Thursday, May 22, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

อินเดียผลักดันนโยบาย ‘Indian Space Policy 2023’ เดินหน้ากิจการอวกาศ

11/10/2023
in ทันโลก, คมนาคม I โลจิสติกส์
0
อินเดียผลักดันนโยบาย ‘Indian Space Policy 2023’ เดินหน้ากิจการอวกาศ
1
SHARES
397
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

ความเป็นมาของกิจการอวกาศอินเดีย 

อินเดียก่อตั้ง National Committee for Space Research (INCOSPAR) เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Indian Space Research Organisation (ISRO) และเพิ่มภารกิจด้านเทคโนโลยีอวกาศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลได้ตั้งกรมกิจการอวกาศ (Department of Space: DOS) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของนายกรัฐมนตรี และได้นำ ISRO มาไว้ใต้การกำกับดูแลของ DOS โดย DOS และ ISRO มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองบังกาลอร์ รัฐกรณาฏกะ

ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2518 อินเดียสามารถสร้างดาวเทียมดวงแรก ‘Aryabhata’ ได้สำเร็จ (แต่ส่งออกโดยจรวดของโซเวียต) จนปี พ.ศ. 2522 สามารถส่งดาวเทียมด้วยจรวดที่สร้างด้วยตนเองได้ โดยในช่วงแรก อินเดียเน้นการพัฒนากิจการอวกาศเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเพื่อดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และต่อมาก็ได้ขยายไปสู่การสำรวจอวกาศ โดยได้ดำเนินภารกิจสำรวจดวงจันทร์ ‘Chadrayaan-1’ และ ดาวอังคาร ‘Mangalayaan-1’ เมื่อปี พ.ศ. 2556 และ 2561 ตามลำดับ จนในปัจจุบัน อินเดียได้ก้าวจากการพัฒนากิจการอวกาศเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมาสู่การเป็นประเทศชั้นนำด้านกิจการอวกาศ และขยายขอบเขตไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ

นโยบายอวกาศของอินเดีย

‘Indian Space Policy 2023’ จัดทำขึ้นเพื่อให้สอดรับกับนโยบายการปฏิรูปกิจการอวกาศของรัฐบาลอินเดีย ซึ่งริเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2563 โดยมุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เล่นที่ไม่ใช่รัฐ โดยเฉพาะภาคเอกชน ในกิจการอวกาศอย่างครบวงจร โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ ดังนี้ 

(1) จัดตั้ง Indian National Space Promotion & Authorisation Centre (IN-SPACe) หน่วยงานอิสระของภาครัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและกำกับดูแลกิจการอวกาศของอินเดีย เช่น (1) เป็นหน่วยงานรวมศูนย์สำหรับการอนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนดำเนินกิจกรรมด้านอวกาศ (2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต ศูนย์บ่มเพาะ ศูนย์ทางเทคนิค รวมทั้ง startups ด้านอวกาศ (3) ส่งเสริมให้อินเดียเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์/สินค้าที่เกี่ยวข้องกับอวกาศชั้นนำของโลก ตลอดจนพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ และออกข้อแนะนำสำหรับการใช้/ดำเนินกิจกรรมด้านอวกาศ 

(2) บทบาทของหน่วยงานอื่น ๆ

  • (2.1) Indian Space Research Organisation (ISRO) เน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศใหม่ ๆ และสำหรับการสำรวจอวกาศ ซึ่งรวมถึงความร่วมมือกับอุตสาหกรรมและนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศในด้าน R&D 

ภารกิจสำคัญของ ISRO (ปัจจุบัน – ช่วง 3 ปีข้างหน้า)

