รัฐพิหารเมืองสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักของชาวไทยในนามพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันรัฐพิหารมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในประเทศ โดยMr. Sushi Kumar Modi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัฐพิหารกล่าวว่า รัฐพิหารประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในปี 2560 – 2561 อยู่ที่ร้อย 11.3 ซึ่งอัตราการเติบโตของปี 2559 – 2560 อยู่ที่ร้อยละ 9.9 ทำให้รัฐพิหารกลายเป็นรัฐที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกรัฐในประเทศ ขณะที่อัตราการเติบโตของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 7 [su_spacer size=”20″]
นอกจากรัฐพิหารมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดแล้วยังเป็นรัฐที่มีรายได้เกินดุลมายาวนานกว่าทศวรรษโดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในระหว่างปี 2556 – 2557 และปี 2560 – 2561 โดยเพิ่มขึ้นจาก 6.4 หมื่นล้านรูปี เป็น 1.4 แสนล้านรูปี ทั้งนี้รายได้ของรัฐพิหารส่วนใหญ่มาจากภาคการบริการ(การท่องเที่ยว) คิดเป็นร้อยละ 60 ของรายได้ทั้งหมดของรัฐซึ่งในแต่ละปีมีพุทธศาสนิกชนชาวไทยมาเยือน 1 ใน 4 สังเวชนียสถานมากกว่า 8 หมื่นคน (4 สังเวชนียสถานประกอบด้วย 1. อุทยานลุมพินี ประเทศเนปาล (สถานที่ประสูติ) 2. พุทธคยา รัฐพิหาร (สถานที่ตรัสรู้) 3. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (สถานที่แสดงปฐมเทศนา) เมืองสารนาถ และ 4. สาลวโนทยาน (สถานที่ปรินิพพาน) เมืองกุสินารา [su_spacer size=”20″]
จากข้อมูลของ India Brand Equity Foundation (IBEF) ปี 2561 ได้กล่าวถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของรัฐพิหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเนื่องจากรัฐพิหารมีมรดกทางวัฒนธรรมมากมาย โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนามีสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อาทิ วัดมหาโพธิ (1 ใน 4 สังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า) ตั้งอยู่ในเมืองคยา, นาลันทามหาวิชชาลัย (มหาวิทยาลัยของพุทธศาสนานิกายมหายานและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของอินเดีย) ตั้งอยู่ในเมืองนาลันทา, เมืองราชคฤห์ ที่ตั้งสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนามากมาย เช่น พระคันธกุฎียอดเขาคิชกูฏ, วัดเวฬุวัน (วัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนา), ถ้ำสุกรขาตา (สถานที่พระสารีบุตรบรรลุธรรม) และถ้ำสัตตบรรณคูหา (สถานที่ทำสังคายนาครั้งแรก) [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ รัฐพิหารได้พัฒนาการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ ผ่านโครงการของรัฐที่ร่วมมือกับเอกชน ได้แก่ โครงการสร้าง Road Over Bridges เพื่อพัฒนาด้านการคมนาคมให้กระจายทั่วทุกพื้นที่ในรัฐโดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมือง Hajipur ของรัฐพิหาร โดยสำนักงานดังกล่าวเป็นศูนย์กลางของเส้นทางเดินรถไฟสายตะวันออกกลางของอินเดีย รวมทั้งจัดตั้ง The Bihar State Tourism Development Corporation โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโรงแรม การขนส่ง สระว่ายน้ำ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและดำเนินการในเชิงพาณิชย์เพิ่มความสะดวกสบายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว [su_spacer size=”20″]
รัฐพิหารได้วางแผนโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยคาดว่าจะสามารถดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ในปี 2565 ประกอบด้วย 2 โครงการใหญ่ คือ 1. โครงการสร้างอุทยานทางศาสนา 2 แห่ง ได้แก่ อุทยานทางพระพุทธศาสนาเมืองคยาและอุทยานพระมหาวีระ (ศาสดาของศาสนาเชน) เมืองราชคฤห์ 2. โครงการสร้างศูนย์การเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและศาสนาทั้งสิ้น 8 แห่ง ได้แก่ พุทธคยา, ปัฏนา, ราชคฤห์, ไวสาลี, อโศกธรรม, นาลันทา, วิกรมศิลา และโยคะสันธานะ [su_spacer size=”20″]
จากโครงการพัฒนาโครงสร้างการคมนาคมและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการพัฒนาของรัฐบาลพิหารที่มีต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวอย่างรอบด้านโดยคำนึงถึงความต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ รัฐพิหารอยู่ภายใต้การดูแลของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา มีความร่วมมือกับเครือข่ายชุมชนไทยและวัดไทยในพุทธคยา ซึ่งมีทั้งหมด 12 แห่ง โดยสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้จัดตั้งที่ทำการชั่วคราวของสถานกงสุลใหญ่ฯ ณ วัดไทยพุทธคยา ซึ่งเป็นวัดไทยในความดูแลของรัฐบาลไทยแห่งแรกในต่างประเทศและในฤดูกาลท่องเที่ยวแสวงบุญ กระทรวงการต่างประเทศจะส่งข้าราชการมาประจำระหว่างเดือนตุลาคม – มีนาคม เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้านการกงสุลแก่ผู้แสวงบุญชาวไทย นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีมแพทย์มาประจำที่วัดไทยพุทธคยาเพื่อให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนชาวไทยผู้แสวงบุญด้วยเช่นกัน [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา