นับตั้งแต่ปี 2552 ผู้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคําในแขวงบ่อแก้ว (ตรงข้ามกับจังหวัดเชียงราย) ได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเขตเศรษฐกิจพิเศษๆ ได้แก่ การสร้างถนน คูกั้นดินถล่ม ท่าเรือสากล สํานักงานภาษี ตลาดสด ระบบน้ําประปา สถานีไฟฟ้า ระบบสื่อสาร สาธารณสุขและการรักษาขั้นพื้นฐาน ถนนมิตรภาพ ลาว – จีน ตลาดจีน ร้านอาหารริมแม่น้ํา โรงแรมห้าดาว และโครงการท่องเที่ยวต่าง ๆ รวมมูลค่ากว่า 2 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ และมีนักธุรกิจเข้ามาลงทุนจํานวน 495 กิจการ รวมทุนจดทะเบียนประมาณ 496 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
นายจันทะจอน วางฟาเซ็ง กรรมการสภาบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคํา กล่าวว่า เขตเศรษฐกิจฯ ได้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ได้แก่ การก่อสร้างสะพานและปรับปรุงคลองระบายน้ํา 3 แห่ง รวมมูลค่า 6.4 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ พัฒนาพื้นที่สีเขียว มูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้ดึงดูดการลงทุนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) ด้านสาธารณสุข โดยการสร้างโรงพยาบาลสากลลาวตะวันออกร่วมกับโรงพยาบาลเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว และโรงพยาบาลเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มูลค่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2) ด้านการศึกษา โดยการสร้าง โรงเรียนอนุบาล ประถม และมัธยม มูลค่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (3) ด้านวัฒนธรรม โดยก่อสร้างวัดประมาณ 7.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ (4) ด้านการท่องเที่ยว โดยการสร้างโรงแรมเพิ่มขึ้นจากจํานวน 13 แห่ง ในปัจจุบันอีก 3 แห่ง ซึ่งจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปีนี้ เมื่อปี 2561 มีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจฯ 452,571 คน โดยเดินทางผ่านด่านสากลสามเหลี่ยมคํา 131,593 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 124.5 รวมรายได้จากการเก็บ ค่าธรรมเนียมตรวจลงตราที่ด่านประมาณ 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
ในปี 2562 GDP ของเขตเศรษฐกิจฯ อยู่ที่ประมาณ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้เฉลี่ย 3,750 ดอลลาร์ สหรัฐต่อคน และตั้งเป้าหมายให้ GDP ในปี 2568 เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 190 หรืออยู่ที่ 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2555 – มิ.ย. 2562 เขตเศรษฐกิจฯ ได้ชําระภาษีให้รัฐบาล สปป. ลาว รวม 458 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคําเป็นการลงทุนของกลุ่มบริษัทดอกงิ้วคํา จํากัด (Kings Romans Group) ของจีน โดยรัฐบาล สปป. ลาวได้ร่วมลงนามสัญญาร่วมทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว ในอัตราส่วน 80:20 อายุสัมปทาน 99 ปี เขตเศรษฐกิจฯ มีพื้นที่สัมปทานทั้งหมด 10,000 เฮกตาร์ ประกอบด้วย 2 เขตพัฒนา คือ เขตพัฒนาตัวเมือง 3,000 เฮกตาร์ และเขตป่าสงวนสายพูกิ่วลม 7,000 เฮกตาร์
[su_spacer]
ทั้งนี้ ประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดแถบภาคเหนือเช่น เชียงราย เชียงใหม่ มีความใกล้ชิดและติดต่อค้าขายกับเขตเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน ทำให้สามารถติดตามและรู้ช่องทางของตลาดการค้าขายกับสปป.ลาวได้เป็นอย่างดี จึงถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์
[su_spacer]
ที่มา: เว็บไซต์เศรษฐกิจการค้า
https://laoedaily.Com.la/2019/10/1/62660/