Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

จับตาภาคเอกชนญี่ปุ่น มุมมองต่อสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้า ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้

26/08/2019
in ทันโลก, เอเชีย
0
จับตาภาคเอกชนญี่ปุ่น มุมมองต่อสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้า ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้
0
SHARES
104
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

มุมมองของภาคเอกชนญี่ปุ่นต่อการที่รัฐบาลญี่ปุ่นถอดเกาหลีใต้ออกจากบัญชี White List จนถึงปัจจุบัน ไม่มีบริษัทเอกชนใดในเครือของสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นที่แสดงความห่วงกังวลต่อเรื่องนี้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่สมาพันธ์ฯ ต้องยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับรัฐบาลญี่ปุ่น  ทั้งนี้ สมาพันธ์ฯ ไม่ได้สนับสนุนหรือขัดข้องต่อการดำเนินการของรัฐบาลญี่ปุ่นในการถอดเกาหลีใต้ออกจากบัญชี White List เนื่องจาก (1) มาตรการ export control เป็นประเด็นด้านเศรษฐกิจไม่ใช่ประเด็นการเมือง (2) ยังไม่มีภาคธุรกิจญี่ปุ่นแจ้งว่าประสบปัญหาในการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ สืบเนื่องจากมาตรการนี้ (3) มาตรการดังกล่าวไม่ขัดกับ WTO กล่าวคือ เป็นไปตามข้อบทที่ 21 ของ GATT ว่าด้วยเรื่อง Secuity Exceptions (4) สมาพันธ์ฯ กับ Federation of Korean Industries (FKI) ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีมาก โดยมีกำหนดจะประชุมร่วมกันในเดือนพฤศจิกายน 2562

[su_spacer]

การค้าส่วนใหญ่ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นสินค้าประเภทสารเคมีและอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (semiconductor) ทั้งนี้ สมาพันธ์ฯ ไม่ทราบเหตุผลและข้อมูลเชิงลึกที่รัฐบาลญี่ปุ่นใช้ประกอบการตัดสินใจการออกมาตรการ export control เพราะเป็นข้อมูลที่มีขั้นความลับสูงมาก โดยทราบแต่เพียงว่า อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยด้านความมั่นคง

[su_spacer]

ต่อคำถามเรื่องความเห็นและความเชื่อมั่นของภาคเอกชนภายหลังจากที่รัฐมนตรี MEIT ได้แถลงข่าวเมื่อ 8 สิงหาคม 2562 เรื่องการอนุญาตการส่งออก photoresists ไปยังเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกภายหลังรัฐบาลญี่ปุ่นถอดเกาหลีใต้ออกจากบัญชี white list นั้น สมาพันธ์ฯ มิได้รู้สึกโล่งใจเป็นพิเศษ เพราะไม่รู้สึกกังวลอยู่แล้วตั้งแต่แรก เนื่องจากมาตรการดังกล่าวไม่ได้ห้ามการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ แต่เกี่ยวกับกระบวนการควบคุม ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทางการญี่ปุ่นดำเนินการอยู่แล้ว และจนถึงปัจจุบันเอกชนญี่ปุ่นที่เป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบประเภท semiconductor ที่สำคัญ อาทิ บ. Showa Denko ก็ยังมิได้ร้องเรียนหรือแสดงความกังวลใด ๆ ต่อกระแสข่าวว่ารัฐบาลเกาหลีใต้จะปรับลดโควตาการนำเข้าสินค้าจากจังหวัดฟูกูชิมะและกระแสการคว่ำบาตรสินค้าญี่ปุ่นนั้น สมาพันธ์ฯ แจ้งว่า การดำเนินการเช่นนี้ควรอยู่บนพื้นฐานของข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ EU ได้ยกเลิกและผ่อนปรน import restrictions ให้กับสินค้าจากจังหวัดฟูกูชิมะแล้วตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน สำหรับกระแสการคว่ำบาตรสินค้านั้น สมาพันธ์ฯ เห็นว่า สินค้าอุปโภคบริโภคจะตกเป็นเป้าได้ง่าย แต่น่าจะเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะสั้น อย่างไรก็ดี ผลทางด้านจิตวิทยาของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ เป็นสิ่งที่น่ากังวลมากกว่า เพราะจะเป็นผลกระทบในระยะยาว ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นในตัวเลขการท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

