Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ชี้ช่องจากทีมทูต

ข้อควรระวังของผู้ประกอบการไทยในการทำธุรกิจกับอิหร่าน หลังได้รับมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่จากสหรัฐฯ

06/01/2019
in ชี้ช่องจากทีมทูต
0
ข้อควรระวังของผู้ประกอบการไทยในการทำธุรกิจกับอิหร่าน  หลังได้รับมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่จากสหรัฐฯ
0
SHARES
363
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

            ปัจจุบันสหรัฐอเมริกากลับมาบังคับใช้มาตรการลงโทษต่ออิหร่าน เพียงไม่กี่เดือนหลังจากอิหร่านถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ โดยแถลงการณ์ของประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศถึงการกลับมาบังคับใช้มาตรการลงโทษต่ออิหร่านที่เกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยถูกระงับไปภายใต้ความตกลง Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) เมื่อปี ค.ศ. 2015

             สำหรับการกลับมาบังคับใช้มาตรการลงโทษในครั้งนี้ สหรัฐฯ ได้พยายามตัดรายได้ของรัฐบาลอิหร่านที่จะนำไปใช้สนับสนุนกิจกรรมที่บั่นทอนความมั่นคงของโลก และได้ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในโลกในการยุติการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านให้ได้มากที่สุด รวมทั้งจะขึ้นบัญชีบุคคลและองค์กรต่างชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอิหร่านให้ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเงินของสหรัฐฯ และไม่สามารถทำธุรกิจกับสหรัฐได้

             มาตรการลงโทษที่นำกลับมาบังคับใช้ครั้งนี้ ในช่วงแรกมีเป้าหมายที่ธุรกิจยานยนต์ การค้าขายทองคำ และโลหะสำคัญ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2561 ส่วนการบังคับใช้มาตรการลงโทษรอบที่สองมีผลบังคับใช้วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 โดยมีเป้าหมายที่อุตสาหกรรมสาขาพลังงาน ธุรกรรมที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ธุรกิจขนส่งสินค้าทางเรือ อุตสาหกรรมต่อเรือ และการทำธุรกรรมของสถาบันการเงินต่างประเทศกับธนาคารกลางของอิหร่าน อย่างไรก็ดี มาตรการลงโทษยังคงยกเว้นการซื้อขายอาหาร สินค้าเกษตร เวชภัณฑ์ และเครื่องมือทางการแพทย์

             ในการบังคับใช้มาตรการลงโทษรอบแรก ทางสหรัฐฯ ยึดมั่นที่จะบังคับใช้มาตรการลงโทษดังกล่าว อย่างเต็มที่ และจะดำเนินการอย่างใกล้ชิดกับประเทศที่ยังดำเนินธุรกิจกับอิหร่าน ให้ปฏิบัติตามมาตรการลงโทษดังกล่าว โดยที่บุคคลหรือองค์กรใดที่ไม่ยุติการทำธุรกิจกับอิหร่านมีความเสี่ยงต่อผลลัพธ์ที่ร้ายแรง ส่งผลให้บริษัทต่างชาติจำนวนมากได้ประกาศความตั้งใจที่จะถอนตัวจากการทำธุรกิจ และระบุว่าจะลดหรือยุติการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน โดยสหรัฐฯ ยังได้ผลักดันให้ทุกประเทศดำเนินมาตรการในลักษณะเดียวกัน และกล่าวเตือนอิหร่านว่ามีเพียง 2 ทางเลือกเท่านั้น คือ เปลี่ยนพฤติกรรมของตนที่เป็นภัยคุกคามและกลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก หรือเดินหน้าต่อไปในเส้นทางที่จะนำไปสู่การถูกโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจ

             การดำเนินการของสหรัฐฯ ยังรวมถึงการที่ประธานาธิบดีทรัมป์ลงนามใน Executive Order “Reimposing Certain Sanctions with Respect to Iran” สอดคล้องกับ Presidential Memorandum เมื่อ 8 พฤษภาคม 2561 ที่สหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากความตกลง JCPOA ซึ่งการถอนตัวจากความตกลงของสหรัฐฯ ถือเป็นการใช้แรงกดดันสูงสุด (maximum pressure) ทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน จนถึงปัจจุบันรัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ได้บังคับใช้มาตรการลงโทษต่ออิหร่านถึง 17 ครั้ง ขึ้นบัญชีลงโทษบุคคลและองค์กรต่าง ๆ 145 ราย บังคับใช้มาตรการลงโทษทั้งหมดที่เคยยกเว้นภายใต้ JCPOA ทำให้ตัวบุคคล องค์กร เรือ และเครื่องบินจำนวนหลายร้อยรายการที่เคยถูกขึ้นบัญชีก่อนหน้าก็จะกลับมาถูกรัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีรายชื่อนี้อีกครั้งหนึ่ง

             ทั้งนี้ รายละเอียดของสาขาธุรกิจที่เป็นเป้าหมายของการกลับมาบังคับใช้มาตรการลงโทษของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านตามที่ปรากฏในประกาศของทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีดังนี้

(1)  การซื้อหรือครอบครองธนบัตรดอลลาร์สหรัฐ โดยรัฐบาลอิหร่าน

(2)  การซื้อขายทองคำ และโลหะมีค่าอื่น ๆ

(3)  กราไฟต์ อลูมิเนียม เหล็ก ถ่านหิน และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม

(4)  ธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลเรียลของอิหร่าน

(5)  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหนี้ภาครัฐ (sovereign debt) ของอิหร่าน

(6)  อุตสาหรรมรถยนต์ของอิหร่าน

             ในการบังคับใช้มาตรการลงโทษรอบสอง ทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องการกลับมาบังคับใช้มาตรการลงโทษทั้งหมดของสหรัฐฯ ที่เคยยกเว้นภายใต้ JCPOA ต่ออิหร่าน และยืนยันถึงผลบังคับใช้วันที่ 5 พฤศจิกายน ๒๕๖๑ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้บรรยายสรุปกับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับเป้าหมายหลักของการบังคับใช้มาตรการลงโทษที่จะมีผลบังคับใช้ว่าเป็นการตัดรายได้ของรัฐบาลอิหร่านที่จะนำไปใช้สนับสนุนกิจกรรมที่บั่นทอนความมั่นคงในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก และเพื่อบังคับให้อิหร่านละทิ้ง “well-documented outlaw activities” และควรมีพฤติกรรมเหมือนประเทศอื่น ๆ ทั่วไป (normal country) ทั้งนี้ เพื่อให้ “pressure campaign” ประสบผลสำเร็จมากที่สุด สหรัฐฯ ได้ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อยุติการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านให้มากที่สุด

             สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ได้ติดตามการกลับมาของมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่ออิหร่านอย่างใกล้ชิดเพื่อผลประโยชน์ของภาคเอกชนไทยที่ดำเนินธุรกิจหรือประสงค์จะดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับอิหร่าน โดยในระหว่างที่รอติดตามข่าวมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านคราวนี้ของสหรัฐฯ ภาคเอกชนไทยจำเป็นที่จะต้องเตรียมพร้อม โดยศึกษาถึงสถานการณ์อย่างเข้าใจว่าสามารถทำสิ่งใดได้ และสิ่งใดยังคงต้องระมัดระวัง ทั้งนี้ หน่วยงานและองค์กรที่อาจยังมีการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอิหร่านควรทราบพัฒนาการล่าสุดดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากมาตรการตอบโต้และลงโทษของรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อบุคคลและองค์กรที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการของสหรัฐฯ

             ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถตรวจสอบรายชื่อที่ได้รับการขึ้นบัญชีลงโทษรอบใหม่เพิ่มเติมได้ที่ https://www.treasury.gov/resource-center/sanctions/OFAC-Enforcement/Pages/20181105_names.aspx และควรติดตามความคืบหน้าจากประกาศในเว็บไซต์ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดว่า สถานการณ์หลังการคว่ำบาตรอิหร่านในคราวนี้จะไปในทิศทางใด และหากอิหร่านปฏิบัติตามสหรัฐฯ ก็อาจจะนำมาสู่การประกาศยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน อันจะเป็นการปลดล็อกให้บริษัทไทยสามารถทำธุรกิจกับอิหร่านได้ ซึ่งจะเป็นสัญญาณที่ทำให้การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับอิหร่านฟื้นคืนกลับมาสู่สภาวะปกติอีกครั้ง

 

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน

Previous Post

พัฒนาการที่น่าจับตามองของเขตทดลองการค้าเสรีจีน

Next Post

คาดการณ์ภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ปี 2562 จาก 3 นักเศรษฐศาสตร์

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post

คาดการณ์ภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ปี 2562 จาก 3 นักเศรษฐศาสตร์

Post Views: 1,059

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X