เมื่อปลายเดือน ส.ค. 2562 นายกรัฐมนตรี สปป. ลาวได้ออกข้อตกลงว่าด้วยการแต่งตั้งคณะเฉพาะกิจเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคภายในประเทศและควบคุมการนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภค ฉบับเลขที่ 51/นย. และต่อมาเดือน ก.ย. 2562 หัวหน้าคณะเฉพาะกิจฯ ได้แต่งตั้งหน่วยงานเพื่อช่วยงานคณะเฉพาะกิจฯ ฉบับเลขที่ 3784/กง. เพื่อร่วมกันศึกษาและกำหนดนโยบายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคภายในประเทศและควบคุมการนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภค ผลักดัน ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพและสร้างความเข้มแข็งและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยแบ่งออกเป็น 3 หน่วยงาน ดังนี้
[su_spacer]
- หน่วยงานส่งเสริมการผลิต จำหน่าย ควบคุมตลาด และส่งเสริมการบริโภคสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ให้ครบตามห่วงโซ่การผลิต มีหน้าที่ดังนี้
[su_spacer]
– กำหนดประเภทผัก ผลไม้ และสัตว์ที่จะส่งเสริมการผลิตภาคเกษตรกรรมเพื่อเป็นเสบียงอาหารและสินค้า เพื่อการบริโภคภายในประเทศ โดยครอบคลุมระบบห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การปลูก การเก็บเกี่ยว การคัดแยก การบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา
[su_spacer]
– กำหนดสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะสินค้าในอุตสาหกรรมแปรรูปที่ผลิตได้ ในประเทศ และสามารถผลิตได้ในระยะสั้นและระยะกลาง พร้อมทั้งประเมินความต้องการของตลาดในนครหลวงเวียงจันทน์
[su_spacer]
– เก็บข้อมูล สรุป และสร้างฐานข้อมูลของผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าเกษตร (ฟาร์ม) กลุ่มสหกรณ์ผู้ผลิตและบริการ ผู้ประกอบการ และการบริโภคสินค้าเกษตรกรรมของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแปรรูปที่มีเครื่องจักรหรือโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมทั้งกำหนดสินค้าบางประเภทที่มีศักยภาพสามารถส่งเสริมเป็นสินค้าอุปโภค และบริโภคได้ในอนาคตเพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างแผนดำเนินงานและโครงการอย่างละเอียด
[su_spacer]
– ค้นคว้า ตรวจสอบ และทบทวนนโยบายและมาตรการส่งเสริมต่าง ๆ ในการทำการเกษตรและการจำหน่าย กองทุนพัฒนาการผลิตและการตลาดของกลุ่มสหกรณ์ และกลไกประสานงานเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก การดำเนินงานดังกล่าว
[su_spacer]
– ค้นคว้าและส่งเสริมเทคนิควิชาการด้านการผลิตและจำหน่าย วิธีการขนส่งที่เหมาะสม การกระจายสินค้า การแปรรูปขั้นพื้นฐาน การจำหน่าย และการกำหนดยุทธศาสตร์การตลาด
[su_spacer]
– ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมออกใบรับรองสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
[su_spacer]
– เผยแพร่กฎระเบียบต่าง ๆ พร้อมทั้งบูรณาการการทำงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและการค้า สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว และธุรกิจการผลิต ฟาร์ม เครือข่ายเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ แปรรูปเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างเพียงพอและยั่งยืน
[su_spacer]
- หน่วยงานควบคุมการนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภค มีหน้าที่ดังนี้
[su_spacer]
– กำหนดรายละเอียดรายการสินค้าหรือประเภทสินค้าที่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตผ่านแดน (ด่านท้องถิ่น หรือด่านสากล)
[su_spacer]
– แต่งตั้งเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจสอบและเก็บสถิติการนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคที่นำเข้าผ่านด่านท้องถิ่นและด่านสากล ตลาดขนาดใหญ่และกลางในนครหลวงเวียงจันทน์
[su_spacer]
– ศึกษามาตรการกีดกันการนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ไม่ได้มาตรฐาน ควบคุมคุณภาพสินค้า พร้อมทั้งตรวจสอบมาตรฐานและควบคุมคุณภาพสินค้าที่นำเข้าผ่านด่านชายแดน รับประกันมาตรฐานสินค้า
[su_spacer]
- ฝ่ายเลขานุการ มีหน้าที่ดังนี้
[su_spacer]
– กำหนดแผนงานและอำนวยความสะดวกการทำงานของคณะเฉพาะกิจฯ
[su_spacer]
– เผยแพร่นโยบาย มาตรการ และกฎระเบียบ กำหนดแผนงบประมาณ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตภายในประเทศและการควบคุมการนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภค
[su_spacer]