[su_spacer]

ต่อคำถามว่า บ. Nippon Steet ของญี่ปุ่นที่ถูกศาลฎีกาเกาหลีใต้ตัดสินให้ชำระเงินชดเชยแก่แรงงานเกาหลีใต้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้หารือกับสมาพันธ์ฯ เกี่ยวกับแนวทางในการเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่อย่างไร สมาพันธ์ฯ ตอบว่า เรื่องดังกล่าวได้ข้อสรุปแล้วสมบูรณ์และเป็นที่สิ้นสุดแล้วโดยสนธิสัญญาทวิภาคี ญี่ปุ่น – เกาหลีใต้ ปี ค.ศ. 1965 สมาพันธ์ฯ จึงไม่เห็นเหตุผลที่บริษัทนี้ต้องชำระค่าเสียหาย อย่างไรก็ดี หากในอนาคต เกาหลีใต้ ดำเนินการยึดทรัพย์สินของบริษัทนี้ ก็เป็นประเด็นระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่ายที่ต้องหารือกัน

[su_spacer]

ผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อาทิ สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ และการลดค่าเงินหยวน สมาพันธ์ฯ เห็นว่า สงครามการค้าส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงซึ่งภาคเอกชนญี่ปุ่นต้องการให้สหรัฐฯ ปฏิบัติตามหลักของ WTO โดยสมาพันธ์ฯ เห็นว่า สงครามการค้าส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลง ซึ่งภาคเอกชนญี่ปุ่นต้องการให้สหรัฐฯ ปฏิบัติตามหลักของ WTO โดยสมาพันธ์มองว่า การที่สหรัฐฯ เพิ่มกำแพงภาษีสินค้าที่นำเข้าจากจีน ไม่เกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงตามที่สหรัฐฯ อ้าง ซึ่งสมาพันธ์ได้หารือเรื่องนี้กับสภาหอการค้าของสหรัฐฯ และได้ออก joint policy paper  ในเรื่องดังกล่าวด้วย ในขณะที่การลดค่าเงินหยวนเป็นอุปสรรคมากต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในระยะยาว โดยอุตสาหกรรมที่น่าจะได้รับผลกระทบชัดเจนคือ การส่งออกยานยนต์และอะไหล่ของญี่ปุ่นไปจีน

[su_spacer]

ข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อ 8 สิงหาคม 2562 อัครราชทูตได้พบหารือกับผู้บริหารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ และได้สอบถามเกี่ยวกับผลกระทบต่อบริษัทจากมาตรการ export control ดังกล่าวของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทเห็นว่า ผลกระทบมีไม่มากเพราะขนาดของ market share ของโตโยต้าในตลาดเกาหลีใต้มีเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั่น

[su_spacer]

ข้อคิดเห็นของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว

[su_spacer]

หากเปรียบเทียบกับภาคเอกชนเกาหลีใต้แล้ว ภาคเอกชนญี่ปุ่นดูจะมีความกังวลต่อสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้านี้น้อยกว่ามาก   แม้แต่กระแสต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นในเกาหลีใต้เอง เอกชนญี่ปุ่นยังมองเป็นปัญหาระยะสั้น นอกจากนี้ ตามที่สื่อญี่ปุ่นนำเสนอข่าวว่า บริษัท Sumsung หันไปนำเข้าสารเคมีจากบริษัทในเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับเอกชนญี่ปุ่นนั้น มีกระแสข่าวว่าญี่ปุ่นนำเสนอข่าวว่า เป็นความพยายามของญี่ปุ่นเองที่จะช่วยให้การส่งออกสารเคมีดังกล่าวไปยังบริษัท Samsung ดำเนินต่อไปได้ โดยผ่านประเทศที่สาม

[su_spacer]

