[su_spacer]
มีแนวโน้มว่าภายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะมีการเปลี่ยนแปลง แบบ “across the board” ในสภาพเศรษฐกิจและสังคมของอินเดีย ซึ่งเป็นผลมาจากการ Lockdown โดยด้านเศรษฐกิจเป็นผลมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มูลค่าการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศ (FDI) ลดลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจผันผวน ทําให้ผู้ลงทุนระดับโลกจะเลือกที่จะกลับไปลงทุน ในประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่า เนื่องด้วยความมั่นคงทางการเงิน สกุลเงิน และระบบการคลังที่มีความแข็งแกร่ง ดังนั้นเศรษฐกิจอินเดียจึงจะได้รับผลกระทบ อาทิ การลดจํานวนพนักงานในบางบริษัทเนื่องจากการขาด สภาพคล่อง ตัวเลขการส่งออกที่จะลดลงตามความอุปสงค์ที่ลดลงของตลาดโลก เป็นต้น ทั้งนี้ มีการ คาดการณ์ไว้ว่า GDP ของอินเดียในไตรมาสแรกของปีจะไม่มีการเติบโต (ร้อยละ 0) และมีแนวโน้มหดตัวหลัง การต่ออายุ Lockdown ไปหลังวันที่ 3 พ.ค. 2563 ในส่วนของความเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม แม้ว่าคน จะต้องกลับไปทํางาน ณ สถานที่ทํางาน แต่ก็จะมาพร้อมการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมต่อไป และการเข้ามาแทรกแทรงในการใช้ชีวิตประจําวันของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อาทิ การตั้งด่านตรวจ/จุดคัดกรอง ในที่สาธารณะ แม้แต่ public Surveilliance ซึ่งอาจจะกลายเป็นความปกติใหม่ (New Normal) ที่ทุกฝ่าย ต้องปรับตัว เป็นต้น
[su_spacer]
- นโยบายของรัฐบาลอินเดียหลัง Lockdown
[su_spacer]
มีแนวโน้มที่จะออกนโยบายเพื่อ แทรกแทรงระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น โดยจะเน้นการทําให้อินเดียสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะใน ด้านปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต (Gram Swaraj – Self Reliance) อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อลดการพึ่งพาการนําเข้า โดยเฉพาะจากจีน และการดึงดูดการลงทุนจากเงินทุนที่เคลื่อนย้ายออกมาจากจีน
[su_spacer]
ทั้งนี้ นรม. อินเดีย ได้เขียนบทความลง Profile เพจ LinkedIn เกี่ยวกับมุมมองของตนต่อ ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลัง COVID-19 ไว้ด้วย โดยเห็นว่าอินเดียเป็นชาติที่มีสัดส่วนประชากรเป็น คนรุ่นใหม่อยู่เป็นจํานวนมาก สามารถที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อวัฒนธรรมการทํางาน ในโลกยุคใหม่หลัง COVID-19 ได้ โดยจะเป็น trendseter ในการสร้างบรรยากาศ New Normal ผ่าน (1) Adaptability หมายถึงการปรับตัวทั้งของผู้ประกอบการธุรกิจและวิถีชีวิตของผู้คน แบบมีภูมิคุ้มกันต่อ disruption ต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งในปัจจุบันได้เริ่มพบเห็นแล้ว อาทิ การทําธุรกรรม ทางการเงินแบบดิจิทัล หรือการให้คําปรึกษาทางการแพทย์ผ่านอินเทอร์เน็ต (2) Efficiency หมายถึงตัวชี้วัด ผลสําเร็จของงานที่ใช้ความสําเร็จของงานในระยะเวลาที่กําหนดเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง ไม่ใช่การทําเสมือนว่า ทํางาน (appearance of efforts) (3) Inclusivity มุ่งเน้นการสร้าง business model แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้าง หลังและมีความยั่งยืน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและขาดโอกาส ซึ่งรวมถึงการใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาระบบ สาธารณสุขที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และคํานึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ไปในขณะเดียวกัน ซึ่งอาจจะต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยเพื่อให้สามารถ “มีผลลัพธ์มากขึ้นโดยที่ทําน้อยลง (Do more with less.) (4) Opportunity หมายถึงการคํานึงถึงความสามารถของ ปชช. ทักษะต่าง ๆ ที่อินเดียสามารถทําได้ดี และใช้โอกาสนี้ดึงสิ่งเหล่านี้ออกมาใช้เพื่อให้อินเดียสามารถเป็นผู้นําในเรื่องต่าง ๆ ได้ (5) Universalism เช่นเดียวกับเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ระบาดโดยไม่เลือกว่าจะเป็นคนรวยจน นับถือ ศาสนาอะไร หรืออาศัยอยู่ในประเทศใด การเอาชนะการแพร่ระบาดก็ถือเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันของ มนุษยชาติ อินเดียอาจใช้โอกาสนี้ต่อยอดเพื่อเป็นผู้นําด้านการบริหารโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานโลก ที่มีการทํางานที่บ้านได้
[su_spacer]
[su_spacer]
เป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดได้โดยง่าย ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใน แต่ละองค์กรมากน้อยเพียงใด ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่ได้ประกาศมาตรการ/ แนวปฏิบัติ/ หรือมีคําสั่งที่ชัดเจนถึง แนวปฏิบัติภายหลังการแพร่ระบาดและ Lockdown สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดจะมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอนในแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสุขอนามัยในที่ทํางาน โดยการเข้า-ออก สถานที่ทํางานจะมี การวัดอุณหภูมิร่างกาย การขอให้ใช้เจลล้างมือแอลกอฮอล์ การใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดประชุมระยะไกล เป็นต้น ซึ่งแนวปฏิบัติต่าง ๆ เหล่านี้ได้มีการระบุไว้แล้วเช่นกันในคําสั่ง มท. อินเดีย เกี่ยวกับการต่อ Lockdown ไป อีก 2 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. 2563 โดยจะกลายเป็น New Normal ไปอย่างน้อยอีกสักระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดี ภาครัฐและเอกชนของอินเดีย อาทิ สภาอุตสาหกรรมอินเดีย ได้จัดตั้งกลุ่ม India Inc. และได้มี การหารือเพื่อเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทํางานอย่างถาวรต่อไป อาทิ การแบ่งกําลังคนออกเป็น 2-3 ทีม เข้ามาทํางานในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ให้มีระยะเวลาคั่นประมาณ 45 นาทีในระหว่างเปลี่ยนกะ เพื่อดําเนินมาตรการฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น ซึ่งหลายหน่วยงานภายใต้ รบ.อินเดีย เห็นชอบในเรื่องดังกล่าว (รวมถึงบริษัทเอกชน อาทิ ITC, Hindustan, Unilever, Dabur, Capgemini, Tech Mahindra, Microsoft, Royal Bank of Scotland Services และ Micron India) และอยู่ระหว่างจัดทําแนวปฏิบัติสําหรับการเว้น ระยะห่างทางสังคม อย่างเคร่งครัดภายหลัง Lockdown สิ้นสุด ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าวัฒนธรรม การทํางานแบบนั่งโต๊ะในสังคมอินเดีย จะมีการปรับเปลี่ยนแบบยกเครื่อง กล่าวคือ จากการ BYOD (Bring You Own Device – นําอุปกรณ์ของตนเองมาใช้ในการทํางาน) ที่สามารถดําเนินการได้ในเพียงบางบริษัท เท่านั้น เป็น Occasional WFH (Work From Home – ทํางานจากที่พัก) มากขึ้นพอสมควร
[su_spacer]
[su_spacer]
การประกาศ Lockdown ทําให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาวอินเดียลดลง จนเกือบจะถึงศูนย์ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นเช่นกรุงนิวเดลี ซึ่งแสดงให้ เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบของการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ยังยืนต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม มาเป็นระยะเวลานาน ดังจะเห็นได้จากค่าฝุ่น PM2.5 ที่ลดลงอยู่ในระดับไม่เกิน 175 AQ| ตลอดทั้งเดือน เม.ย. 2563 ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่แทบจะเกิดขึ้นไม่ได้ในช่วงเวลาปกติ (กรุงนิวเดลีมีปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 สูงที่สุด ในโลกเมืองหนึ่ง กระทั่งเคยประกาศสภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขมาแล้ว) ดังนั้น โดยคํานึงว่า นรม.