เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดการประชุม Indonesia Economic Forum ในหัวข้อ “Towards a $7 Trillion Economy: Opportunities and Challenges” ณ โรงแรม JW Marriott กรุงจาการ์ตา ภายในงานมีการปาฐกถาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุน โดยมีนาย Shoeb Kagda ผู้ก่อตั้ง Indonesia Economic Forum (IEF) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
[su_spacer]
นาย Shoeb Kagda กล่าวว่า ประเด็นคำถามที่สำคัญในปัจจุบันคือ อินโดนีเซียจะปรับนโยบายเศรษฐกิจอย่างไรเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน และจะประเทศสามารถบรรลุการเติบโตมากกว่า 5% ได้อย่างไรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ เทคนิคและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วได้อย่างไร
[su_spacer]
ทั้งนี้ อินโดนีเซียมีฐานที่แข็งแกร่งสำหรับนวัตกรรม และยังมีธุรกิจ Startups ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (Unicorn) ถึง 6 ธุรกิจ รวมทั้งเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโต อย่างไรก็ตาม ความท้าทาย คือ มีเพียง 0.01% ของงบประมาณทั้งหมดที่ถูกจัดสรรสำหรับการวิจัยและพัฒนา
[su_spacer]
ประธานาธิบดีโจโควีได้พัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในความสำคัญหลักของเขา ทั้งนี้ การแข่งขันด้านบุคลากรในระดับโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อินโดนีเซียต้องพัฒนาความสามารถของบุคลากรในภายเทศเช่นเดียวกับดึงดูดคนเก่งจากต่างชาติเข้ามาในประเทศด้วย อีกทั้งรัฐบาลจะต้องหาจุดสมดุลระหว่างความต้องการบุคลกรที่มีความสามารถและโอกาสสำหรับประชาชนในประเทศในการเข้าถึงงานที่มีรายได้ดี
[su_spacer]
นอกจากนี้ อินโดนีเซียต้องเชื่อมโยงกับประชาคมโลกให้มากขึ้น โดยการเพิ่มเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ การเพิ่มความร่วมมือระดับโลก และเพิ่มการลงทุนใน R&D ให้มากขึ้น รวมทั้ง อินโดนีเซียต้องค้นหาบุคลากรที่เหมาะสมสำหรับยุคใหม่ และปรับปรุงให้คนสามารถใช้คอมพิวเตอร์และความรู้ภาษาอังกฤษควรเป็นทักษะที่จำเป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นกระบวนทัศน์ที่จะเปลี่ยนสังคมอินโดนีเซียได้
[su_spacer]
ปัจจุบัน อินโดนีเซียมีเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การจะบรรลุเศรษฐกิจถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ได้นั้น ประเทศจะต้องปรับปรุงเทคโนโลยีและดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพ เนื่องจากความสามารถ นวัตกรรม และการปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็นในการปรับนโยบายและกลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศเติบโตอย่างสมดุล
[su_spacer]
โดยทั่วไป คนรุ่นใหม่ในอินโดนีเซียมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่บัณฑิตจบใหม่กว่า 35% ประสบสภาวะว่างงาน แม้ว่าจะมีคน 3 ล้านคนเข้ามาในตลาดแรงงานทุกปี การเข้าถึงโอกาสในการทำงานจึงเป็นความท้าทายอย่างต่อเนื่อง
[su_spacer]
ดังนั้น การมีต้นทุนแรงงานต่ำนั้นยังไม่เพียงพอในปัจจุบัน โดยโครงสร้างพื้นฐาน การเรียนรู้ทักษะใหม่และการเพิ่มผลิตภาพจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ อีกทั้งการปรับปรุงภาคบริการก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะภาคบริการในเอเชียเติบโตเร็วกว่าภาคการค้าถึง 60%
[su_spacer]
นอกจากนี้ Dr. Ir. Rizal Affandi Lukman รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ณ กระทรวงประสานงานเศรษฐกิจของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กล่าวสุนทรพจน์ในงานว่า เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี ค.ศ. 2045 อินโดนีเซียต้องเติบโต 7% เนื่องจากการเติบโตของจีดีพีในปัจจุบันของอินโดนีเซียที่ 5% ซึ่งไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวในอีก 25 ปีข้างหน้าได้
[su_spacer]
นอกจากนี้ ความท้าทายบางประการของอินโดนีเซีย ได้แก่ การค้าขายที่ชะลอตัวซึ่งเพียง 1.1% เมื่อเทียบกับ 5% จาก 2 ปีก่อน โดยที่ราคาน้ำมันปาล์มยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัวพร้อมการส่งออกที่อ่อนแอลง
[su_spacer]
อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดทางสังคมของอินโดนีเซียได้รับการปรับปรุง คือ ระดับความยากจนลดลง ช่องว่างความไม่เท่าเทียมลดลง ระดับการว่างงานต่ำ และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและค่อนข้างเสถียรที่ 3% นี่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียยังคงเติบโตและสามารถเติบโตได้ที่ 5% แต่ก็ยังไม่เพียงพอ
[su_spacer]
