ความร่วมมือในกรอบ East Africa Community (EAC) มีรัฐสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ เคนยา แทนซาเนีย ยูกันดา รวันดา บุรุนดี และเซาท์ซูดาน โดยเป็นกรอบที่มี
สำหรับความคืบหน้าในการรวมตั
- Customs Union เป็นขั้นตอนแรกของการรวมตัวของ EAC มีผลตั้งแต่ปี 2548 โดยกําหนดให้รัฐสมาชิกจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน และกําหนดอัตราภาษีนําเข้าของสินค้าจากนอกภูมิภาคร่วมกัน (common external tariff – CET) โดย EAC ได้จัดตั้งกลไกในการตรวจสอบ Non-Tariff Barrier (NTB) ร่วมกันด้วย [su_spacer size=”20″]
- Common Market เป็นขั้นตอนที่ 2 ของการรวมตัวของ EAC มีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี 2553 โดยรัฐสมาชิกตกลงที่จะให้เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายสินค้า แรงงาน สินค้าทุน และบุคคล รวมทั้งมีสิทธิ์ในการตั้งถิ่นฐานและมีถิ่นพํานักในรัฐสมาชิกได้ โดย EAC มีแนวคิดเกี่ยวกับ EAC single visa แต่อาจจะต้องใช้เวลาพิจารณาอีกระยะหนึ่ง อนึ่ง ความท้าทายของการจัดตั้ง common market คือประเทศสมาชิกยังคงเลือกที่จะไม่ดําเนินการตาม Common Market Protocol ในหลายข้อ เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ และปัจจุบันมีเพียงรวันดาที่ให้ประชากร EAC สามารถทํางานในรวันดาโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทํางาน [su_spacer size=”20″]
- Monetary Union ซึ่งมีเป้าหมายใช้เงินสกุลเดียวกัน สำหรับพัฒนาการ EAC ในช่วงปี 2561 ถือว่ายังไม่มีความคืบหน้ามากนัก แม้ว่าเมื่อปี 2556 รัฐสมาชิกจะได้ลงนามพิธีสารเพื่อดําเนินการจัดตั้ง monetary union และเงินสกุลเดียวกันภายในปี 2567 แต่ยังจะต้องดําเนินกระบวนการต่าง ๆ เพื่อปรับระบบการชําระเงินและตลาดทุนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน การพัฒนาศักยภาพของธนาคารกลางของแต่ละประเทศให้มีมาตรฐานในการติดต่อเชื่อมโยงกัน และการจัดตั้งสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น East African Monetary and Statistics Institution เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
- Political Federation ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการรวมตัวของ EAC และมีเป้าหมายให้ทุกรัฐสมาชิกอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน ก็ยังไม่มีความคืบหน้าเช่นกัน และมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนเป็น Political Confederation โดยยังคงให้แต่ละรัฐมีอํานาจอธิปไตยของตน แต่รวมกันทางการเมืองแบบหลวม ๆ [su_spacer size=”20″]
สำหรับความท้าทายในความร่วมมื
- การขาดเจตจํานงทางการเมืองในการรวมตัว และขาดความไว้วางใจระหว่างผู้นําประเทศสมาชิก แม้ว่าผู้นําทุกประเทศสมาชิกจะตระหนักถึงความสําคัญในหลักการ แต่ก็ยังไม่พร้อมที่จะให้ประเด็นการรวมตัวในภูมิภาคกระทบต่อการเมืองภายในประเทศ อาทิ ในช่วงหลัง ๆ แทนซาเนียมีนโยบาย protectionism และค่อนข้างมีแนวโน้ม isolationist มากขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบความก้าวหน้าของการรวมตัว เนื่องจากแทนซาเนียเป็นประเทศใหญ่ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการ EAC ด้วย [su_spacer size=”20″]
- ภูมิหลังที่เป็นปัญหาความขัดแย้งทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิก เช่น ปัญหาการค้าชายแดนเคนยา-แทนซาเนีย และปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุรุนดีกับรวันดา และประธานาธิบดีบุรุนดีกับประธานาธิบดียูกันดา ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศความร่วมมือโดยรวม และเป็นปัจจัยฉุดรั้งการรวมตัวของ EAC โดยการประชุมระดับผู้นําสมัยสามัญครั้งที่ 20 ต้องเลื่อน 2 ครั้ง โดยเดิมจะจัด ในวันที่ 30 พ.ย. 2561 แต่ไม่สามารถจัดการประชุมได้เพราะประธานาธิบดีบุรุนดีไม่เข้าร่วมการประชุมกระทันหัน ทําให้ไม่ครบองค์ประชุม และประธานาธิบดียูกันดาในฐานะประธาน EAC ได้เสนอให้เลื่อนเป็นวันที่ 27 ธ.ค. 2561 แต่ก็ไม่สามารถจัดได้อีกเช่นกัน การไม่เข้าร่วมของบุรุนดีเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงท่าทีประท้วง (boycott) EAC ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่บุรุนดีต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการปะทะบริเวณชายแดนระหว่างบุรุนดีกับรวันดาซึ่งทําให้มีพลเรือนเสียชีวิต และประธานาธิบดีบุรุนดีเสนอให้ EAC จัดประชุมระดับผู้นําสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ แต่รวันดาไม่เห็นด้วย [su_spacer size=”20″]
- ระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันระหว่างประเทศสมาชิก ทําให้บางประเทศที่มีขนาดและระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า เช่น บุรุนดี จะมีความระมัดระวังตัวสูงเพื่อไม่ให้การรวมตัวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่เซาท์ซูดานยังประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจภายในประเทศอยู่เช่นกัน [su_spacer size=”20″]
- ความพร้อมและศักยภาพของประเทศสมาชิกที่จะ implement มาตรการต่าง ๆ จํานวนมากที่ตกลงกัน ซึ่งบางประเด็น เช่น ประเด็น Non-Tariff Barrier มีความอ่อนไหวและเป็นเรื่องสําคัญที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ [su_spacer size=”20″]
- การขาดเงินทุนสําหรับการบริหารงานของสำนักงานเลขาธิการ EAC ยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากประเทศผู้บริจาค (เช่น สหภาพยุโรป เยอรมนี ฟินแลนด์) ทั้งนี้ ในแต่ละปีรัฐสมาชิกจะต้องบริจาคเงินในราว 10-12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในปีงบประมาณ 2562 งบประมาณของ EAC ลดลงอยู่ที่ 99.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากบุรุนดีและเซาท์ซูดานไม่สามารถบริจาคเงินสนับสนุนได้ และบุรุนดีเคยแสดงความไม่พอใจที่ประเทศของตนซึ่งมีขนาดเล็กต้องบริจาคในสัดส่วนที่เท่ากับประเทศขนาดใหญ่ งบประมาณของ EAC จึงมีจํากัดเพื่อการดําเนินงานของสำนักงานเลขาธิการเลขาธิการเท่านั้น ไม่เพียงพอสําหรับการดําเนินโครงการพัฒนาในภูมิภาค [su_spacer size=”20″]
ส่วนโอกาสสําหรับไทย EAC นั้นถือเป็นการรวมตัวในภูมิ
อย่างไรก็ตาม EAC ได้กําหนดอัตราภาษี
นอกจากนี้ ทางการเคนยายังได้มีการกล่าวถึ
ในปัจจุบัน โซมาเลียและเอธิโอเปี
อุปสรรคสําคัญที่สุดของการรวมตั
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี