Wednesday, May 21, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

อินเดียเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในปี 2567

23/08/2019
in ทันโลก, เอเชีย
0
อินเดียเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในปี 2567
5
SHARES
182
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ หนังสืมพิมพ์ The Economic Times ซึ่งเป็นสื่อท้องถิ่นเชิงธุรกิจแนวหน้า โดย นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวถึง วิสัยทัศน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจอินเดียใน 5 ปีข้างหน้า

 และมุมมอง/แนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ สรุปสาระสําคัญได้ ดังนี้ 

[su_spacer]

มุมมองเกี่ยวกับเศรษฐกิจอินเดียกําลังชะลอตัว นายกรัฐมนตรีอินเดียตระหนักว่าธุรกิจบางสาขากําลัง ชะลอตัวจริง โดยมีสาเหตุหลักจากการขาดแคลนสินเชื่อ และการปรับนโยบายของภาครัฐที่อาจสร้างความ กังวลต่อภาคธุรกิจ/ผู้บริโภคส่วนที่เกี่ยวข้อง สาเหตุที่ทําให้เศรษฐกิจชะลอตัว นายกรัฐมนตรีอินเดียมองว่าเป็นผลกระทบจากการดําเนินนโยบาย การคลังที่ผิดพลาดของรัฐบาลชุดก่อนหน้า ที่เน้นการปล่อยสินเชื่อแบบตามอําเภอใจ (indiscriminate tending) จนสร้างหนี้เสียจํานวนมาก ทั้งนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการปฏิรูประบบ การธนาคารและปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งทําให้ภาคการธนาคารเคร่งครัดต่อการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นกว่าแต่ก่อน (และส่งกระทบไปยังการดําเนินธุรกิจในบางสาขา)

[su_spacer]

มุมมองของนายกรัฐมนตรีอินเดียต่อธุรกิจที่ซบเซา
 (1) ปัญหานักลงทุนภายในประเทศไม่พร้อมลงทุน เห็นว่าเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ โดยการกระตุ้นการให้สินเชื่อ ซึ่งรัฐบาลได้ดําเนินการแล้ว นอกจากนี้ เชื่อว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะได้เห็น ปรากฏการณ์ที่ภาคเอกชนอินเดียเร่งขยายการลงทุนเนื่องจากปัจจุบันอัตราการใช้กําลังการผลิต (capacity utilization) ของภาคอุตสาหกรรมได้เติบโตกว่าร้อยละ 75 
[su_spacer]
(2) ปัญหาภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ชะละตัว เห็นว่าการชะลอตัวจะเกิดขึ้นชั่วคราว แต่กลับเป็นประเด็นที่คนสนใจเพราะเป็นช่วงที่สินเชื่อขาดแคลนและรัฐบาลได้ประกาศนโยบายส่งเสริมการใช้ รถยนต์ไฟฟ้าไปพร้อมกัน ทั้งนี้ เชื่อว่าธุรกิจด้านยานยนต์จะฟื้นตัวอีกครั้ง และขอให้ผู้ประกอบการมั่นใจว่าธุรกิจรถยนต์ทั้งประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายใน (เครื่องยนต์แบบเก่า) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเติบโต ไปพร้อม ๆ ในอินเดียได้เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่เพียงพอ และรัฐบาลจะดําเนินโยบายสนับสนุนอย่างครอบคลุม 
[su_spacer]
(3) ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ซบเซา รัฐบาลพยายามส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้ฟื้นตัวและเติบโตอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่จัดตั้งหน่วยงานควบคุมการดําเนินการด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Regulatory Authority – RERA) การลดหย่อนภาษีการผ่อนชําระเงินกู้ซื้อบ้าน การลดภาษี GST ให้ บ้านที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง การสร้างมาตรการกระตุ้นการเช่าบ้าน โดยรัฐบาลได้หารือร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อ ส่งเสริมให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีกําไรในขณะที่บ้านก็มีราคาเข้าถึงได้ 
[su_spacer]

แนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น
นายกรัฐมนตรีอินเดียเชื่อว่าการปฏิรูประบบการธนาคาร ตามที่ได้กระทํา คือการแก้ปัญหาที่ถูกทางและจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้ต่อไป โดยในเบื้องต้น รัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างความคล่องตัวในการให้สินเชื่อ โดยได้เพิ่มเงินทุน 7 แสนล้านรูปีให้ ธนาคารของรัฐเพื่อกระตุ้นการให้สินเชื่อ และเพิ่มบทบาทของหน่วยงานการเงินที่มิใช่ธนาคาร โดยเห็นได้ว่า ในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา อัตราการให้สินเชื่อได้เริ่มฟื้นตัวแล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลยังดําเนินมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจด้วยกลยุทธอื่น ๆ อาทิ การแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การเปิดให้ภาคเอกชนซื้อสินทรัพย์เก่า เพื่อลงทุนในโครงการสร้างพื้นฐานใหม่ของภาครัฐ (asset monetisation and asset recycling) การ แก้ปัญหาการคืนภาษีล่าช้า การเปิดโอกาสให้นักลงทุนกู้เงินจากตลาดการเงินระหว่างประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ และการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ห่างไกลเพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ ประชาชนทุกกลุ่ม เป็นต้น
[su_spacer]
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว
(1) วิสัยทัศน์ต่อเศรษฐกิจอินเดียในอีก 5 ปีข้างหน้า คือการทําให้เศรษฐกิจเติบโตด้วย การลงทุน (investment-led growth) ตั้งเป้าให้มีมูลค่าการลงทุน 100 ล้านล้านรูปีภายใน 5 ปี โดยจะ ส่งเสริมการลงทุนทั้งจากภายในและต่างประเทศ เปิดเสรีการส่งเสริม FDI ปรับกฎหมายแรงงานให้ไม่ซับซ้อน พัฒนา Ease of Doing Business ปฏิรูปสาขาพลังงาน ปรับปรุงแนวทางการสร้างรายได้และการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ปฏิรูประบบการธนาคาร การประกันภัย และระบบเงินบํานาญเลี้ยงชีพ และ รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีอินเดียยังให้ความเห็นต่อกรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนว่าอินเดียไม่ได้ให้ความสําคัญกับโอกาสที่เกิดขึ้นสั้นๆ แต่สนใจการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอินเดียในระยะยาวผ่านการปฏิรูประบบต่าง ๆ มากกว่า 
[su_spacer]
(2) การดึงดูดกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติ นายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีอินเดียเชื่อมั่นในศักยภาพการดึงดูด FDI ของอินเดีย และจะพัฒนาให้อินเดียเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในโลก โดยได้กล่าวถึงนโยบายตามที่ ประกาศไว้ในการแถลงแผนงบประมาณฯ ว่าจะเปิดกว้างให้ FDI ลงทุนในสาขาที่เคยถูกจํากัด เช่นด้าน การประกันภัย ลดการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย (capital control) สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการลงทุน ปรับ กฎระเบียบการเงินการคลัง/นโยบายด้านภาษี/การบริหารจัดการภาษีให้น่าเชื่อถือและคาดเดาได้ และพัฒนา คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังเน้นเชิญบริษัทระดับโลกให้ไปตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในอินเดีย ในสาขาที่เป็นที่ต้องการและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งรัฐบาลจะยกเว้นภาษีเงินได้ และให้สิทธิพิเศษ ทางภาษีแก่นักลงทุนในสาขาดังกล่าวด้วย 
[su_spacer]
(3) การส่งเสริมการส่งออกเป็นส่วนประกอบสําคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็น ผลลัพธ์ของนโยบาย Make in India ทั้งนี้ จะเน้นเพิ่มรายได้เกษตรกรเป็นสองเท่าภายใน 2565 (ค.ศ. 2022) ด้วยการเพิ่มปริมาณการส่งออก และมองเกษตรกรเป็นผู้ส่งออกที่มีศักยภาพมากกว่าการเป็นเพียงผู้ผลิต ให้ความสําคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร โดยที่ผ่านมาได้จัดตั้ง mega food parks และเพิ่ม cold chain จํานวนมากขึ้นทั่วประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลจะไม่กระตุ้นการส่งออกด้วยมาตรการจูงใจ (incentives) เท่านั้น แต่จะเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ส่งออกด้วย
[su_spacer]
(4) การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเชิงพาณิชย์ รัฐบาลมอง ประเด็นการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของอุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ เทียบเท่ากับประเด็นการขอเข้าถึงทรัพย์สิน ส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลกําลังพัฒนากรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อทั้งปกป้องข้อมูล และกระตุ้นการสร้าง ผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่อาจเกิดขึ้นต่อไป ทั้งนี้ เห็นว่าการแปรผลและการทําความเข้าใจข้อมูลจะช่วยสร้าง ระบบนิเวศเชิงธุรกิจและสร้างงานได้ และเชื่อว่าอินเดียจะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการวิจัยและ การเก็บรักษาข้อมูลได้ในที่สุด 
[su_spacer]
(5) ประเด็นอื่น ๆ นายกรัฐมนตรีอินเดียพอใจในความสําเร็จของนโยบายภาษี Goods and Services Tax (GST) และจะพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยรณรงค์ให้ประชาชนชําระเงินด้วยระบบดิจิทัล มากขึ้น นอกจากนี้ ได้กล่าวแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนารัฐจัมมูร์และแคชเมียร์ให้เป็นแหล่งลงทุน ที่มีศักยภาพในหลากหลายสาขาได้ อาทิ การท่องเที่ยว การเกษตร IT การสาธารณสุข ซึ่งเริ่มมีนักลงทุนแสดง ความสนใจบ้างแล้ว 
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี
Tags: นโยบายอินเดียเศรษฐกิจ/ธุรกิจ/การค้า
Previous Post

ไทย-อียู FTA: ความหวังที่สดใสท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก (ตอนจบ)

Next Post

ไต้หวันจัดการประชุมทางการแพทย์ แบ่งปันข้อมูลสาธารณสุขระดับภูมิภาคเอเปก

Admin Admin

Admin Admin

Next Post
ไต้หวันจัดการประชุมทางการแพทย์ แบ่งปันข้อมูลสาธารณสุขระดับภูมิภาคเอเปก

ไต้หวันจัดการประชุมทางการแพทย์ แบ่งปันข้อมูลสาธารณสุขระดับภูมิภาคเอเปก

Post Views: 600

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X