เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 มหาวิทยาลัย Technion Israel Institute of technology สถาบันการศึกษาชั้นนําด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอิสราเอลได้ตีพิมพ์บทความในนิตยสาร Nature Food เกี่ยวกับความสําเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีเพาะเนื้อสัตว์จากเซลล์โปรตีนถั่วเหลืองในห้องปฏิบัติการ สาระสําคัญสรุปได้ดังนี้
[su_spacer]
1. เทคโนโลยีดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยีปลูกถ่ายเนื้อเยื่อทางการแพทย์ และนํามาพัฒนาต่อยอดโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Technion และบริษัท Aleph farms ของอิสราเอล ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยเทคโนโลยีอาหารที่เมือง Rehovot ก่อตั้งเมื่อปี 2560 เพื่อวิจัยการผลิตเนื้อจากเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการมาโดยตลอด
[su_spacer]
2. หลักการของเทคโนโลยีดังกล่าวแตกต่างจากเทคโนโลยีอื่น โดยเป็นการใช้เซลล์จากโปรตีนถั่วเหลือง (soy protein Scaffolds) เป็นเซลล์ตั้งต้นเพื่อเลี้ยงดูและเพาะเซลล์เนื้อ ซึ่งสามารถทดแทน “extracellular กาatrix (ECM)” ที่พบในเนื้อเยื่อและอวัยวะของสัตว์ ทั้งนี้ ข้อดีของการใช้เซลล์จากโปรตีนถั่วเหลืองคือ ต้นทุนต่ํา หาได้ทั่วไป และมีปริมาณโปรตีนสูง โดยขณะนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ในการผลิตในห้องปฏิบัติการ แต่หากสามารถพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในเชิงพาณิชย์จะช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนปัญหา แบคทีเรียดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ รองรับความต้องการเนื้อสัตว์เทียมที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดโลก และเพิ่มความมั่นคงทางอาหารได้ ขณะนี้ทีมนักวิจัยหวังที่จะขยายผลเทคโนโลยีไปยังการใช้เซลล์โปรตีนจากพืชต่าง ๆ เพื่อผลิตเนื้อ
[su_spacer]
3. ทั้งนี้ อิสราเอลเป็นประเทศที่ให้ความสําคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมาโดยตลอด โดยเฉพาะในเรื่องความ มั่นคงทางอาหาร โดยบริษัทต่าง ๆ ของอิสราเอลมักมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนําของประเทศอย่างใกล้ชิด โดยก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคม 2561 บริษัท Aleph Farms เคยสร้างชื่อเสียงในวงการอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อประสบความสําเร็จในการผลิต “cell-grown minute steak” จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่สกัดจากวัวโดยปราศจากความเจ็บปวด และเมื่อเดือนตุลาคม 2562 ประสบความสําเร็จในการผลิตเนื้อสังเคราะห์ (cultivation of meat) บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station)
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