นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี แห่งสาธารณรัฐอินเดียได้ย้ำจุดยืนในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 21 (COP21) ว่า จะปรับเปลี่ยนอินเดียจากประเทศผู้ปล่อยมลพิษเป็นอันดับที่ 3 ของโลก สู่ประเทศแนวหน้าที่จะลดมลภาวะ โดยควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มการใช้พลังงานทางเลือก และลดการใช้พลังงานถ่านหิน และน้ำมัน ในการนี้ ได้รับรองความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่จัดทําขึ้นระหว่างการประชุมดังกล่าว เมื่อปีที่แล้ว โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ได้มอบรางวัล “2018 Champions of the Earth Award” ให้แก่นายกรัฐมนตรีโมดี ผู้ที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอินเดีย อาทิ มาตรการยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ในอีก 3 ปีข้างหน้า [su_spacer size=”20″]
รัฐมหาราษฎระและรัฐคุชราตได้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลกลางอินเดีย ที่จะขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมเศรษฐกิจสีเขียว ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
- การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle – EV)
รัฐบาลกลางตั้งเป้าหมายให้อินเดียเป็นประเทศแห่งยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle Nation) Ministry of Road Transport and highways จึงกําหนดนโยบาย “Electrical Vehicle Policy” ลดการนําเข้า และลดการใช้น้ำมัน เพื่อลดมลพิษทางอากาศ ในขณะเดียวกัน ผลักดันให้ใช้รถ EV ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของ รถยนต์ทั้งหมดบนท้องถนนภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) และมุ่งให้มียอดจําหน่ายรถ EV เป็นร้อยละ 4 ของยอดจําหน่ายยานยนต์ทั้งหมดภายใน 5 ปีข้างหน้า เป็นผลให้บริษัทผลิตยานยนต์รายใหญ่ของอินเดีย อาทิ Mahindra & Mahindra, TATA รวมทั้งบริษัทต่างชาติในอินเดีย ต่างผลิตยานยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐมหาราษฎระและรัฐคุชราต ได้มีมาตรการเพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
รัฐมหาราษฎระ มีนโยบาย “Electrical Vehicle Policy 2018” เพื่อ 1) เป็นศูนย์กลางการผลิตและการใช้รถ EV รวมทั้งส่งเสริมการส่งออกรถ และชิ้นส่วนยานยนต์ EV เช่น แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ สําหรับสถานีชาร์จไฟฟ้าสําหรับรถยนต์ 2) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและเพิ่มทักษะแรงงานอินเดีย 3) พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน โดยให้รถยนต์ขนส่งสาธารณะในเมืองขนาดใหญ่ ได้แก่ มุมไบ ปุเณ เอารังคาบาด เป็นรถ EV ทั้งหมด ดังนั้น มีแนวโน้มว่า รัฐมหาราษฏระจะมีรถยนต์ EV ประมาณ 5 แสนคัน และมีมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องราว 125 พันล้านบาท และสร้างงานเพิ่มขึ้น 1 ล้านตําแหน่ง นอกจากนั้น รัฐมหาราษฎระให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนในอุตสาหกรรมและผู้บริโภครถ EV โดยทั้งการลงทุนขนาดใหญ่ และ MSME ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ ขณะที่ผู้บริโภคก็จะได้สิทธิรับเงินคืนภาษีจากการซื้อรถ EV ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีบางประเภท รวมทั้งยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนยานยนต์ [su_spacer size=”20″]
รัฐคุชราต มีนโยบาย “Electrical Vehicle Policy” เช่นกัน ค่ายรถยักษ์ใหญ่ท้องถิ่น และต่างชาติที่มีฐานการผลิตในรัฐคุชราต ต่างขานรับนโยบายของรัฐบาลกลาง โดยเพิ่มการผลิตรถ EV และแบตเตอรี่ เช่น บริษัท Suzuki Motor มีแผนลงทุนผลิตแบตเตอรี่ Lithium-ion บริษัท MG Motors, Fords, และ TATA มีแผนผลิตรถ EV หลายรุ่น นอกจากนี้ TATA ในรัฐคุชราต จะผลิตรถ EV รุ่น TATA Nano ซึ่งเป็นรถยนต์ขนาดเล็กที่สุดในโลก [su_spacer size=”20″]
ทั้งรัฐคุชราตและรัฐมหาราษฎระ ได้จัดซื้อจัดจ้างรถ EV ผ่านบริษัทรัฐวิสาหกิจ Energy Efficiency Services Limited (EESL) ค่ายรถท้องถิ่นที่ชนะการประมูลดังกล่าว ได้แก่ TATA Motors และ Mahindra & Mahindra โดยทั้งสองบริษัทได้เริ่มส่งมอบรถยนต์ EV ให้แก่หน่วยงานภาครัฐแล้ว [su_spacer size=”20″]
- การงดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2557 รัฐบาลกลางได้ประกาศมาตรการ “Swachh Bharat Mission” หรือ “Clean India” โดยตั้งเป้าหมายให้อินเดียเป็นประเทศที่สะอาดและปลอดขยะภายในปี 2562 หลายรัฐในอินเดียตื่นตัวและออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณขยะสะสม และให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการงดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งเป็นตัวการสําคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษ และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาน้ำท่วมขังในเมืองขนาดใหญ่เนื่องจากไปอุดตันท่อระบายช้า [su_spacer size=”20″]
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 รัฐบาลรัฐมหาราษฎระประกาศการงดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อลด ปริมาณขยะพลาสติก และสนับสนุนให้มีการรีไซเคิลพลาสติกใช้แล้ว ซึ่งร้านค้าได้ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรวมถึงหลอดพลาสติก ส่วนประชาชนก็สนับสนุนและให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐ อย่างไรก็ดี โดยที่ผู้ประกอบการอินเดียไม่ได้เตรียมความพร้อมสําหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงไม่ได้พัฒนาทักษะ แรงงานเพื่อรองรับการผลิตบรรจุภัณฑ์รักษาสิ่งแวดล้อม อินเดียจึงพึ่งพาการนําเข้าสินค้านี้ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยจากต่างประเทศ ทําให้บรรจุภัณฑ์ทางเลือกในท้องตลาดมีไม่มากนักและยังค่อนข้างราคาสูง [su_spacer size=”20″]
อนึ่ง รัฐคุชราต รัฐกัว และรัฐมัธยประเทศ ได้ประกาศงดการใช้ถุงพลาสติก ความหนาต่ำกว่า 50 ไมครอน และจัดตั้งระบบรับซื้อคืนสําหรับขวดน้ำพลาสติก [su_spacer size=”20″]
เมื่อมีกระแสผู้บริโภคที่หันมานิยมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมีแนวโน้มมากขึ้น ผู้ผลิตก็เริ่มพัฒนา กระบวนการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นักลงทุนอินเดียเริ่มสนใจลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงเป็นโอกาสของไทยในการส่งเสริมการลงทุนซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และโดยที่หลายรัฐเริ่มงดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก อีกทั้งล่าสุดหน่วยงานกํากับดูแลความปลอดภัยด้านอาหารของอินเดีย (Food Safety and Standards Authority of India – FSSAI) จะออกมาตรการงดการใช้พลาสติกรีไซเคล หรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารบรรจุอาหาร โดยเริ่มมีผลตั้งแต่ 1กรกฎาคม 2562 จึงเป็นโอกาสของบริษัทเอกชนไทยในการนําเสนอสินค้าและร่วมทุนการผลิตกับคู่ค้าอินเดียด้านอุตสาหกรรมและการค้าสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