เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2563 สถาบันจัดอันดับ Standard and Poor’s (S&P) ได้รายงานการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของคูเวต โดยได้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ระดับ AA-/A-1+ และปรับลดภาพรวมจาก stable เป็น negative โดยให้เหตุผลของการปรับลดภาพรวมว่า สภาพคล่องส่วนเพิ่มหลัก (liquidity buffer) ของคูเวต ได้แก่ กองทุนสำรอง ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมงบขาดดุลของรัฐบาลกลาง ทั้งนี้ ในรายงานยังระบุเพิ่มเติมว่า เงินในกองทุนสำรองมีการลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตาม หลายเดือนที่ผ่านมาเงินในกองทุนสำรองลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังจากที่ราคาน้ำมันตกต่ำและจากการที่คูเวตได้ปฎิบัติตามพันธกรณีในการลดการผลิตน้ำมันตามข้อตกลงของกลุ่ม OPEC+
[su_spacer]
ปจากสถานการณ์ดังกล่าว คูเวตได้กู้ยืมเงินจากกองทุนสำรองเพื่อไปชดเชยการขาดดุล ทั้งนี้ S&P คาดการณ์ว่า รัฐบาลจะขาดดุลถึงร้อยละ 40 ของ GDP ในปีงบประมาณนี้ ซึ่งเงินในกองทุนสำรองไม่เพียงพอที่จะชยการขาดดุลดังกล่าว และหากคุเวตไม่มีมาตรการอื่น ๆ มารองรับ การนำเงินในกองทุนสำรองมาใช้จนหมดอาจนำไปสู่ข้อจำกัดในการใช้งบประมาณ โดยเฉพาะเมื่อประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับที่ต่ำอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลให้สัมภาษณ์ว่า ทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลอาจจะดำเนินการคือขายสินทรัพย์ในกองทุนสำรองให้แก่กองทุนสำหรับอนาคตเพื่อรัฐจะได้สามารถชดเชยการขาดดุลได้
[su_spacer]
สาเหตุหลักที่ทำให้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของคูเวตอยู่ในระดับต่ำยังคงเป็นเพราะระบบเศรษฐกิจของคูเวตพึ่งพาน้ำมันเป็นหลักและไม่มีความหลากหลายมากพอ ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของคูเวตอย่างรุนแรง โดยเศรษฐกิจคูเวตก็มีสภาพที่แย่มาตั้งแต่การเกิดการแพร่ระบาดที่มีการขยายตัวในปี 2562 ที่ร้อยละ 0.4 และในปี 2561 ที่ร้อยละ 1.3
[su_spacer]