ผลการศึกษาของศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (International Trade Centre) ซึ่งได้รับการสนับสนุน ทุนวิจัยจากสหภาพยุโรป ระบุว่า ในช่วงที่ผ่านมา สปป. ลาวได้รับประโยชน์จากระบบสิทธิพิเศษทั่วไปทางภาษี Generalized System of Preferences (GSP) ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการส่งออกของ สปป.ลาวเสียภาษีน้อยลงหรือไม่ ต้องเสียภาษีในการส่งออกไปต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อ สปป. ลาวหลุดพ้นจาก LDC จะไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ดังกล่าวจากตลาด 24 แห่งทั่วโลก
[su_spacer]
ในช่วงปี 2557 – 2561 มูลค่าการส่งออกสินค้าของ สปป. ลาวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การศึกษาดังกล่าวคาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 8,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2567 ในกรณีที่ยังคงได้รับประโยชน์ทางการค้าสําหรับ LDC ทั้งนี้ การหลุดพ้นจากสถานะ LDC จะส่งผลให้ สปป. ลาว สูญเสียมูลค่าการค้ารวม 102 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจได้รับการชดเชยจากการส่งเสริมการค้าและศักยภาพ ด้านการส่งออกของ สปป. ลาว 3,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม สปป. ลาวยังคงเผชิญกับความท้าทาย หลายอย่าง ได้แก่ การขาดดุลการค้า เนื่องจาก สปป. ลาวนําเข้ามากกว่าส่งออก การขึ้นภาษีศุลกากรของประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งทําให้จําเป็นต้องมีการจัดทําข้อตกลงด้านการค้าเสรีเพิ่มขึ้น
[su_spacer]
ภาคการผลิตเครื่องนุ่งห่มจะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการถอนสิทธิพิเศษ GSP เนื่องจาก สปป. ลาว ส่งออกเสื้อผ้าจํานวนมากไปตลาดยุโรป ประเทศคู่ค้าสําคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และแคนาดา โดยผู้ประกอบของลาวได้รับประโยชน์จากการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้ภายใต้โครงการสิทธิพิเศษทางการค้า ทั้งนี้ คาดว่า สปป. ลาวจะสูญเสียมูลค่าทางการค้าสําหรับการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และ แคนาดาในสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของการส่งออกที่คาดการณ์ไว้
[su_spacer]
งานวิจัยดังกล่าวได้ให้คําแนะนําเพื่อลดความสูญเสียทางการค้า 3 ประการ ได้แก่ (1) การได้รับสถานะ EU Generalized System of Preferences Plus (GSP+) ทดแทนสิทธิพิเศษ GSP จะช่วยลดการสูญเสียมูลค่า ทางการค้าลงประมาณร้อยละ 70 (2) การส่งเสริมการค้าแบบกําหนดเป้าหมายจะช่วยขจัดอุปสรรคของตลาด และช่วยให้ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถส่งออกได้ในบางตลาดเช่น กรณีการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปและอาหาร ไปยังญี่ปุ่น สามารถส่งออกได้ โดย สปป. ลาวอาจลงทุนในการส่งเสริมการค้าและจ้างที่ปรึกษาเพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ก้าวข้ามอุปสรรค และเปิดโอกาสทางการตลาดให้ผู้ประกอบการ และ (3) การกระจายการส่งออก โดยเน้นการส่งออก สินค้าที่มีศักยภาพไปยังตลาดทางเลือกจะช่วยเพิ่มปริมาณการส่งออก เพื่อชดเชยความสูญเสียที่เกิดจากการหลุดพ้น จากสถานะ LDC
[su_spacer]