เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2561 ท่าเรือเจนไนมีพิธีเปิดอาคารเพื่อรองรับเรือสําราญอย่างเป็นทางการ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเรือสําราญให้มากขึ้น อาคารดังกล่าว มี 2 ชั้น พื้นที่ 2,800 ตร.ม. สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 300 คน มีเคาน์เตอร์ตรวจคนเข้าเมืองจํานวน 10 เคาน์เตอร์ และมีแผนจะขยายเพิ่มในอนาคต ที่ผ่านมาท่าเรือเจนในรองรับเรือสําราญประมาณ 5 ลํา ซึ่งแวะผ่านเจนไนมากกว่า 1 ครั้งต่อปี และคาดว่าจะมีจํานวนเพิ่มขึ้นหลังจากนี้ ซึ่งในจํานวน 5 ลํา มี 3 ลํา ได้แก่ Seaborn Sojourn, Seaborn Ovation และ Queen Mary 2 มีกําหนดการผ่านเจนไนและไทยด้วย [su_spacer size=”20″]
เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2561 ถือเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ของท่าเรือ VO Chidambaranar (VOC) เมือง Tuticorin (อยู่บริเวณตอนใต้ของรัฐทมิฬนาฑู ใกล้ศรีลังกา) ที่สามารถรับการเทียบท่าของเรือชื่อ Zheng Jun ซึ่งเป็นเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ (ยาว 229 เมตร กว้าง 32.26 เมตร) กินน้ำที่ขนาดความลึก 14 เมตร โดยเรือดังกล่าวขนส่งถ่านหินจํานวน 74,962 ตัน มาจากท่าเรือ Samarinda ของอินโดนีเซีย การเทียบท่าครั้งนี้ได้ทําลายสถิติของท่าเรือเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2561 ที่เรือชื่อ MV Dionysus ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่กินน้ำที่ความลึก 13.20 เมตรเข้าเทียบท่า นาย Rinkesh Roy ประธานท่าเรือ กล่าวว่าการเทียบท่าของเรือที่กินน้ำขนาดความลึก 14 เมตร ในครั้งนี้เป็น game changer โดยท่าเรือมีเป้าหมายจะรองรับสินค้าที่เป็นสินค้าเทกอง (bulk) ให้มากขึ้น เช่น ถ่านหิน แร่ฟอสเฟต หินปูน และอื่นๆ และเป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าจํานวนเรือตู้สินค้าของปีนี้เพิ่มขึ้นมากจากปีที่ผ่านมา ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 18 ต.ค. 2561 ท่าเรือจะเริ่มขุดร่องน้ำของที่จอดเรือให้ได้จนถึงระดับ 15.50 เมตร และเพิ่มความลึกของเส้นทางให้เรือเข้าเทียบท่าที่ความลึก 16.50 เมตร ซึ่งจะเพียงพอที่จะรับเรือขนาด Panamax ซึ่งกินน้ำที่ความลึก 14.5 เมตร รวมทั้งรองรับเรือตู้สินค้าที่มีความจุ 9500 TEU ได้ภายในอีก 2 เดือน ข้างหน้านี้ [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ในอนาคต ท่าเรือยังมีแผนการจะขุดร่องน้ำของท่าเรือชั้นในให้ลึกขึ้นอีกจนถึง 16.70 เมตร และเพิ่มความลึกของเส้นทางให้เรือเทียบท่าให้ได้ 18 เมตร ตลอดจนเพิ่มความกว้างของทางเข้าท่าจาก 153 เมตร ในปัจจุบันเป็น 230 เมตรให้แล้วเสร็จในเดือน มิ.ย. 2564 โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูด transshipment traffic และดึงดูดให้เรือสินค้าเทกองแห้ง (dry bulk เช่น ถ่านหิน เป็นต้น) มาใช้บริการมากขึ้น [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ท่าเรือวิสาขปัตนัมและ ท่าเรือเจนไน (ทั้งสองท่าเรือเป็นท่าเรือสําคัญและเก่าแก่ทางฝั่งตะวันออกของอินเดีย) พยายามจะพัฒนาให้เป็นท่าเรือสีเขียวและเป็นท่าเรือสะอาด โดยจะพยายามลดจํานวนสินค้าเทกองแห้งบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ่านหิน จึงดูเหมือนว่าอินเดียจะหันมาเพิ่มการใช้ประโยชน์ของท่าเรือ VOC Tuticorin ซึ่งเป็นท่าเรือที่เพิ่งตั้งใหม่ให้มากขึ้น โดยพยายามพัฒนาให้เป็นท่าเรือสําหรับรองรับสินค้าเทกองแห้งแทนท่าเรือเจนในและวิสาขบัตนัม [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ท่าเรือ VOC ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สําคัญของอินเดีย และมีศักยภาพจะพัฒนาเป็น transshipment port นอกจากนี้ พื้นที่ใกล้ท่าเรือ VOC รัฐบาลทมิฬนาฑูได้พัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ชื่อ AMRL เพื่อรองรับการค้าและการลงทุนในอินเดียตอนใต้ด้วย [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน