สมาชิกของ Xport มี 2 ประเภท ได้แก่ (1) สมาชิกปกติ ประกอบด้วย บริษัทชั้นนํา บริษัทใหญ่ SMEs ซึ่งต้องชําระค่าสมาชิกภาพปีละ 3,000,000 เยน 500,000 เยน และ 50,000 เยน ตามลําดับ และ Startup/ผู้ประกอบการรายเดียว และนักศึกษา ไม่มีค่าสมาชิกภาพ และ (2) สมาชิกฝ่ายสนับสนุน ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ที่ปรึกษา พี่เลี้ยง ซึ่งไม่มีค่าสมาชิกภาพ ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนําของ ญี่ปุ่นที่เป็นสมาชิกของ Xport แล้ว 7 บริษัท ได้แก่ บริษัท Edion (ผู้ประกอบธุรกิจจัดจําหน่ายสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือน) NTT Docomo (ผู้ประกอบธุรกิจโทรคมนาคม) บริษัท Osaka Gas (ผู้ประกอบ ธุรกิจด้านพลังงานและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่โอซากา) บริษัท Daiwa House Industry (ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่โอซากา) บริษัท Hakuhodo (ผู้ประกอบธุรกิจโฆษณา และสื่อประชาสัมพันธ์) บริษัทHitachi Zosen (ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและวิศวกรรม ซึ่งมี บริษัทแม่อยู่ที่โอซากา) และธนาคาร Sumitomo Mitsui (สถาบันการเงินการธนาคาร) การดําเนินงานของ Xport มี 4 ด้าน ได้แก่[su_spacer size=”20″]
1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนต่าง ๆ ประกอบด้วย[su_spacer size=”20″]
– Future Lab ให้สมาชิกที่ประสบปัญหาในการตั้งธุรกิจใหม่เสนอแนวคิดและแผนการดําเนินงาน โดยบริษัทและบุคคลที่สนใจจะเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นและดําเนินการร่วมกันเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ขึ้น ซึ่งมีบริษัท Daiwa House Industry เป็นผู้บริหารจัดการหลัก[su_spacer size=”20″]
– การนําเสนอแผนธุรกิจ โดย Xport จะตั้งหัวข้อในการนําเสนอตามความต้องการของสมาชิก และเปิดให้มีการนําเสนอแผนธุรกิจ เพื่อจับคู่ความร่วมมือระหว่างบริษัท[su_spacer size=”20″]
– การสร้างเครือข่ายผ่านการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการบรรยายด้านเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งเปิดให้บุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเข้าร่วมได้ด้วย[su_spacer size=”20″]
– การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning – PBL) โดยสมาชิกจะเสนอปัญหา/ความท้าทายต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรมกับ OIT ซึ่งนักศึกษาจะเรียนรู้และคิดหาทางแก้โจทย์ปัญหาและความท้าทายโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ (design thinking) ดังกล่าวภายใต้การชี้แนะของอาจารย์ และนําเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาจากมุมมองของผู้ใช้และคนรุ่นใหม่[su_spacer size=”20″]
2) สัมมนาต้านการคิดเชิงออกแบบ กลไกการสร้างนวัตกรรม และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ทรัพย์สินทางปัญญา[su_spacer size=”20″]
3) การสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยสมาชิกสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ของ Xport อาทิ เครื่องพิมพ์สามมิติ เครื่องตัดเลเซอร์ เพื่อทดลองผลิตสินค้าต้นแบบ ซึ่งสินค้าที่ผ่านการทดลองจะถูกแนะนําให้กับสมาชิกอื่น ๆ และได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาของทางการจําหน่ายสู่ตลาด[su_spacer size=”20″]
4) ความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยการเชิญบริษัทต่างชาติและการส่งสมาชิกของ Xport ไปต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ รวมทั้งจัดการฝึกอบรมและสัมนมานาร่วมกับสถาบันของต่างประเทศ[su_spacer size=”20″]
แนวทางการดําเนินงานของ Xport สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสําคัญของความร่วมมือระหว่าง ภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลายและสถาบันการศึกษา เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างประโยชน์ในเชิง พาณิชย์ ซึ่งเป็นประโยชน์ไม่เพียงแต่ในด้านการพัฒนาธุรกิจของบริษัทและ SMEs การส่งเสริมกิจการของ Startup แต่ยังครอบคลุมไปถึงการบ่มเพาะและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความคิดเชิงนวัตกรรมและเชิงออกแบบ ผ่านการให้นักศึกษาได้ทดลองคิดและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาจากปัญหาจริงที่ภาคอุตสาหกรรมประสบอีกด้วย[su_spacer size=”20″]