IMF ได้รายงานในนิตยสาร Gulf Business News ว่า คูเวต กาตาร์ บาห์เรน และโอมาน ได้เลื่อนการเริ่มใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามข้อตกลงของคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) หลังจากที่ซาอุดีอาระเบีย และ UAE เริ่มใช้ VAT แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 โดยคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 18 เดือนในการเตรียมพร้อมทางเทคนิค โดยมีการคาดการณ์กันว่า การเริ่มใช้ VAT อาจทำให้รัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองอีกด้วย โดย ส.ส. ในคูเวตหลายรายไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการด้านภาษีดังกล่าว และเรียกร้องให้รัฐบาลให้หลักประกันว่า VAT จะไม่เพิ่มภาระทางการเงินแก่ประชาชน ทั้งนี้ GCC ได้ลงนามข้อตกลงในปี 2559 เกี่ยวกับการเริ่มใช้ VAT ในรัฐสมาชิก เพื่อช่วยจัดการกับปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2558 หลังจากที่ราคาน้ำมันลดต่ำจาก 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ในปี 2557 เหลือไม่ถึง 30 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรล ในปี 2559)[su_spacer size=”20″]
IMF ยังประเมินว่า VAT ในอัตรา 5% จะช่วยสร้างรายได้ให้แก่รัฐประมาณ 1.5 – 3 % ของ GDP ส่วนที่ไม่ใช่ภาคน้ำมัน (non-oil GDP) และจะไม่มีผลกระทบไม่มากนักต่อภาวะเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดย Oxford Economics คำนวณว่า การใช้ VAT ที่อัตรา 5% จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2 – 4 % ในซาอุดีอาระเบีย และ UAE แต่จะส่งผลกระทบน้อยมาก ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ[su_spacer size=”20″]
เมื่อเดือนธันวาคม 2560 ซาอุดีอาระเบีย UAE และ บาห์เรน ยังได้เริ่มใช้ภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องดื่มชูกำลังและบุหรี่แล้ว แต่ในส่วนของบาห์เรนได้ระงับการเริ่มใช้ VAT ไปก่อนจนกว่าจะมีการสร้างกลไกช่วยประชาชนที่มีรายได้ต่ำจากผลกระทบของการใช้ภาษีดังกล่าว โดย IMF เห็นว่า ประเทศ GCC อาจเริ่มพิจารณาใช้ภาษีประเภทต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงภาษีเงินได้บุคคล (income tax) เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐ แต่ก็มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ภาษีนิติบุคคล (corporate tax) ซึ่งอาจส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากภูมิภาค หากไม่มีการศึกษาผลกระทบอย่างจริงจังและรอบด้าน โดยเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2561 นาย Obaid AI-Tayer รัฐมนตรีรับผิดชอบด้านการคลัง UAE เปิดเผยว่า UAE ได้เริ่มศึกษาการใช้ภาษีนิติบุคคล รวมทั้งพิจารณาภาษีประเภทอื่น ๆ นอกจาก VAT แต่จะยังไม่ใช้ภาษีรายได้บุคคลในเวลานี้[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัคคราชทูต ณ คูเวต