นอกจากภาคเอกชนแล้ว การให้น้ำหนักต่อเรื่องนี้ของรัฐบาลญี่ปุ่น และกระแสต่อต้านของประชาชนญี่ปุ่นต่อเกาหลีใต้ถือว่าน้อยมากหากเทียบกับเกาหลีใต้ ดังสะท้อนให้เห็นจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่น พยายามไม่ตอบสนองทางวาทกรรมในประเด็นด้านประวัติศาสตร์กับเกาหลีใต้ แต่ย้ำท่าทีเดิมคือการยึดมั่นต่อสนธิสัญญาทวิภาคีปี ค.ศ. 1965 โดยสาเหตุน่าจะเป็นเพราะ หากญี่ปุ่นยินยอมจ่ายค่าชดเชยให้กับแรงงานเกาหลีใต้ อาจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียจำนวนไม่น้อยที่เคยถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ดำเนินรอบตามเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นไม่สามรถยอมให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ สื่อท้องถิ่นญี่ปุ่นได้ทำการสำรวจพบว่าในส่วนของภาคประชาชน กลุ่มวัยรุ่นญี่ปุ่นมีความนิยมชื่อชอบศิลปินเกาหลี แฟชั่น และเครื่องสำอางเกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้น เพราะแสดงถึงความทันสมัย

[su_spacer]

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีรายงานว่ารัฐบาลเกาหลีใต้อาจประกาศยกเลิกความตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองระหว่างเกาหลีใต้-ญี่ปุ่น (GSOMIA) ซึ่งปกติต้องต่ออายุทุกปี รายงานดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ต่างแสดงความกังวล โดยปัจจุบันเกาหลีใต้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลของดาวเทียม เรดาร์ เครื่องบินลาดตะเวนและเทคโนโลยีขั้นสูงของญี่ปุ่นในการติดตามและวิเคราะห์การทดลองขีปนาวุธและเรือดำน้ำของเกาหลีเหนือ ในขณะที่ญี่ปุ่น่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลของเกาหลีใต้โดยเฉพาะจากสายลับและ defectors เกาหลีเหนือเท่านั้น แต่ยังอาจทำให้ตอบสนองต่อปฏิบัติการของจีนและรัสเซียยากขึ้นด้วย โดยคำนึงว่า จีนและรัสเซียได้มี joint bomber patrol ในน่านน้ำของเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดต่อพัฒนาการเรื่องนี้ในวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งจะเป็น deadline ในการยกเลิกความตกลงดังกล่าว

[su_spacer]

ในระยะแรก พบว่า อุตสาหกรรมที่เห็นผลกระทบชัดเจนที่สุดคือ ภาคการท่องเที่ยว (ร้อยละ 25 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในญี่ปุ่นเป็นชาวเกาหลีใต้) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่อเที่ยวในภูมิภาคคิวชูที่ลดลงมาก ในขณะที่การส่งออกระหว่างญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ค่อย ๆ ชะลอตัว ดังนั้น ในระยะสั้น ไทยควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้โดยนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวทดแทน ส่วนในระยะยาว ไทยน่าจะเตรียมความพร้อมในการเป็นฐานการผลิตสินค้าและอุปกรณ์บางประเภทที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในอนาคต เช่น แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยไทยอาจใช้ความรู้และเทคโนโลยีของญี่ปุ่นเพื่อผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวทดแทนการผลิตในเกาหลีใต้

[su_spacer]

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว

Tags: ญี่ปุ่นนโยบายสงครามการค้าเกาหลีเศรษฐกิจ/ธุรกิจ/การค้า
Previous Post

ผลกระทบและการปรับตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์ จากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

Next Post

เซี่ยงไฮ้เปิดตลาดหุ้น “STAR Market” ส่งเสริมการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน

Admin Admin

Admin Admin

Next Post
เซี่ยงไฮ้เปิดตลาดหุ้น “STAR Market” ส่งเสริมการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน

เซี่ยงไฮ้เปิดตลาดหุ้น “STAR Market” ส่งเสริมการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน

Post Views: 868

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X