ภูมิภาคคันไซเป็นแหล่งกําเนิดนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นประตูตรวจตั๋วรถไฟอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือแบบมีกล้อง สายพานซูซิ และมีผู้ประกอบการชั้นนําของญี่ปุ่นที่มี ชื่อเสียงในระดับโลก เช่น Capcom/Kawasaki Heavy Industries/Kyocera/Nintendo/Omron /Panasonic และ Sharp เป็นต้น ภูมิภาคคันไซจึงมีบทบาทสําคัญทางเศรษฐกิจในญี่ปุ่น โดย GDP ของ ภูมิภาคคันไซเมื่อปี 2560 เท่ากับ 7.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 16.3 ของ GDP ของญี่ปุ่น และมีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับประเทศตุรกี โดยมีจังหวัดโอซากาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สําคัญของภูมิภาคด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในคันไซ โดยเมื่อปี 2557 GDP ของจังหวัดโอซากาเท่ากับประมาณ 3.45 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 41 ของ GDP ของคันไซทั้งภูมิภาค [su_spacer size=”20″]
เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 Forbes ได้ลงบทความเรื่อง “Why Osaka is becoming the hottest spot for startups in Asia” ซึ่งได้กล่าวถึงศักยภาพของโอซากาในการสร้างนวัตกรรมและStartups โดยจากการประมาณการจํานวน early-stage seed startups ในโอซากามีสูงถึง 1,000 ราย นอกจากนี้ โอซากายังมีประวัติศาสตร์การเป็นเมืองการค้ามายาวนาน ทําให้มีวัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางธุรกิจและการตัดสินใจที่รวดเร็วของผู้ประกอบการ บทความดังกล่าวได้อ้างคําสัมภาษณ์ของ Mr. Allen Miner อดีตผู้บริหาร Oracle Japan และ CEO ของ Sunbridge Group (Venture Capital ซึ่งตั้งอยู่ที่ กรุงโตเกียวและ Silicon Valley) ว่าไม่น่าจะมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในโลกแห่งใดที่ยังคงใช้ประโยชน์จากการเป็นสังคมผู้ประกอบการ การมีตลาดภายในขนาดใหญ่ การมีบุคลากรที่มีทักษะและผู้บริโภคที่มีกําลังซื้อจํานวนมาก น้อยกว่าศักยภาพที่มีอยู่เช่นโอซากา [su_spacer size=”20″]
นอกจากลักษณะเฉพาะข้างต้นของจังหวัดโอซากาแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดและเมือง ตลอดจนภาคเอกชนยังมีส่วนสําคัญกันในการช่วยยกระดับให้นวัตกรรมของท้องถิ่นก้าวสู่ระดับโลกผ่านกลไก และกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย เช่น จังหวัดโอซากาจัด acceleration program “Booming” นครโอซากา บริหารจัดการ Osaka Innovation Hub องค์กรไม่แสวงหาผลกําไรเพื่อการส่งเสริม Startup โดยมุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม และการเชื่อมโยง startup สู่ตลาดต่างประเทศ และการสร้างเครือข่ายกับ ต่างประเทศ หรือหอการค้าและอุตสาหกรรมโอซากา (Osaka Chamber of Commerce and Industry – Occ)ที่ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีโอซากา (Osaka Institute of Technology – OIT) จัดตั้ง Cross Port (xport) ศูนย์นวัตกรรมแบบเปิดแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่นที่ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างหอการค้ากับสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ในส่วนของภาคเอกชนรายใหญ่ของจังหวัดโอซากาที่ได้ดําเนินงานเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม และ Startup มีอาทิ Daikin Industries ได้จัดตั้ง Technology and Innovation Center เพื่อส่งเสริมการ คิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ เพื่อนําไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างและมีมูลค่าเพิ่ม NTT West ได้จัด Startup Factory ซึ่งเป็นโปรแกรมสนับสนุนความร่วมมือระหว่าง Startup กับบริษัทต่าง ๆ ที่มีเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อร่วมกันตอบโจทย์ความท้าทายต่าง ๆ ในสังคม Hankyu Corporation ร่วมกับ SunBridge Inc. บริหารจัดการ Global Venture Habitat ซึ่งเป็น Co-working space สําหรับ ผู้ประกอบการและ startup เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
นอกเหนือจากการดําเนินการของรัฐบาลท้องถิ่นและเอกชนในโอซากาแล้ว ในภาพรวมภูมิภาคคันไซก็มีการดําเนินการต่าง ๆ เพื่อสร้างระบบนิเวศ Startup เช่น การจัด 500 Startups Kobe Accelerator ของเมืองโกเบ การจัดตั้งกองทุนสนับสนุน Startup ของเมืองเกียวโตร่วมกับธนาคารท้องถิ่น เป็นต้น ตลอดจนมี Venture Capital อาทิ JR-West Innovations (Corporate Venture Capital ของ JR-West Group Railway มีเงินทุน 27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) Kintetsu Venture Partners (Corporate Venture Capital ของ Kintetsu Railway มีเงินทุน 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) Senshu Ikeda Capital Co., Ltd. (venture capital ของธนาคาร Senshu Ikeda ธนาคารท้องถิ่นในโอซากา มีเงินทุน 27 ล้านดอลาร์ สหรัฐ) เป็นต้น และสถาบันการศึกษาชั้นนํา เช่น มหาวิทยาลัยโอซากา (บริหาร Osaka University Venture Capital Co., Ltd. มีเงินทุน 111 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มหาวิทยาลัยเกียวโต (บริหารจัดการ Kyoto University Innovation Capital Co., Ltd. มีเงินทุน 142 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มหาวิทยาลัยโกเบ (มี Science and Technology Entrepreneurship Co., Ltd.) เป็นต้น ที่ช่วยส่งเสริมระบบนิเวศ startup ในคันไซ โดยองค์กรที่มีความแข็งขันในการใช้จุดแข็งของคันไซเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศ startup คือ สมาคมผู้บริหารบริษัทแห่งคันไซ (Kansai Association of Corporation Executives – Kansai Keizai Doyukai) ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้บริหารบริษัทต่าง ๆ ในคันไซกว่า 20 บริษัท ซึ่งมีบริษัทชั้นนํา เช่น Daikin / Itochน / Nippon Life Insurance / NTT West / Panasonic/Sumitomo / West Japan Railway ร่วมเป็น สมาชิกด้วย [su_spacer size=”20″]
Kansai Keizai Doyukai ให้ความสําคัญกับการสร้างระบบนิเวศ startup เนื่องจากเห็นว่า ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและ Startup ในคันไซจะเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งเสริมความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจคันไซในอนาคต จึงได้ออก Declaration of Startup Friendly Kansai เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561 โดยมุ่งหมายให้คันไซมีความก้าวหน้าในการเป็นพื้นที่สําหรับนวัตกรรมแบบเปิดในระดับโลก โดยบริษัทต่าง ๆ ในคันไซจะดําเนินนโยบายเป็นมิตรกับ startup โดยสานต่อแนวคิดและวัฒนธรรมการทํางานแบบ ลองลงมือทํา (Yatteminahare) ของคันไซในอดีตมาใช้ในปัจจุบัน เพื่อเปิดโอกาสการทํางานร่วมกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ยังคงต้องต่อสู้ดิ้นรนในการตั้งกิจการ โดยให้คําปรึกษาแนะนําในเรื่องต่าง ๆ แก่ ผู้ประกอบการรายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การขาย การผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น ซึ่งนับถึง วันที่ 13 ธันวาคม 2561 มีบริษัทที่ร่วมสนับสนุน Declaration of Startup Friendly Kansai แล้ว 41 บริษัท/องค์กร โดยบริษัทใหญ่ ๆ/องค์กรสําคัญที่ให้การสนับสนุนมีอาทิ Asahi Broadcasting /Daikin Industries/Daiwa House Industry/Itochu/lwatani/Japan Airlines/JETRO/ Kawasaki Heavy Industries/Mitsubishi/ NTT West/Osaka Gas/Sumitomo เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
คุณลักษณะเด่นของคันไซร่วมกับการดําเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนระบนิเวศ Startup ข้างต้น ทําให้อัตราการเติบโตของ startup ของคันไซต่อปีสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาโดยในปี 2560 อัตราการเติบโตของ Startup ของคันไซอยู่ที่ร้อยละ 6 ขณะที่อัตราของทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.7 ภูมิภาคคันไซจึงเป็นภูมิภาคที่น่าจับตาในเชิงโอกาสของ startup [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา