ภูมิภาคคันไซมีจุดแข็งด้านนวัตกรรมแบบเปิดและการทำวิจัยพัฒนาร่วม เนื่องจากมีองค์กรที่ทำหน้าที่บ่มเพาะบุคลากรที่มีศักยภาพหลากหลายและมีชื่อเสียง เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย บริษัทเอกชน จำนวนมาก[su_spacer size=”20″]
คันไซมีปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมหลายประการ อาทิ การมี platform สำหรับนวัตกรรมแบบเปิดในเมืองหลัก เช่น Knowledge Capital ในโอซากา รวมทั้งองค์กรเพื่อการวิจัยพัฒนา เช่น Keihanna Science City ที่เกียวโต และ Kobe Biomedical Innovation Cluster ที่โกเบ ซึ่งโดดเด่นด้านการวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ คันไซมีจุดแข็งด้านอุตสาหกรรมหลากหลายสาขา ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อรองรับ EV และรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ ประกอบกับอุปสงค์ชั้นสูงสำหรับรถยนต์จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาขาที่คันไซมีจุดแข็ง 2) อุตสาหกรรมทางการแพทย์ เช่น เวชศาสตร์ฟื้นฟูภาวะเสื่อม การคิดค้นยาใหม่ ๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องพัฒนางานวิจัยให้กลายเป็นอุตสาหกรรม 3) อุตสาหกรรมวัสดุ เช่น คาร์บอน ไฮเทน อลูมิเนียม 4) อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า จะมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นในอนาคตสำหรับชิ้นส่วนที่ใช้ในสมาร์ทโฟน หูฟังอัจฉริยะ นาฬิกาอัจฉริยะ รถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ 5) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เช่น หุ่นยนต์สำหรับช่วยดูแลพยาบาล 6) อุตสาหกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม 7) อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ซึ่ง จ. เฮียวโกะ เป็นแหล่งผลิตอะไหล่เครื่องบินอะไหล่เครื่องบินอันดับ 4 ของญี่ปุ่น และการบริการโดยใช้ดาวเทียม 8) การท่องเที่ยวและเทคโนโลยีสารสนเทศ[su_spacer size=”20″]
คันไซเป็นภูมิภาคที่มีความกระตือรือร้นและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่จะส่งเสริมศักยภาพของภูมิภาค ทิศทางการดำเนินงานของภาครัฐและเอกชนในคันไซจึงมีความสอดคล้องกัน โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการจัดตั้งหน่วยงานในคันไซที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มขึ้น เช่น Osaka Innovation Hub ของนครโอซากา และการจัดตั้ง Club Keihanna ของ Keihanna Science City ที่เกียวโต ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการจัดตั้ง Knowledge Capital ที่โอซากา ซึ่งจัดแสดงผลงานนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งจากภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้ทดลองใช้และแสดงความคิดเห็น เพื่อนำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไป [su_spacer size=”20″]
จึงเห็นได้ว่า คันไซมีความพยายามอย่างจริงจังในการพัฒนานวัตกรรม ให้ความสำคัญกับการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและการสื่อสารกับผู้บริโภคโดยตรงในระหว่างขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งสะท้อนความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง[su_spacer size=”20″]