ในปี 2561 สปป. ลาวมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ 12 แห่ง เพิ่มขึ้นจาก 10 แห่ง ในช่วงปี 2556 – 2557 โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 43.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทุนจดทะเบียน 14.30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
ในปี 2561 ผู้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ลงทุนจำนวน 4.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงได้มีการลงทุนของภาคเอกชน 1.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการลงทุนของรัฐบาล สปป. ลาว 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสามารถดึงดูดการลงทุนประมาณ 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีบริษัทที่เข้าลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจำนวน 806 บริษัท ในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 26.34 การค้าร้อยละ 25.26 และการบริการร้อยละ 48.4 การส่งออกสินค้าจากเขตเศรษฐกิจพิเศษมีมูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สามารถสร้างรายได้ให้รัฐบาล 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างงาน 55,771 ตำแหน่ง รวมถึงสร้างงานสำหรับแรงงานลาว 12,596 ตำแหน่ง
[su_spacer]
รัฐบาล สปป. ลาวได้จัดสรรพื้นที่สำหรับพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมด 29,489 เฮกตาร์ อย่างไรก็ดี สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ผู้พัฒนาได้เพียง 14,960 เฮกตาร์เท่านั้น และได้จ่ายค่าชดเชยให้ผู้ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 11,678 เฮกตาร์ ปัจจุบันรัฐบาล สปป. ลาวอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Smart & Eco City ในแขวงหลวงน้ำทาและแขวงอุดมไซ
[su_spacer]
ทั้งนี้ คณะกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษจะพัฒนาการบริหารงานของเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยให้บริการแบบครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกการลงทุน การดำเนินธุรกิจ สร้างงาน และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานปี 2562 – 2567 ปัจจุบันคณะกรรมการฯ อยู่ระหว่างการร่างแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ปี 2564 – 2573 และการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามเส้นทางรถไฟลาว – จีน
[su_spacer]
ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. Vientiane Times วันที่ 6 ก.พ. 2563
http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Special.php
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์