นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ และคณะผู้แทนระดับสูงของ EXIM Bank เยือนเคนยาระหว่างวันที่ 30 ก.ค. – 4ส.ค. 2561 และได้หารือเกี่ยวกับลู่ทางการขยายการค้าและการลงทุนในเคนยา ซึ่ง EXIM Bank เน้นบริการที่เกี่ยวข้อง คือ 1) การประกันการส่งออก และ 2) การให้กู้ยืมเพื่อส่งออกสินค้าไทย ส่วนฝ่ายเคนยาได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเคนยาที่มีแนวโน้มดีขึ้น และเชิญชวนให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในเคนยามากขึ้น [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบันไทยยังมีความเชื่อมโยงทางธุรกิจกับเคนยาค่อนข้างน้อยทั้งด้านการค้าและการลงทุน โดยไทยส่งออกไปเคนยาคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.1% ของมูลค่าส่งออกรวม ขณะที่เคนยามีความต้องการนําเข้าสินค้าอีกมากในเกือบทุกกลุ่มสินค้า ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ และสินค้าทุน เนื่องจากภาคการผลิตของเคนยายังไม่สามารถตอบสนองความต้องการภายในประเทศได้เพียงพอ ทําให้ต้องพึ่งพาการนําเข้าเป็นหลัก เช่นเดียวกับการลงทุนที่ยังมีผู้ประกอบการไทยเพียงไม่กี่รายที่เข้าไปลงทุนในเคนยา ขณะที่ประเทศคู่แข่งอื่นๆ ในภูมิภาค อาทิ จีนและอินเดีย ได้เข้าไปลงทุนในเคนยาแล้วจํานวนมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเคนยาเป็นตลาดใหม่ที่ห่างไกล ซึ่งผู้ประกอบการไทยยังไม่คุ้นเคยและขาดข้อมูล EXIM BANK จึงต้องการขยายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนของไทยและเคนยาเพื่อส่งเสริมให้การค้าและการลงทุนไทย-เคนยาขยายตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของเคนยาที่คาดว่าขยายตัว 6-7% ในอีก 5 ปีข้างหน้า และพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การเงินและอัตราแลกเปลี่ยนของเคนยาที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ขณะเดียวกันเคนยายังเป็น ศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกที่สามารถเป็นสะพานเชื่อมในการกระจายสินค้าไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค [su_spacer size=”20″]
การเยือนเคนยาในครั้งนี้ นอกจากประโยชน์ในการรับทราบข้อมูลจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับทิศทางและบริบทการค้าการลงทุนในเคนยา และการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการธนาคาร การคลัง รวมทั้งฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการในเคนยาแล้ว EXIM Bank ยังได้กําหนดมาตรการจูงใจสําหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจตลาดแอฟริกา โดยจะให้สิทธิพิเศษแก่ลูกค้ารายใหม่ที่ต้องการทําประกันการส่งออกกับ EXIM BANK เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชําระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ ประกอบด้วย 1. ส่วนลดอัตราเบี้ยประกันการส่งออกร้อยละ 50% จากอัตราเบี้ยประกันที่คํานวณได้ และ 2. วิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อในต่างประเทศโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจํานวน 2 ราย และลดค่าข้อมูลร้อยละ 50 สําหรับผู้ซื้อรายที่ 3-5 โดย EXIM BANK จะชดเชยความเสียหายจากการไม่ได้รับชําระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันในอัตราร้อยละ 80 ของความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงทางการค้าและการเมือง โดยมาตรการจูงใจนี้มีผลถึงสิ้นปี 2561 [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ทางฝ่าย Kenya Investment Authority (KenInvest) ยังได้สนับสนุนการลงทุนของต่างชาติ โดยเฉพาะใน 4 สาขาที่เป็นนโยบายสําคัญของรัฐบาล (Big 4) คือ 1) food processing 2) manufacturing 3) affordable housing และ 4) affordable healthcare โดยรัฐบาลเคนยามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่นักลงทุนต่างชาติ ทั้งสิทธิประโยชน์ทาง ภาษีและมิใช่ภาษี อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นภาษีนําเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร มีศูนย์ให้บริการจดทะเบียน จัดตั้งธุรกิจแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center) [su_spacer size=”20″]
สําหรับผู้ประกอบการที่สนใจ ทาง KenInvest ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเข้ามาลงทุนทางด้าน food processing เพราะยังมีโอกาสอีกมาก เนื่องจากปัจจุบันเคนยาสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตได้ถึงร้อยละ 40 เนื่องจากไม่มีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต / คณะผู้แทนถาวร ณ กรุงไนโรบี