ภูมิภาคคันไซมีความโดดเด่นด้านการบ่มเพาะบุคลากรจากการที่มีมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย บริษัทเอกชนที่มีศักยภาพหลากหลายและมีชื่อเสียงจํานวนมากที่มีบทบาทสําคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม อาทิ บริษัท Omron (จังหวัดเกียวโต) (บริษัท Tateisi Electric Manufacturing ในขณะนั้น) ซึ่งคิดค้นระบบประตูตรวจบัตรโดยสารรถไฟอัตโนมัติขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปี 2510 บริษัท Sharp (จังหวัดโอซากา) ซึ่งคิดค้นกล้องถ่ายรูปในมือถือขึ้นเป็นแห่งแรกเมื่อปี 2543 หรือมหาวิทยาลัย Kinki (จังหวัดโอซากา) และ สถาบันวิจัยเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัย Kinki วิทยาเขตวากะยามะ
ที่ประสบความสําเร็จในการ เพาะเลี้ยงปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ซึ่งอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ได้เมื่อปี 2545 โดยตั้งชื่อปลาทูน่าครีบน้ำเงินนี้ ตามชื่อมหาวิทยาลัยฯ ว่า”Kindai Tuna” นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯ และสถาบันวิจัยฯ ยังได้เริ่มทําการวิจัย การใช้ดาวเทียมขนาดจิ๋วเพื่อติดตามพฤติกรรมของปลาในมหาสมุทร ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 โดยตั้งเป้าว่าในปี 2562 จะสามารถใช้ดาวเทียมดังกล่าวติดตามพฤติกรรมของปลาทูน่าครีบน้ำเงิน เช่น การวางไข่ การอพยพ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ในอนาคตได้ เป็นต้น[su_spacer size=”20″]
ในเชิงการวิจัยร่วมระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัย สัดส่วนของงบประมาณที่ใช้ในการวิจัย ร่วมระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคคันไซคิดเป็นร้อยละ 25 ของทั้งประเทศ และหากพิจารณาจากเงินสนับสนุนการวิจัย
เฉลี่ยสําหรับแต่ละโครงการแล้ว โครงการวิจัยในภูมิภาคคันไซได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยเฉลี่ยโครงการละ 3,308,000 เยน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศที่อยู่ที่ 2,496,000 เยน[su_spacer size=”20″]
สําหรับจังหวัดโอซากาได้ตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมของภูมิภาคคันไซ โดยได้มีการจัดตั้งหน่วยงานและองค์กรใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม อาทิ Osaka Innovation Hub และ Knowledge Capital เป็นต้น โดยให้ความสําคัญกับการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการสร้างนวัตกรรม และการสร้างความแข็งแกร่งด้านทรัพยากรทุนและทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ภาคเอกชนในจังหวัดโอซากายังได้นําหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ และ IoT ใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น[su_spacer size=”20″]
หุ่นยนต์ บริษัท Vstone (เขตนิชิโยโดกะวะ นครโอซากา) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างภาคเอกชนกับสถาบันการศึกษา
โดยมีศาสตราจารย์ ดร. Hiroshi Ishiguro ผู้อํานวยการ Intelligent Robotics Laboratory, Department of Systems Innovation, Graduate School of Engineering Science แห่งมหาวิทยาลัยโอซากา ซึ่งเป็นผู้วิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ Android เป็นคนแรก เป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีของบริษัทฯ[su_spacer size=”20″]
ผลงานล่าสุดของบริษัทฯ เป็นความร่วมมือกับบริษัท NTT West Corporation ทําวิจัยและพัฒนา หุ่นยนต์ “Sota” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ humanoid ขนาดตั้งโต๊ะ ที่สามารถสนทนาโต้ตอบ โดยสบตากับคู่สนทนา ระหว่างการสนทนา รวมทั้งสามารถ
จดจําหน้าตาของคู่สนทนาได้ โดยแนวคิดหลักของบริษัทฯ คือ การสร้าง หุ่นยนต์ที่มี “หัวใจ” เพื่อให้หุ่นยนต์เป็นเพื่อนที่
