ช่วงต้นเดือน พ.ค. 2561 IMF ได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย (GCC) ในปี 2561 ซึ่งมีการทบทวนและปรับตัวเลขทางเศรษฐกิจปี 2561 จากที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. 2560 สรุปดังนี้[su_spacer size=”20″]
GDP ของกลุ่ม GCC โดยรวมจะติดลบ 0.3% จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัว 1.9% ในปี 2560 GDP ของกลุ่ม GCC ติดลบ 0.2% สาเหตุหลักมาจากผลของการลดกําลังผลิตน้ำมันตามข้อตกลง OPEC โดย GDP ใน non-oil sector ของทุกประเทศ GCC ยังมีการขยายตัวที่มีเสถียรภาพ แต่นับเป็นสัดส่วนที่เล็กมากเมื่อเทียบกับ GDP ใน oil sector ขณะที่สถานะดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 4.3% ของ GDP (จากที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะ flat) จากผลของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น[su_spacer size=”20″]
GDP ของทุกประเทศ GCC ยกเว้นบาห์เรนและซาอุดีอาระเบียจะติดลบ โดยคูเวตจะติดลบ 2.8% (ต่อเนื่องจากปี 2560 ซึ่งติดลบ 2.5%) จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัว 1.3%[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้การที่ OPEC และประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอก OPEC ตัดสินใจขยายข้อตกลงลดกําลังผลิตน้ำมันไปจนถึงสิ้นปี 2561 ทําให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันของ GCC โดยรวมคงอยู่ที่ 12.55 ล้านบาเรล/วัน ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้คือที่ 13.07 ล้านบาเรล/วัน และราคาน้ำมันในตลาดโลกนับแต่ต้นปี 2561 ถึงปัจจุบันเฉลี่ย อยู่ที่ 65 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ซึ่งหากพิจารณาประกอบกับสถานะงบประมาณปี 2561/62 (เม.ย. 61- มี.ค. 62) ของแต่ละประเทศ GCC แล้วจะพบว่าแต่ละประเทศ GCC ต้องการระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก ณ จุดสมดุล โดยงบประมาณที่แตกต่างจะเป็นที่กาตาร์อยู่ที่ 47.1 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ของคูเวตอยู่ที่ 48.1 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ของ UAE อยู่ที่ 71.50 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ของโอมานอยู่ที่ 77.10 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ของซาอุดีอาระเบีย อยู่ที่ 87.90 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล และของบาห์เรน อยู่ที่ 113 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ดังนั้น หากราคาน้ำมันเฉลี่ยคงอยู่ในระดับปัจจุบันตลอดปี2561 กลุ่ม GCC จะขาดดุลงบประมาณราว 3.6% ของ GDP (ลดจากปี 2559 ซึ่งขาดดุล 10.8% และปี 2560 ซึ่งขาดดุล 5.6%) โดยคูเวตจะเป็นเพียงประเทศเดียวในกลุ่ม GCC ที่จะมีสถานะดุลงบประมาณเป็นบวก (7% GDP)[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ด้าน Fitch Ratings ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือเพื่อการลงทุนของคูเวตที่ “AA” โดยมีภาพรวมที่มีเสถียรภาพ แต่คาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจของคูเวตแตกต่างจาก IMF โดยวิเคราะห์ว่า ปีงบประมาณ 2561/2562 คูเวตจะเกินดุลงบประมาณเพียง 0.7% ของ GDP ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันในตลาดโลกเฉลี่ยที่ 57.5 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล โดยราคาน้ำมัน ณ จุดสมดุลงบประมาณของคูเวตจะอยู่ที่ 56 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต