Wednesday, May 21, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

เกาหลีใต้กำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจในปี 2562

24/01/2019
in ทันโลก, เอเชีย
0
เกาหลีใต้กำหนดทิศทางนโยบายเศรษฐกิจในปี 2562
4
SHARES
512
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line
            วันที่ 20 ธ.ค. 2561 กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (Ministry of Economy and Finance – MOEF) ของเกาหลีใต้ได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในปี 2562 ซึ่งจะมุ่งเน้นการดำเนินการใน 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย [su_spacer size=”20″]
1. การกระตุ้นเศรษฐกิจ
            1.1 การส่งเสริมการลงทุนภาครัฐและเอกชน โดยจะปรับลดอุปสรรค/ผ่อนคลายกฎระเบียบ การลงทุน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน จัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ผลักดันให้ภาคเอกชนร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ SMEs เพื่อชักจูงการลงทุน [su_spacer size=”20″]
            1.2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ โดยจะออกมาตรการสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการในแต่ละระดับขั้นของการพัฒนาธุรกิจ ได้แก่ (1) ขั้นเริ่มต้น (startup) การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการในขั้นเริ่มต้น (2) ขั้นขยายธุรกิจ (scale up) การสนับสนุนกลไกการระดมทุน อาทิ Small Scale IPO และ crowd funding การสนับสนุนเงินกู้/จัดตั้งกองทุนอุดหนุนบนฐานของทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี (3) ขั้นสิ้นสุด (business exit) การลดหย่อนภาษีควบโอนกิจการสำหรับบริษัทที่ซื้อเทคโนโลยีจาก SMEs และ (4) ขั้นพลิกฟื้น (re-bound) การขยายระยะเวลาผ่อนผันการชำระหนี้ (grace period) สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการทดลองเริ่มต้นธุรกิจสาขาใหม่ ๆ หลังจากประสบกับภาวะล้มเหลว [su_spacer size=”20″]
            1.3 การกระตุ้นการบริโภคและการท่องเที่ยว โดยจะออกมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ ผลักดันการจัดโปรแกรมท่องเที่ยวซึ่งรวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรม Korea Sales Festa (เทศกาลช้อปปิ้งประจำปีของเกาหลีใต้ ซึ่งจัดในช่วงฤดูใบไม้ร่วง) และการแสดงของศิลปิน K-Pop พัฒนาสถานที่ทางธรรมชาติให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออนุญาต/ผ่อนผันให้สามารถตั้งร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีในใจกลางกรุงโซลได้เพิ่มขึ้น [su_spacer size=”20″]
            1.4 การกระตุ้นการส่งออก โดยจะจัดสรรเงินทุนสนับสนุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ ขยายวงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออก ส่งเสริมการขยายตลาดส่งออกไปยัง “New South” (ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) และ “New North” (ประเทศในเอเชียกลาง) รวมทั้งจะสนับสนุนงบประมาณสำหรับการควบรวมกิจการ และการก่อสร้างโรงงานผลิต/ศูนย์กระจายสินค้าในพื้นที่ดังกล่าว [su_spacer size=”20″]
            1.5 การเฝ้าระวัง/บริหารจัดการความเสี่ยงของเศรษฐกิจระดับมหภาค โดยจะระดมเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 เฝ้าระวัง/บริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน รวมทั้งเฝ้าระวังผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อาจมีต่อปริมาณหนี้ครัวเรือน และตราสารหนี้ภาคเอกชน [su_spacer size=”20″]
2. การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
            2.1 การปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อบริการประเภทใหม่ ๆ โดยจะผลักดันการขยายขอบเขตธุรกิจประเภทการแบ่งปันที่พัก (home sharing) อาทิ Airbnb ให้ครอบคลุมชาวเกาหลีใต้ ริเริ่มระบบติดตาม/เฝ้าระวังอาการผู้ป่วยทางไกล และริเริ่มโครงการนำร่องสำหรับการแบ่งปันรถกันใช้ (car sharing) [su_spacer size=”20″]
            2.2 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมหลัก/ดั้งเดิม โดยจะออกมาตรการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรมหลัก (ยานยนต์ ต่อเรือ จอภาพ และปิโตรเคมี) ออกมาตรการสนับสนุนบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์แห่งอนาคต อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ไร้คนขับ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายการส่งเสริมการปรับโครงสร้างบรรษัท [su_spacer size=”20″]
            2.3 การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ โดยจะออกมาตรการ/สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทใหม่ ๆ 4 สาขา ได้แก่ (1) smart factories (2) future cars (3) fintech และ (4) biohealth พัฒนาตัวแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ หุ่นยนต์, IoT และ AI รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนา platform economy [su_spacer size=”20″]
            2.4 การพัฒนาอุตสาหกรรมภาคบริการ โดยจะผลักดันการผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาภาคบริการในไตรมาสแรกของปี 2562 ส่งเสริมการนำนวัตกรรมมาพัฒนาธุรกิจบริการที่เกาหลีใต้มีความแข็งแกร่ง อาทิ การท่องเที่ยว บริการสุขภาพ คอนเทนต์ โลจิสติกส์ สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเกมส์ และส่งเสริมการสร้างงานในสาขาใหม่ ๆ อาทิ Green Care Specialist [su_spacer size=”20″]
            2.5 การส่งเสริมการจ้างงานที่ยั่งยืน โดยพัฒนาตัวแบบการจ้างงานที่เป็นธรรม/เท่าเทียม และเอื้อประโยชน์กับทั้งภาคอุตสาหกรรมและแรงงาน เพิ่มสวัสดิการของแรงงาน SMEs และลดหย่อนภาษีแก่บริษัทที่บริจาคเงินเข้ากองทุนสวัสดิการ SMEs [su_spacer size=”20″]
3. การสร้างการเติบโตที่ครอบคลุม
            3.1 การให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ใช้แรงงานและเจ้าของกิจการขนาดเล็ก โดยจะออกมาตรการเพื่อปกป้องและลดภาระในการดำเนินธุรกิจของ SMEs อาทิ การลดค่าธรรมเนียมสำหรับการทำธุรกรรม/ชำระเงินออนไลน์ กำหนดให้ธุรกิจบางประเภทถูกสงวนไว้สำหรับผู้ประกอบการ SMEs และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เจ้าของกิจการที่ประสบกับภาวะหนี้สิน [su_spacer size=”20″]
            3.2 การให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเปราะบาง โดยจะส่งเสริมการจ้างงานและอุดหนุนค่าจ้างแก่กลุ่มเปราะบาง สนับสนุนให้กลุ่มเปราะบาง/เยาวชนจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำได้รับโอกาสทางการศึกษา อาทิ การกำหนดโควตานักศึกษาแพทย์และนักศึกษาวิชากฎหมายสำหรับกลุ่มเปราะบาง เพิ่มการจ้างแรงงานสตรี กลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มผู้สูงอายุ เพิ่มเงินช่วยเหลือ/มาตรการเยียวยาสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับ ผลกระทบจากนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและนโยบายกำหนดชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 52 ชั่วโมง รวมทั้งสนับสนุนการเติบโตของวิสาหกิจชุมชน (social enterprise) [su_spacer size=”20″]
            3.3 การยกระดับคุณภาพชีวิต โดยจะเพิ่มจำนวนบ้านเช่า ปรับปรุง/เพิ่มโครงข่ายทางหลวงในกรุงโซล ขยายขอบเขตของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ เพิ่มเงินอุดหนุนค่าเล่าเรียน และออกมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นมลพิษในอากาศ (fine dust) อาทิ การเพิ่มสัดส่วนการใช้รถเมล์ไฟฟ้า และการเพิ่มมาตรการ สนับสนุนสำหรับการใช้รถกวาด/ทำความสะอาดถนน [su_spacer size=”20″]
            3.4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (social safety nets) โดยจะขยายเพดาน/ปรับปรุงเงื่อนไขเงินคืนภาษีสำหรับบุคคลที่มีรายได้ต่ำหรือรายได้ปานกลาง (Earned Income Tax Credit – EITC) ขยายความช่วยเหลือแก่ผู้ว่างงานที่ไม่ได้รับสิทธิตามโครงการประกันการว่างงาน ขยาย/เพิ่มสิทธิต่าง ๆ สำหรับแรงงาน อาทิ สิทธิประกันสังคม เงินบำนาญ สวัสดิการที่อยู่อาศัย และปรับปรุงกองทุนบำเหน็จบำนาญ [su_spacer size=”20″]
            3.5 การสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม โดยจะแก้ไขกฎระเบียบทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม อาทิ การกำหนดให้บริษัทขนาดใหญ่ต้องเปิดเผยข้อมูลการชำระเงินแก่บริษัทผู้รับเหมา เพิ่มบทลงโทษบริษัทขนาดใหญ่ที่ขโมยเทคโนโลยีของบริษัท SMEs ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน/ธรรมาภิบาลของบริษัทขนาดใหญ่ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทขนาดใหญ่กับ SMEs [su_spacer size=”20″]
4. การรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาว
            4.1 การเตรียมความพร้อมสำหรับยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยจะส่งเสริมการลงทุนและปรับปรุงงบประมาณด้าน R&D และจัดตั้งกองทุนสนับสนุน R&D เพิ่มเติม พัฒนา platform economy ส่งเสริมการหลอมรวมทางอุตสาหกรรม (industrial convergence) รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพแรงงาน โดยปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา และเพิ่มการฝึกอบรม/พัฒนาฝีมือแรงงาน [su_spacer size=”20″]
            4.2 การเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุและการรับมือกับปัญหาอัตราการเกิดต่ำ โดยจะปรับปรุงแผน/ยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ปรับปรุงสวัสดิการ/ความคุ้มครองสิทธิสตรีคลอดบุตร (maternity benefit) เพิ่มค่าจ้าง/ค่าล่วงเวลาสำหรับแรงงานสตรีที่มีภาระในการดูแลบุตร สนับสนุนการเปิดศูนย์ดูแลเด็กในที่ทำงานและให้สวัสดิการแก่แรงงานที่เป็นพ่อ [su_spacer size=”20″]
            4.3 การเตรียมความพร้อมสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับเกาหลีเหนือ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล
Previous Post

บริษัท Vietravel ของเวียดนามมีแผนก่อตั้งสายการบิน Vietravel Airlines

Next Post

อุตสาหกรรมเกมส์กวางตุ้งทะยาน มีรายได้คิดเป็นร้อยละ 20 ของอุตสหากรรมเกมส์โลก

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post

อุตสาหกรรมเกมส์กวางตุ้งทะยาน มีรายได้คิดเป็นร้อยละ 20 ของอุตสหากรรมเกมส์โลก

Post Views: 1,504

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X