ช่วยบรรเทาความโดดเดี่ยวของมนุษย์ ปัจจุบัน หุ่นยนต์ Sota ได้รับความนิยมและถูกนําไปใช้ในการให้บริการต่าง ๆ ในเชิงธุรกิจ เช่น การนําเสนอข้อมูลโดยเชื่อมต่อกับ power point การลงทะเบียน/ต้อนรับผู้มาติดต่อหน่วยงาน การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ การบริการ แปลภาษาแก่ชาวต่างชาติ เป็นต้น[su_spacer size=”20″]
ปัญญาประดิษฐ์ บริษัท JTB Western Japan (นครโอซากา) ได้ร่วมกับบริษัท Sharp (เมืองซาไก จังหวัด โอซากา) และบริษัท Gensha (นครโอซากา) พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อนเดินทาง ” Robo Tabi” จากหุ่นยนต์ RoboHon ซึ่งเป็นหุ่นยนต์เพื่อการสื่อสารขนาดพกพาของบริษัท Sharp โดย Robo Tabi ทํางานโดยตอบสนองต่อระบบ GPS และสัญญาณ Beacon และจะพูดคุยกับผู้ใช้งาน โดยอธิบายเส้นทาง แนะนําสถานที่ และชวนถ่ายรูป รวมทั้งมี ระบบแปลภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่ออํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย Robo Tabi ถูกเริ่มใช้เมื่อเดือนธันวาคม 2560 อย่างไรก็ดี การใช้งานยังจํากัดอยู่เฉพาะการท่องเที่ยวในจังหวัดเกียวโตเท่านั้น[su_spacer size=”20″]
การนําหุ่นยนต์มาใช้ในภาคการท่องเที่ยวถือเป็นการช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในภาคการท่องเที่ยว อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสนุกสนานในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวที่สามารถพูดคุยกับหุ่นยนต์ที่น่ารักได้ ซึ่งบริษัทJTB Western Japan หวังว่าจะสามารถพัฒนาหุ่นยนต์ Robo Tabi ให้สามารถใช้งานได้กว้างขวางยิ่งขึ้น[su_spacer size=”20″]
IoTs (Internet of Things) SMEs ในจังหวัดโอซากาและคันไซได้มีความร่วมมือกันแบบหลวม ๆ โดยใช้ความเชี่ยวชาญของแต่ละ บริษัท คิดค้น พัฒนา และจําหน่ายระบบที่ใช้เทคโนโลยี IoT โดยได้ดําเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ห้า SMEs ที่เข้า ร่วมโครงการมีจํานวน 10 บริษัท เช่น บริษัท Toa Musendenki (จัดจําหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) บริษัท BellChild (ผลิต server ที่มีความมั่นคงและปลอดภัยสูง) บริษัท Skkynet Japan (พัฒนาและผลิตเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัวและเครือข่ายด้านการผลิต) บริษัท Kobatakeikiseisakusho (ผลิตเครื่องมือวัดสําหรับอุตสาหกรรม) เป็นต้น โดยแต่ละบริษัทรวมกลุ่มกันอย่างเป็นอิสระตามรายละเอียดของเนื้องาน จึงสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของตลาดได้[su_spacer size=”20″]
ตัวอย่างผลงานที่สําคัญของความร่วมมือระหว่าง SMEs ดังกล่าว เช่น เมื่อปี 2545 SMEs 7 แห่ง ภายใต้ การนําของบริษัท BellChild และบริษัท Skkynet Japan ได้ร่วมกันนําระบบ “IBRESS” ซึ่งเป็นระบบ micro cloud ที่มีความมั่นคงสูงไป
ติดตั้งบนโรงงานแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืดที่อยู่บนเกาะที่อยู่ห่างไกลแห่งหนึ่ง โดยระบบ iBRESS จะเก็บข้อมูลสถานะการทํางานและการชํารุดของอุปกรณ์ปั้มน้ำได้โดยไม่ต้องมีคนควบคุม ตรวจสอบความผิดปกติต่าง ๆ เช่น สิ่งแปลกปลอมในถังกักเก็บน้ำ
ที่อาจทําให้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ขัดข้องและหยุดทํางานและส่งข้อมูลดังกล่าวพร้อมภาพนิ่งกลับไปยังสํานักงานที่ตั้งอยู่
ห่างจากเกาะออกไปได้ตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง[su_spacer size=”20″]
โดยสรุปปัจจัยสําคัญที่สนับสนุนความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของจังหวัดโอซากา คือ ความร่วมมือในด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและลูกค้า ทั้งความร่วมมือ
ระหว่างภาคเอกชนด้วยกันและความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับสถาบันการศึกษา ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมนวัตกรรมของจังหวัด[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา