นายเวียงสะหวัด สีพันดอน รองรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป. ลาว เป็นประธานการประชุมสรุปโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ IT Platform เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการคุ้มครองรถขนส่งสินค้าสากล โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจํา สปป. ลาว JICA ประจํา สปป. ลาว สมาคมผู้ขนส่งและจัดส่งระหว่างประเทศ สปป. ลาว และภาคเอกชนเข้าร่วม โดยโครงการดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI)
.
สปป. ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทยเป็นประเทศที่มีชายแดนร่วมกันตามความยาวของแม่น้ําโขง โดย สปป. ลาวเป็นจุดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงระหว่างประเทศดังกล่าวกับจีน ทั้งมีศักยภาพในการพัฒนาระบบขนส่งทางบกและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความทันสมัย เช่น การสร้างเส้นทางที่ได้มาตรฐานอาเซียน การยกระดับการคุ้มครองการขนส่งด้วยการใช้ระบบ IT และกลไกการประสานงานระหว่างประเทศในเส้นทางนี้
.
การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ IT Platform ในระบบบริหารการขนส่งสินค้าผ่านแดนของ สปป. ลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลระบบดังกล่าวในการตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ประเทศชาติและเศรษฐกิจ ระบบ IT Platform เป็นระบบติดตามและตรวจสอบรถขนส่งสินค้าจากต้นทางถึงปลายทาง โดยการป้อนข้อมูลของรถขนส่งดังกล่าวในระบบ โครงการฯ ครอบคลุมเฉพาะการศึกษาการขนส่งสินค้าในเส้นทาง R 9 เชื่อมโยงจากสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร – สะหวันนะเขต) ถึงด่านสากล สปป. ลาว – เวียดนาม (แดนสะหวัน – ลาวบาว) รวมระยะทางประมาณ 224 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง 30 นาที โดยในแต่ละปีมีรถขนส่งสินค้าผ่านแดนกว่า 2,000 คัน
.
ผลการศึกษาด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้าพบว่า การศึกษานี้เป็นโอกาสสําคัญในการพัฒนาภาคการขนส่งทางบกของ สปป. ลาว โดยเฉพาะการอํานวยความสะดวกทางการค้าให้กับการขนส่งสินค้าได้ทันการณ์ และสามารถแจ้งเตือนสถานการณ์การขนส่งสินค้าได้ ปัจจุบัน สปป. ลาวเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ระหว่างยกระดับการบริการดังกล่าวให้ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยีในการคุ้มครอง ติดตาม และตรวจสอบระบบการขนส่งสินค้าผ่านแดนและระหว่างประเทศ โดยใช้ระบบ ASYCUDA ซึ่งคณะการประชุมมีมติเห็นชอบต่อผลการศึกษานี้ ซึ่งมีความจําเป็นต่อประเทศและสามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับระบบขนส่งที่อํานวยความสะดวกให้กับการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย
.
ผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวข้องในด้านการนำเข้า ส่งออกสินค้ากับสปป.ลาว หรือผ่านเส้นทางของสปป.ลาว สามารถใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศที่ติดกัน และเป็นสมาชิกประเทศ ASEAN เหมือนกัน เพื่อการขนส่งสินค้าที่สะดวกขึ้น และได้รับการคุ้มครองจากการขนส่งสปป.ลาว อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบระบบการขนส่งสินค้าผ่านแดน ไปยังจุดมุ่งหมาย โดยใช้เวลาน้อยลง และการศึกษาในครั้งนี้จะครอบคลุมการขนส่งสินค้าในเส้นทาง R 9 ซึ่งเชื่อมโยงจากสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร – สะหวันนะเขต) โดยตรง และยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และธุรกิจช่วงชายแดนไทย – ลาว ได้ในระยะยาว
.
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการค้าของสปป. ลาว วันที่ 18 ก.พ. 2564
.
https://www.laotradeportal.gov.la/index.php?r=site/display&id=2227
.
สอท. ณ เวียงจันทน์
.
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.worldnomads.com/explore/southeast-asia/laos/things-to-see-and-do-in-vientiane-laos