ดร. ลีเบอ ลีบัวปาว ประธานคณะกรรมาธิการการวางแผนการเงินและการตรวจสอบ สภาแห่งชาติลาว คาดว่า ในปี 2563 สปป. ลาวจะขาดดุลงบประมาณมากขึ้นจาก 741 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 3.7 ของ GDP เป็น 1,140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.7 ของ GDP และการขาดดุลที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ท่ามกลางการระบาดของโควิด 19
[su_spacer]
หนี้สาธารณะส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การกู้ยืมเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการกู้ยืมเพื่อเป็นหลักประกันให้แก่รัฐวิสาหกิจ รัฐบาล สปป. ลาวอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางบริหารหนี้ โดยเปลี่ยนหนี้เป็นการลงทุน การเจรจาต่อรองหนี้ และการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจหรือทรัพย์สินที่รัฐบาลใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ นอกจากนี้ รัฐบาล สปป. ลาวอาจจะออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนหรือกู้ยืมเงินจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อชำระหนี้และบริหารการขาดดุลงบประมาณ ทั้งนี้ มีผู้วิจารณ์ว่า การกู้ยืมเงินมากขึ้นเพื่อใช้จัดการกับการขาดดุลนั้นเป็นสิงที่ทำได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวการขาดดุลอาจส่งผลให้ประเทศมีหนี้สะสมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการจัดการกับการขาดดุลและควบคุมหนี้สาธารณะ
[su_spacer]
รายงานสภาพเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ในช่วงโควิด 19 ของธนาคารโลกฉบับเดือน มิ.ย. 2563 ระบุว่า
[su_spacer]
หนี้สาธารณะของ สปป. ลาวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 65 เป็นร้อยละ 68 ของ GDP ส่งผลให้ประเทศมีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหาภาระหนี้ (ดอกเบี้ยและเงินต้น) โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563 จาก 842 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2562 นอกจากนี้ กระทรวงการเงิน สปป. ลาวได้คาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2563 – 2566 สปป. ลาวต้องชำระหนี้สาธารณะให้ต่างประเทศรวม 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือปีละประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 55 ของรายได้ในประเทศโดยเฉลี่ยในแต่ละปี
[su_spacer]
เมื่อเดือน มิ.ย. 2563 นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ได้กล่าวในที่ประชุมสภาแห่งชาติว่า ในปีนี้รัฐบาลจะออกพันธบัตรเพื่อชำระหนี้และจะเปลี่ยนหนี้ของบริษัทเอกชนซึ่งดำเนินโครงการของภาครัฐไปเป็นของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการจัดเก็บรายได้และลดรายจ่ายในโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
[su_spacer]
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์แนะนำว่า รัฐบาลจำเป็นต้องช่วยเหลือภาคเอกชน โดยเฉพาะ SMEs ในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตเพื่อส่งออก รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและส่งเสริมภาคการส่งออก ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
[su_spacer]