ประธานาธิบดีโจโควีได้กำหนดลำดับความสำคัญ 5 ประการในระหว่างการบริหาร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบที่ทำให้ง่ายขึ้น การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อินโดนีเซียกำลังปรับปรุงเศรษฐกิจในประเทศอย่างต่อเนื่อง และให้ต่างชาติมองเห็นถึงการเป็นประเทศที่คู่ควรแก่การลงทุน
[su_spacer]
ดังนั้น ประเด็นสำคัญสามประการที่อินโดนีเซียควรให้ความสำคัญ ได้แก่ :
[su_spacer]
(1) เพิ่มการส่งออกและดึงดูดการลงทุนเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นรวมถึงขยายตลาดส่งออกผ่านข้อตกลงทวิภาคีและพหุภาคีเช่น RCEP อีกทั้งต้องกำจัดมาตรการที่ไม่จำเป็น ซึ่งรัฐบาลกำลังสร้างกฎหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ปรับปรุงการออกใบอนุญาตธุรกิจ และสร้างงาน
[su_spacer]
(2) สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจผ่านการปฏิรูป เช่น การยกระดับทักษะการทำงานและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยแผนบูรณาการ
[su_spacer]
(3) ต้นทุนโลจิสติกส์ในอินโดนีเซียยังคงอยู่ในระดับสูง จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (เมื่อปีที่แล้วโครงการยุทธศาสตร์ระดับชาติมี 62 โครงการแล้วเสร็จ และอีก 19 โครงการเพิ่มเติมแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2562) อินโดนีเซียจึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและทางกายภาพ นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียได้สนับสนุนการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจใน 5 ภาคการส่งออกหลัก ได้แก่ (1) อาหารและเครื่องดื่ม (2) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (3) อิเล็กทรอนิกส์ (4) ยานยนต์ (4) ยานยนต์และ (5) เคมีภัณฑ์
[su_spacer]
(4) นโยบายการค้าของอินโดนีเซียต้องส่งเสริมการส่งออก โดยปัจจุบันอินโดนีเซียเสร็จสิ้นข้อตกลงการค้า 17 ข้อ (ทวิภาคีและภูมิภาค) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และ 12 ข้อตกลงกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้ง 11 ข้อตกลงกำลังอยู่ในขั้นตอนการปฏิบัติ
[su_spacer]
(5) อีกทั้งยังคาดว่า การประชุมนี้จะทำให้ชุมชนธุรกิจส่งต่อข้อมูลถึงรัฐบาลในการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจได้
[su_spacer]
นอกจากนี้ นาย Thomas Lemberg เห็นว่า ในระยะสั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอมากที่สุดในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2019 แต่ขณะนี้อยู่ในช่วงการฟื้นตัว ส่วนในระยะยาว ความท้าทายคือ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและบรรยากาศทางธุรกิจ ฉะนั้น ประเทศโซนเอเชียควรกระจายความเสี่ยงมากขึ้นและลดการพึ่งพาหรืออิงกับเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า อินโดนีเซียจะต้องดำเนินการปฏิรูประบบราชการ เพื่อลดกฎระเบียบที่มากเกินไป และเปลี่ยนความคิดให้ระบบราชการมีบทบาทเชิงรุกและคำนึงถึงผู้บริการมากขึ้น
[su_spacer]
ทั้งนี้ นาย Sumit Dutta ประธานผู้อำนวยการ PT HSBC อินโดนีเซีย มีความเห็นว่า อินโดนีเซียมีพื้นฐานที่ค่อนข้างดี อัตราเงินเฟ้อค่อนข้างต่ำ (ที่ระดับ 3%) อัตรารูเปียห์ค่อนข้างคงที่ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และหนี้ต่อ GDP โดยรวมค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยังมีเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมในอินโดนีเซีย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก อินโดนีเซียสามารถพัฒนาขีดศักยภาพได้อีก เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจึงจำเป็นต้องกลายเป็นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อที่จะก้าวไปสู่เศรษฐกิจ 7 ล้านล้านดอลลาร์ รวมไปถึงต้องกฎระเบียบให้ง่ายขึ้นและจำเป็นต้องเปิดกว้างให้กับส่วนที่เหลือของโลกโดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียน
[su_spacer]
นอกจากนี้ นาย Sandiaga Uno ผู้ประกอบการและอดีตรองผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา เห็นว่า ความท้าทายของประเทศมีหลายประการ อาทิ งานที่มีคุณภาพสำหรับคนรุ่นใหม่ และราคาอาหารยังคงสูง แม้อัตราเงินเฟ้อจะต่ำ จึงมีความจำเป็นต้องโน้มน้าวผู้กำหนดนโยบายในการเพิ่มการค้าและการลงทุนเพื่อสร้างงานและอาชีพ ภาคเอกชนควรมีบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนการค้าและการลงทุนในอินโดนีเซียก 5 ปีข้างหน้า
[su_spacer]
ฉะนั้น เพื่อให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประสิทธิภาพสูง จึงต้องมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงานเก่า การทำให้ค่าครองชีพไม่แพง รวมประเทศเข้ากับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และลงทุนในการศึกษามากขึ้น
[su_spacer]