เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2562 สถาบัน Moody’s Investors Service เปิดเผยรายงานเศรษฐกิจคูเวต โดยคงอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวไว้ตามเดิมคือ Aa2 ภาพรวมมีเสถียรภาพ (stable outlook) เหตุผลหลักคือคูเวตมีสินทรัพย์สูงมากจากกองทุนความมั่งคั่ง (Sovereign Wealth Fund – SWF) ที่สูงถึง 370% ของ GDP และการมีน้ำมันสํารองมหาศาล ซึ่งช่วยสนับสนุนความและเป็นหลักประกันความน่าเชื่อถือทางการเงิน โดย Moody’s คาดหมายว่ารัฐบาลคูเวตจะสามารถคงความแข็งแกร่งทางการคลังไว้ได้ ท่ามกลางความผันผวนของราคาน้ำมันและแรงกดดันจากความต้องการจ้างงานสําหรับคนคูเวตในระยะยาว (ปัจจุบันคนคูเวตไม่นิยมทํางานในภาคเอกชน ขณะที่ภาครัฐมีข้อจํากัดมากขึ้นในการรองรับแรงงานชาวคูเวต รุ่นใหม่เข้าทํางาน) ทั้งนี้ บนสมมติฐานว่าทางการคูเวตจะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคภายในฝ่ายนิติบัญญัติจนสามารถผ่านกฎหมายหนี้ (debt law) ที่อนุญาตให้รัฐบาลกู้ยืมเพื่อชดเซยการขาดดุลงบประมาณโดยไม่ต้องดึงเงินจากกองทุนสํารองระหว่างประเทศ (General Reserve Fund – GRF) มาชดเชย [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ Moody’s ยังคงระดับเพดานการออกพันธบัตรและเงินฝากในต่างประเทศของคูเวตไว้ที่ Aa2 สําหรับระยะยาว และที่ Prime-1 สําหรับระยะสั้น และคงระดับเพดานการออกพันธบัตรระยะยาวและเงินฝากในประเทศของคูเวตไว้ที่ Aa2 และเห็นว่าสถานะทางการคลังของคูเวตจัดอยู่ในกลุ่มที่แข็งแกร่งที่สุดจากทั้งหมดที่ Moody’s ทําการจัดอันดับ สถานะดังกล่าวเป็นอานิสงส์จากความมั่งคั่งของ Future Generations Fund (FGF) ซึ่งเป็นส่วนสําคัญของ SWF จากการที่กฎหมายกําหนดให้หักรายได้จากการส่งออกน้ำมัน 10% เข้า FGF ทุกปี [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม คูเวตจะต้องเผชิญกับภาวะการขาดดุลงบประมาณในอัตราที่สูงต่อไป บนสมมติฐานการขึ้น-ลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกระหว่าง 50 – 70 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ซึ่งจะทําให้ภาระหนี้สินของรัฐบาลค่อย ๆ สูงขึ้น โดยในระยะสั้นรัฐบาลได้ถึงเงินจากกองทุนสํารองระหว่างประเทศมาชดเชย ทําให้ GRF ลดจาก 70% ของ GDP ในเดือน มี.ค. 2561 เหลือ 54% ของ GDP ในเดือน มี.ค. 2562 และคาดว่าจะลดลงต่อไปเหลือ 26% ของ GDP ในเดือน มี.ค. 2564 (สิ้นปีงบประมาณ 63/64) ขณะที่หนี้ภาครัฐจะเพิ่มจาก 13.8% ของ GDP ในเดือน มี.ค. 2562 เป็น 38.8% ของ GDP ในเดือน มี.ค. 2567 ซึ่งยิ่งจะเป็นแรงกดดันให้ดูเวตต้องเร่งรัดการผ่านกฎหมายหนี้ให้ได้เร็วที่สุด [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ภาระหนี้ภาครัฐของคูเวตยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Aa และความสามารถในการชําระหนี้ของคูเวตก็ถือได้ว่าแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่นในกลุ่มเดียวกันส่วนใหญ่ นอกจากนั้น การที่คูเวตกําหนดจุด breakeven ของราคาน้ำมันในตลาดโลกในการตั้งงบประมาณของประเทศไว้ค่อนข้างต่ำที่ 51 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล จะทําให้คูเวตคงสภาวะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดได้ต่อไปบนสมมติฐานระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกระหว่าง 50-70 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล [su_spacer size=”20″]
ในอนาคตอันใกล้ ความเสี่ยงทางการคลังของคูเวตจากภาวะราคาน้ำมันจะยังคงมีอยู่สูง แต่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องและการมีกองทุนความมั่งคั่งขนาดใหญ่ จะช่วยจํากัดผลกระทบของความเสี่ยงดังกล่าว นอกจากนั้น ในปัจจุบันคูเวตยังผลิตน้ำมันต่ำกว่าขีดความสามารถจากผลของข้อตกลงลดการผลิตน้ำมันของประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งในและนอก OPEC ซึ่ง Moody’s คาดว่าเมื่อข้อตกลงดังกล่าวถูกยกเลิก คูเวตจะผลิตน้ำมันได้มากขึ้นจนถึงระดับ 3.15 ล้านบาเรล/วัน ตามขีดความสามารถปัจจุบันของประเทศ ส่วนในระยะยาว แรงกดดันสําหรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของคูเวตจากผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันที่มีต่อ สถานะทางการคลังจะลดลง เมื่อรัฐบาลคูเวตปรับปรุงและดําเนินมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการกระจายฐานรายได้ของรัฐบาลและการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้จ่ายของรัฐ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต