacer]
ผลกระทบจากโควิด 19 ยังทําให้เกิดความยากจนมากขึ้น หลายประเทศต้องใช้เงินลงทุนในการพัฒนาระบบ สาธารณสุขและออกนโยบายทางการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบเฉพาะหน้า ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า หากการระบาด ไม่ขยายวงกว้าง ประชากรในภูมิภาคจะพ้นจากความยากจน 24 ล้านคน (ใช้เกณฑ์แบ่งความยากจนที่ 5.50 ดอลลาร์สหรัฐ/วัน) หากเศรษฐกิจขยายตัวลดลงกว่านี้และการแพร่ระบาดขยายวงกว้าง คาดว่า จะมีประชากรยากจนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 11 ล้านคน ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ในปี 2563 ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก 35 ล้านคน จะหลุดพ้นจากความยากจน
[su_spacer]
นาย Aaditya Mlattoo หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจําภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า นอกจากประเทศต่าง ๆ จะออกมาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจของตนแล้ว การเปิดเสรีทางการค้า การประสานนโยบายเศรษฐกิจมหภาค และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ ในการรับมือกับการแพร่ระบาดในครั้งนี้ โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพื่อเพิ่มการ ผลิตและจําหน่ายอุปกรณ์และบริการทางการแพทย์และสินค้าจําเป็นอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจของภูมิภาคฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
[su_spacer]
ข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อลดผลกระทบเฉพาะหน้าอีกประการ คือ การให้สินเชื่อและการลดหนี้สินให้แก่ ประชาชนและภาคธุรกิจเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ช่วยให้ประชาชนสามารถจับจ่ายใช้สอยได้ และช่วยให้ภาคธุรกิจ อยู่รอดในสถานการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยฉับพลัน อีกทั้งจะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและช่วยให้ภาครัฐ ใช้ทรัพยากรที่สําคัญในการจัดการด้านสาธารณสุขเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดในครั้งนี้
[su_spacer]