ลำดับชื่อ/เป้าหมายภารกิจ/ความสำคัญกำหนดเวลา
1 Aditya-L1 ดวงอาทิตย์– ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ภารกิจแรกของอินเดีย – ส่งยานไปยังจุด L1 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 1.5 ล้านกิโลเมตร เพื่อศึกษาบรรยากาศของดวงอาทิตย์ในชั้น Chromosphere และ Corona และผลต่อสภาพอวกาศ อาทิ การเกิดลมสุริยะส่งยานออกสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2566
2Gaganyaan นักบินอวกาศ โคจรรอบโลก– ส่งนักบินอวกาศ 3 ราย โคจรรอบโลกที่วงโคจร ระดับต่ำ (Low-Earth Orbit) ระยะทาง 400 กิโลเมตร เป็นเวลา 3 วัน โดยเป็นภารกิจร่วมระหว่าง ISRO กับ Hindustan Aeronautics Limited (HAL) – เตรียมทดลองระบบ 2 ครั้ง โดยส่งยานไร้นักบิน แต่ มีหุ่น humanoid ‘Vyommitra’ ที่ออกแบบมาให้ดำเนินภารกิจต่าง ๆ ของนักบินอยู่ในยานด้วยทดลองระบบครั้งที่ 1 ไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และทดลองครั้งที่ 2 ไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2567 และส่งนักบินภายในปลายปี พ.ศ. 2567
3Shukrayaan-1 ดาวศุกร์– สำรวจพื้นผิว ชั้นบรรยากาศ และผลของพลังงาน จากดวงอาทิตย์ต่อดาวศุกร์ธันวาคม พ.ศ. 2567 หรือ ปี พ.ศ. 2574 (ปีสำรอง)
4Mangalayaan-2ดาวอังคาร– ติดตั้งอุปกรณ์ที่ปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้นเพื่อ ศึกษาธรณีวิทยาดาวอังคารภายในปี พ.ศ. 2567
5SPADEX – ทดสอบการเชื่อมต่อและการจอดเทียบท่าของ ยานอวกาศ (Space Docking Experiment)ไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2567
6Space Stationสถานีอวกาศ– มีแผนสร้างสถานีอวกาศ (Space Station) ของอินเดียเองภายในปี พ.ศ. 2578

(2.2) Department of Space (DOS) ดูแลภาพรวมการปฏิบัติตามนโยบาย และเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินความร่วมมือด้านอวกาศกับต่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการต่างประเทศของอินเดีย

ความร่วมมือกับต่างประเทศ 

(1) สหรัฐอเมริกา

  • (1.1) NASA-ISRO Synthetic Aperture Radar (NISAR) ลงนามความตกลงเมื่อปี พ.ศ. 2557 และมีกำหนดปล่อยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 เป็นดาวเทียมถ่ายภาพด้วยเรดาร์ที่จะส่งภาพถ่ายเปลือกโลกทุก 12 วัน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับน้ำทะเล และน้ำใต้ดิน ซึ่งจะช่วยประเมินความเสี่ยงการเกิดภัยธรรมชาติ 
  • (1.2) ในห้วงก่อนการเยือนสหรัฐอเมริกาของนายกรัฐมนตรีโมทีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 สองฝ่ายได้จัดตั้ง Working Group for Commercial Space Collaboration ภายใต้ Civil Space Joint Working Group และเพิ่มการหารือความร่วมมือด้านอวกาศภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนทางการทหาร 

(2) ฝรั่งเศส 

  • (2.1) Thermal Infrared Imaging Satellite for High-resolution Natural resource Assessment (TRISHNA) ภารกิจศึกษาพื้นผิวโลก โดยอินเดียรับผิดชอบการสร้างแพลตฟอร์มของดาวเทียม และส่วน infrared คลื่นสั้น ในขณะที่ฝรั่งเศสรับผิดชอบส่วน thermal infrared ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Airbus 
  • (2.2) มีความร่วมมือในสาขานี้มากว่า 6 ทศวรรษ ครอบคลุมทั้งการติดตามสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสำรวจอวกาศ โดยล่าสุดได้จัดประชุม Strategic Space Dialogue ครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 

(3) ญี่ปุ่น 

‘LUPEX’ หรือ ‘Chandrayaan-4’ ภารกิจสำรวจแหล่งน้ำบนขั้วใต้ของดวงจันทร์ โดยอินเดียรับผิดชอบยานลงจอด ส่วนญี่ปุ่นรับผิดชอบจรวดปล่อยยานและยานสำรวจ คาดว่าจะปล่อยในปี พ.ศ. 2568

ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี

เรียบเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

Tags: #globthailand#globทันโลก#space#นโยบายอวกาศอินเดีย#อวกาศ#อินเดีย#อุตสาหกรรมอวกาศ2023slideshowเทคโนโลยี
Previous Post

India Innovation Week 2023

Next Post

นักวิทยาศาตร์ชาวอเมริกัน ผุดไอเดียผลิตไฮโดรเจนจากน้ำเสีย!

Globthailand

Globthailand

Next Post
นักวิทยาศาตร์ชาวอเมริกัน ผุดไอเดียผลิตไฮโดรเจนจากน้ำเสีย!

นักวิทยาศาตร์ชาวอเมริกัน ผุดไอเดียผลิตไฮโดรเจนจากน้ำเสีย!

Post Views: 1,459

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X