อินเดีย ได้ให้ความสําคัญกับการใช้โอกาสหลัง Lockdown แก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีแนวโน้มว่าช่วงเวลานี้ อาจจะเป็น wake-up cat สําหรับอินเดีย ในการแสดงความจริงจังและจริงใจในการแก้ไขปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนผ่านการยกเครื่องระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากรูปแบบเดิมที่ขาดประสิทธิภาพและ คาร์บอนสูง ไปสู่อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคาร์บอนต่ํา รวมทั้งการเพิ่มการใช้พลังงาน ทดแทนทั้งในรูปแบบ grid และการติดตั้งเดี่ยว ซึ่งจะถือเป็นการปรับเปลี่ยนและถือกําเนิดอุตสาหกรรม สาขาใหม่ในอินเดียด้วย อาทิ การผลิตแผง solar cell เป็นต้น อันจะทําให้อินเดียสามารถแก้ไขปัญหา ความมั่นคงทางพลังงานและอาหารไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระยะยาว อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ โดยคํานึงด้วยว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาด้านสาธารณสุข กล่าวคือ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกย่อมหมายถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเกิดเชื้อโรคชนิดใหม่ ซึ่งจะทําให้ต้องใช้งบประมาณในการลดผลกระทบต่อไป อีกทั้งปัญหาโลกร้อนก็ส่งผลกระทบต่อ productivity ในภาพรวมของแรงงานด้วยเช่นกัน
[su_spacer]
- สิ่งที่อินเดียอาจจะสามารถปรับตัวได้
[su_spacer]
1.ยกเครื่องห่วงโซ่การผลิตเป็นอุตสาหกรรมแบบพึ่งพาตนเอง – ปัจจุบัน แม้ว่าอินเดียได้ กลายมาเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกแล้ว โดยภายหลังที่ นรม.อินเดียได้ประกาศนโยบาย Make in India มีแนวโน้มที่จะขึ้นมาเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อันดับที่ 5 ของโลกในปี 2563 ผ่านการเข้ามาลงทุนใน อุตสาหกรรมการผลิตของบริษัทต่างชาติ อาทิ General Electric, Siemens, Toshiba, Boeing และ Samsung รวมทั้งมีแผนในการก่อตั้งเมืองอัจฉริยะและระเบียงอุตสาหกรรม ซึ่งได้เริ่มแล้วในเมืองใหญ่ เช่นกรุงนิวเดลีและเมืองมุมไบ แต่อินเดียก็ยังคงเป็นประเทศผู้ผลิตแบบพึ่งพาส่วนประกอบจากต่างชาติเป็น ส่วนใหญ่ และได้รับผลกระทบโดยตรงเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ระดับโลกที่ทําให้ห่วงโซ่การผลิตโลกหยุดชะงัก เช่น COVID-19 ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว อินเดียมีแนวโน้มที่จะปรับตัวโดยการเปลี่ยนจากการเป็น อุตสาหกรรมการประกอบ (assembling Industry) เพียงอย่างเดียว ให้เป็นอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing Industry) ด้วย โดยเฉพาะในวัตถุดิบที่ต้องนํามาใช้ในอุตสาหกรรมการประกอบที่มีอยู่แล้ว โดยอาจจะเริ่มจากการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีความสําคัญในลําดับต้น เป็นผลิตชิ้นส่วนประกอบ สําคัญของอุตสาหกรรมการประกอบที่มีอยู่แล้วที่มีการลงทุนไม่มาก ใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อย และง่ายต่อ การบริหารจัดการก่อน ดังนั้น มีความเป็นไปได้สูงว่าแนวโน้มนโยบายดึงดูดการลงทุนของอินเดียหลัง COVID-19 ในระยะยาว จะออกมาในรูปแบบนี้
[su_spacer]
2.เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการเงินให้เป็นดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่า เป็นสิ่งที่อินเดียได้ดําเนินการอยู่แล้ว (โดยปัจจุบันอินเดียมี digital payment System และmygOV ภาครัฐ) ดังเห็นจากการที่บริษัท Facebook ซื้อหุ้นจํานวน 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน Jio Platform (เป็นบริษัทธุรกิจ ดิจิทัลครบวงจรของ Reliance Industries ของนาย Mukesh Ambani มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของอินเดีย) เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2563 คิดเป็นมูลค่าเท่ากับร้อยละ 9.99 ของมูลค่าบริษัททั้งหมด โดยการเป็นหุ้นส่วน ในครั้งนี้ รวมถึงการ integrate โปรแกรมแชทส่วนตัว WhatsApp เข้ากับ JioMart ซึ่งเป็น e-commerce platform ของ Jio ด้วย ซึ่งจะทําให้สามารถเข้าถึง ปชช.ส่วนใหญ่ของประเทศและเชื่อมต่อไปยังร้านค้าปลีก ได้ อีกทั้ง การเป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีศักยภาพที่จะเติบโตไปยังสาขาอื่น และจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสําคัญที่จะ เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจและการเงินของอินเดียให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น (New Disruption) ที่ ถือเป็นการรับมือกับ Lockdown และเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคตด้วย
[su_spacer]
ข้อมูลเพิ่มเติม
[su_spacer]
แนวโน้มการดําเนินโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอินเดียหลัง COVID-19 กล่าวคือ การเข้ามาแทรกแทรงการดําเนินการทางเศรษฐกิจและการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยตรงและต่อบริษัทอินเดียมากยิ่งขึ้น มีความคล้ายคลึงกับรัฐบาลอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ให้มี เงินสะพัดอีกครั้งภายหลัง Lockdown ที่กินเวลาหลายเดือน และป้องกันเศรษฐกิจถดถอยในระยะยาว โดย ยุทธศาสตร์เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของเศรษฐกิจอินเดีย มีความแตกต่างกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกําลัง พัฒนาที่เป็นมหาอํานาจทางการผลิตอยู่พอสมควร โดยเฉพาะการมุ่งเน้นสร้างความพึ่งพาตนเองในปัจจัย ขั้นพื้นฐาน และการสร้างขีดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนสําคัญเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมการประกอบ สะท้อนการเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่กําลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่ได้มีการพัฒนาในด้านการผลิต แบบครบวงจรเหมือนในประเทศอื่น ๆ ที่ห่วงโซ่การผลิตมีระยะเวลาในการพัฒนาตนเองมากกว่า ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว (รวมถึงประเทศกําลังพัฒนาที่อัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาก่อนอินเดีย) ที่มีความพร้อม ในเรื่องโครงสร้างการผลิตและการประกอบผลิตภัณท์ (manufacturing and assembling infrastructure) ได้ออกมาตรการกีดกันเงินทุนจาก ตปท. และมาตรการเยียวยาเร่งด่วนเพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ล้มละลาย (emergency bail-out) ด้วยความกลัวว่าบริษัทที่สําคัญในประเทศของตนจะถูกกว้านซื้อโดยเงินทุนต่างชาติ (ทั้งนี้ อินเดียได้ออกมาตรการดังกล่าวเช่นกัน โดยมุ่งเน้นการกีดกันทุนจีน แต่ไม่ได้เป็นความห่วง กังวลหลักของรัฐบาลอินเดีย)
[su_spacer]
ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินเดีย ไทยควรจะหาแนวทางในการชี้เป้าภาคอุตสาหกรรมที่ อินเดียน่าจะมีความสนใจและสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของไทย อาทิ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร เป็นต้น เนื่องจากเป็นสาขาที่ไทยมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง สอดคล้องกับความต้องการของอินเดีย ที่มุ่งหวังที่จะบรรลุเป้าหมายการเพิ่มความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ และนโยบายที่อินเดียมีอยู่ เช่น การก่อตั้ง Food Park ที่อาจจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
[su_spacer]
นโยบายการพึ่งพาตนเองของอินเดียทางเศรษฐกิจของรัฐบาลโมดี ไม่ใช่สิ่งใหม่ โดยเป็น แนวคิดของมหาตมา คานธี เมื่อครั้งต่อสู้เพื่อเอกราชอินเดีย ที่ปลูกฝังวิสัยทัศน์ “gram Swaraj” หรือหมู่บ้าน ทุกแห่งของอินเดียจะต้องมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ในด้านปัจจัยและวัตถุขั้นพื้นฐาน ก่อนที่จะไป มุ่งเน้นการเพิ่มความร่ํารวยและการพัฒนาอุตสาหกรรม ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลโมดีจึงเปรียบเสมือนการนํา แนวคิดดั้งเดิมมาปรับใช้ในยุคสมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นให้อินเดียมีความสามารถในการผลิตแบบพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะทําให้เศรษฐกิจอินเดียมีรากฐานที่เข้มแข็งกว่าเดิมที่พึ่งพาการนําเข้าทั้งเพื่อการบริโภคและในฐานะชิ้นส่วน เพื่อนําไปผลิตเป็นสินค้า
[su_spacer]
สําหรับการคาดการณ์มาตรการทางสังคมภายหลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดและการ ยกเลิก Lockdown ก็อาจอ้างอิงจากคําสั่งของ มท.อินเดีย ที่ 40-3/2020-DM-1 (A) ลว. 1 พ.ค. ค.ศ. 2020 (2563) เนื่องจากคําสั่งดังกล่าวได้ระบุอย่างชัดเจนไว้ภายใต้ภาคผนวกที่ 1 (Annexure 1) ถึงแนวปฏิบัติ ในการปฏิบัติตนในที่สาธารณะและสถานที่ทํางาน ซึ่งรวมถึงในพื้นที่ Green Zone ซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อ การแพร่ระบาด ได้แก่ การให้ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในสถานที่สาธารณะ การห้ามการรวมกลุ่ม กันเกิน 5 คน การเว้นระยะห่างทางสังคมในการจัดพิธีแต่งงาน หรืองานศพ และห้ามเชิญแขกเข้าร่วมเกิน 50 และ 20 คนเท่านั้น การให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคมในที่ทํางาน การให้มีการทําความสะอาดฆ่าเชื้อ อย่างละเอียดทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนกะการทํางาน และการให้มีการตรวจเช็คอุณหภูมิก่อนเข้างานทุกครั้ง การจับกุมและปรับหากพบการถ่มน้ําลายลงพื้น เป็นต้น ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ภายหลังการคลาย มาตรการ Lockdownรัฐบาลอินเดียจะออกมาตรการที่ไม่ต่างไปจากในเอกสารข้างต้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติต่อไป อีกสักระยะหนึ่ง และอาจมีการนํามาปฏิบัติถาวรต่อไป (หรือจนกว่าจะมีการคิดค้นวัคซีนรักษา COVID-19) ซึ่งย่อมหมายถึงการเปลี่ยนวิถีชีวิตการทํางานของชาวอินเดียในเมือง และผลกระทบดังกล่าว (ซึ่งอาจรวมถึง การลดจํานวนพนักงาน) อาจทําให้เกิด urban-flight ที่ชาวอินเดียจํานวนหนึ่งเลือกที่จะออกไปทํางาน ที่เมือง/รัฐเกิด มากยิ่งขึ้น และอาจทําให้ความหนาแน่นของประชากรในเมืองใหญ่ลดน้อยลง ไม่นับว่าการนํา มาตรการเหล่านี้มาปฏิบัติในระยะยาว ย่อมหมายถึงการที่จะต้องใช้งบประมาณมากยิ่งขึ้นในการปฏิบัติ ซึ่งอาจส่งผลเป็นแรงกดดันให้องค์กรใหญ่ๆ เปลี่ยนวัฒนธรรมการทํางานเป็นรูปแบบการทํางานที่บ้านและ วัดผลสัมฤทธิ์ที่ผลงานและความตรงต่อเวลาแทนการบันทึกเวลาการเข้างาน และการแลดูเหมือนว่าทํางาน (appearance of efforts) เท่านั้น
[su_spacer]
แม้ว่าอินเดียจะได้รับคําชมจากทั่วโลกถึงการออกมาตรการ Lockdown ที่รวดเร็ว และเด็ดขาด แต่หลายฝ่ายก็ได้แสดงความห่วงกังวลถึงมาตรการเข้าแทรกแซงในชีวิตประจําวัน ซึ่งรวมถึงการตรวจตราประชาชนผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทําให้รัฐบาลเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้มากขึ้นและตลอดเวลา อาทิ การเปิดตัวแอพพลิเคชั่น Aarogya Setu ซึ่งสามารถติดตามที่อยู่ของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือได้ ทําให้ เจ้าหน้าที่รัฐสามารถที่จะสืบสวนหาเส้นทางการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องใส่ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการเดินทาง ข้อมูลทางการแพทย์ รวมทั้งยินยอมที่จะเปิดเผยข้อมูลสถานที่อยู่ปัจจุบันให้กับรัฐ ทําให้ เกิดความกังวลว่ารัฐบาลจะใช้แอพพลิเคชั่นนี้เป็นเครื่องมือในการตรวจตราประชาชนภายหลัง COVID-19 สิ้นสุด หรือไม่ ซึ่งถือเป็นการใช้การแพร่ระบาดเป็นเหตุผลในการริดรอนเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนนอกจาก ประเด็นด้านความเป็นส่วนตัวแล้ว ยังมีประเด็นด้านความปลอดภัยของข้อมูลดังกล่าว ภายหลัง Hacker ชาว ฝรั่งเศส นาย Robert Baptiste สามารถที่จะโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ระดับสูงอินเดียได้จากการ hack แอพพลิเคชั่นดังกล่าว และประเด็นความเหลื่อมล้ํา เนื่องจากมีชาวอินเดียจํานวนไม่น้อยที่ไม่สามารถ ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนี้มาใช้งานได้เนื่องจากไม่มีโทรศัพท์มือถือ ทําให้เสี่ยงต่อการถูกดําเนินคดีจากการ ฝ่าฝืนมาตรการของรัฐบาล
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี