อินเดียเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กกล้าดิบ (Crude Steel) ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีปริมาณการผลิตในปี ค.ศ. 2023 อยู่ที่ 143.6 ล้านตัน อีกทั้งยังเป็นประเทศผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กสําเร็จรูปขั้นปลาย (Finished Steel) ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกเช่นกัน (รองจากจีน) โดยมีปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กสําเร็จรูปอยู่ที่ 136 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเหล็กของอินเดียมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 2 ของ GDP อินเดีย มีการจ้างงานประมาณ 2.5 ล้านคน
โดยที่ผ่านมา อินเดียเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กออกสู่ตลาดโลก มีปริมาณการส่งออกกว่า 7.5 ล้านตันต่อปี แต่ปัจจุบัน อินเดียกลายเป็นประเทศผู้นําเข้าเหล็กจากต่างประเทศ โดยมีปริมาณการนําเข้าประมาณ 8.3 ล้านตัน โดยประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กมายังอินเดียที่สําคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม และรัสเซีย โดยอุตสาหกรรมเหล็กของอินเดียกําลังประสบกับภาวะราคาตกต่ํา แม้ว่าความต้องการภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นก็ตาม เนื่องมาจากปริมาณการส่งออกที่ลดลง และปริมาณการนําเข้าเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
Indian Steel Association (ISA) สมาคมของผู้ผลิตเหล็กกล้าของอินเดียได้ให้เหตุผลของปัญหาที่เกิดขึ้นว่า “เนื่องจากประเทศผู้ผลิตเหล็กรายสําคัญ ๆ ให้การอุดหนุนอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศของตน โดยเฉพาะจีน ซึ่งนอกจากจะอุดหนุนอุตสาหกรรมเหล็กของตนเองแล้ว ยังต้องการที่จะระบายเหล็กที่ผลิตออกมาเกินความต้องการของตลาดภายในประเทศ ออกสู่ตลาดโลกในราคาถูกอีกด้วย” ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงการที่จีนส่งออกเหล็กมายังอินเดียผ่านประเทศที่ 3 ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เหล็กของอินเดียต้องประสบกับปัญหาโครงสร้างการเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ไม่เป็นธรรม ทําให้ผลิตภัณฑ์เหล็กของอินเดียไม่สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์เหล็กนําเข้าได้อย่างเท่าเทียม พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขความเหลื่อมล้ําที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน
ผู้ผลิตเหล็กและเหล็กกล้ารายสําคัญของอินเดีย อาทิ Tata Steel Limited, Steel Authority of India Limited (SAIL), JSW Steel Limited, ArcelorMittal Nippon Steel India bla Jindal Steel and Power Limited (JSPL) ต่างมีแผนที่จะเพิ่มกําลังการผลิตของตนเพื่อรองรับปริมาณความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ประสบกับการแข่งขันจากเหล็กนําเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาต่ํากว่า ทําให้แผนการเพิ่มกําลังการผลิตต้องชะลอออกไป
นอกจากนี้ การที่อุตสาหกรรมเหล็กของอินเดียส่วนมากยังคงใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเก่า ที่เรียกว่า Integrated Blast Furnace – Basic Oxygen Furnace (BF-BOF) ซึ่งปล่อยคาร์บอนขึ้นสู่บรรยากาศในปริมาณเฉลี่ย 2.55 ตัน ต่อการผลิตเหล็กกล้า 1 ตัน (สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ 1.9 ตันต่อเหล็กกล้า 1 ตัน) ทําให้อุตสาหกรรมเหล็กของอินเดียปล่อย คาร์บอนขึ้นสู่บรรยากาศคิดเป็นร้อยละ 12 ของปริมาณการปล่อยคาร์บอนโดยรวมของอินเดีย น่าจะส่งผลให้ประเทศผู้นําเข้าเหล็กจากอินเดียเริ่มหันไปให้ความสนใจที่จะนําเข้าเหล็กที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อีกทั้ง ในระหว่างการสัมมนา ISA Steel Conctave เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา นาย Piyush Goyal รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อินเดีย ได้กล่าวให้ความมั่นใจกับผู้ผลิตเหล็กกล้าของอินเดียว่า “รัฐบาลอินเดียตระหนักดีถึงปัญหาเหล็กกล้าราคาถูกที่นําเข้าจากต่างประเทศ และอยู่ในระหว่างการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น” ในขณะที่ผู้ผลิตเหล็กกล้าของอินเดียเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการด้านภาษีเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กกล้าภายในประเทศ อาทิ การออกมาตรการที่เรียกว่า Bharat Border Adjustment Mechanism (BBAM) โดยเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 8 – 12 สําหรับเหล็กกล้านําเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น
ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดีย ได้จัดทํา The National Steel Policy 2017 โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตเหล็กกล้าภายในประเทศเป็น 300 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2030 และเป็น 500 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2047 เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และในขณะเดียวกันรัฐบาลอินเดียก็มีเป้าหมายที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2070 ทําให้อุตสาหกรรมเหล็กของอินเดียที่มีอัตราการปล่อยคาร์บอนสูง จําเป็นที่จะต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงิน ลงทุนเพื่อการนี้ถึง 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี ค.ศ. 2050
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กหรือเหล็กกล้ามายังอินเดียเป็นมูลค่า 232.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.72 ของปริมาณการส่งออกของไทยมายังอินเดียทั้งหมด โดยมีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2566อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการปล่อยคาร์บอนขึ้นสู่บรรยากาศโลกค่อนข้างมาก ซึ่งในอนาคตจะต้องเผชิญกับมาตรการคุ้มครองสภาวะแวดล้อมจากประเทศผู้นําเข้าในลักษณะต่าง ๆ มากขึ้น อาทิ มาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ของ EU ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของไทยจึงต้องเตรียมปรับกระบวนการผลิตของตน โดยใช้เทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกต่ํา อาทิ ใช้ Electric Arc Furnaces แทน Blast Fumace เป็นต้น ในขณะเดียวกันภาครัฐอาจจะต้องพิจารณาออกมาตรการจูงใจในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของไทยสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
ข้อมูล : สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ
เรียบเรียง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์