Saturday, May 17, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

เรียนรู้ ‘พลังงานความร้อนใต้พิภพ’ แหล่งพลังงานสะอาดจากฮังการี

06/12/2024
in ทันโลก, พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
0
เรียนรู้ ‘พลังงานความร้อนใต้พิภพ’ แหล่งพลังงานสะอาดจากฮังการี
0
SHARES
61
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

การศึกษาดูงานด้านพลังงานความร้อนใต้พิภพในฮังการีมีจุดมุ่งหมายเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพของฮังการี ศึกษาความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีของฮังการี ซึ่งได้รับการต้อนรับและการบรรยายจากนาย Janos Szanyi อาจารย์มหาวิทยาลัย Szeged และนาย Tamas Medgyes ผู้บริหารโรงงานผลิตพลังความร้อนใต้พิภพที่เมือง Szeged 

โดยนาย Janos Szanyi ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพ ดังนี้ ฮังการีมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ในการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ เนื่องจาก 1) ชั้นใต้ดินบริเวณฮังการีมีความร้อนมากกว่าปกติ กล่าวคือ เมื่อขุดพื้นดินลงไปที่ความลึกเท่ากัน ในฮังการีจะมีความร้อนมากกว่าที่อื่นโดยเฉลี่ย 2) ชั้นดินของฮังการีเป็นดินทราย ทำให้ขุดเจาะง่าย และ 3) น้ำใต้ดินในฮังการี โดยเฉพาะที่เมือง Szeged มีแรงดันมาก ทำให้สามารถสูบขึ้นมาใช้ได้ง่าย ซึ่งในการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ เริ่มต้นโดยการขุดบ่อในความลึกที่เหมาะสม โดยในเบื้องต้นยิ่งขุดลึกลงไป ชั้นดินหรือชั้นหินจะมีความร้อนมากขึ้น โดยยกตัวอย่างในฮังการี หากขุดลงไป 5 กิโลเมตร จะมีความร้อนประมาณ 200 – 250 องศาเซลเซียส ทั้งนี้นาย Janos Szanyi แจ้งว่า จากการหาข้อมูลในเบื้องต้น ความร้อนใต้พิภพในไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับฮังการี

โดยการนำความร้อนขึ้นมาใช้สามารถทำได้หลายวิธี โดยในฮังการีใช้วิธีการสูบน้ำที่มีความร้อนขึ้นมาถ่ายทอดความร้อน (Heat Exchange) ไปสู่ระบบหมุนเวียนของเหลวอีกระบบหนึ่งซึ่งจะนำความร้อนไปใช้ต่อ น้ำร้อนที่สูบขึ้นมาและถ่ายทอดความร้อนไปแล้วจะถูกฉีดกลับเข้าไปใต้ดินเพื่อให้เกิดความหมุนเวียนต่อไป (ไม่ได้นำน้ำร้อนมาใช้โดยตรงเพื่อไม่ให้น้ำปนเปื้อน) ทั้งนี้การฉีดน้ำกลับไปใต้ดินต้องทำด้วยความระมัดระวัง หากฉีดในพื้นที่ที่ใกล้กับบ่อสูบ อาจทำให้มีปัญหาความดัน การอุดตันของท่อและการอุดตันของชั้นหินทราย

ปัจจุบัน ฮังการีใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพในโรงอาบน้ำ (ร้อยละ 40) เกษตรกรรม โดยเป็นการสร้างความอุ่นให้กับเรือนกระจก (ร้อยละ 33) และการสร้างความอุ่นแก่ครัวเรือน (ร้อยละ 20) ทั้งนี้ในทางทฤษฎี พลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้ โดยต้องมีความร้อนอย่างน้อย 150 องศาเซลเซียส ซึ่งฮังการีมีโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่เมือง Tura (กำลัง 2.3 MW) อีกทั้งระบบพลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถใช้ประโยชน์ในการเก็บความร้อน โดยฉีดน้ำลงไปเก็บความร้อนที่ใต้ดินในช่วงฤดูร้อนและสูบน้ำที่มีความร้อนกลับขึ้นมาในช่วงฤดูหนาว นอกจากนั้นแล้ว ความร้อนใต้พิภพยังสามารถเป็นแหล่งความร้อนสำหรับระบบสร้างความเย็นแบบรวมเขตด้วยเทคโนโลยี Abosorption Cooling ซึ่งต้องใช้น้ำร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส อีกทั้งน้ำร้อนที่สูบขึ้นมาเพื่อผลิตความร้อนยังสามารถนำมาสกัดเอาลิเธียม เพื่อนำไปผลิตแบตเตอร์รีได้ ซึ่งฮังการียังอยู่ระหว่างการวิจัยเทคโนโลยีการสกัดลิเธียมจากน้ำร้อนใต้พิภพเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอร์รีต่อไป ซึ่งความร้อนที่ได้จากพลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เหมือนกับความร้อนที่เกิดจาดการเผาพลังงานฟอสซิล รวมทั้งอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการอบแห้งผลิตผลจากการเกษตรด้วย

การสร้างระบบพลังงานความร้อนใต้พิภพมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะหากเริ่มลงทุนตั้งแต่การขุดเจาะไปจนถึงการติดตั้งระบบท่อส่งความร้อนไปยังผู้ใช้ความร้อน ซึ่งโครงการพลังงานความร้อนใต้พิภพจะมีความคุ้มค่าหากตอบสนองเงื่อนไขที่สำคัญ ได้แก่ 1) ความร้อนของชั้นหิน/ชั้นดินใต้พิภพ และความยาก/ง่ายในการขุดเจาะ 2) การมีตลาดความร้อน คือ การมีผู้ต้องการใช้ความร้อนในอุณหภูมิที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ระบบส่งน้ำร้อนอุณหภูมิสูงที่สุดไปยังผู้ที่ต้องการความร้อนสูง จากนั้นส่งต่อน้ำไปยังผู้ที่ต้องการความร้อนในระดับที่ลดลงมา ก่อนที่น้ำเย็นจะวนกลับมาที่ศูนย์สร้างความร้อนเพื่อรับถ่ายทอดความร้อนใหม่ 3) เศรษฐกิจมหภาคที่มั่นคง เนื่องจากเป็นการลงทุนระยะยาวใช้เวลานานก่อนถึงจุดคุ้มทุน 4) กรอบกฎหมายภายในประเทศที่เอื้อต่อการผลิตความร้อนใต้พิภพและการกำกับตลาดความร้อน และ 5) เงินทุนสำหรับการลงทุน อีกทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพควารตั้งในพื้นที่ที่มีความต้องการความร้อนในอุณหภูมิที่ต่ำลงมา เช่น เริ่มจากใช้ผลิตไฟฟ้า ส่งต่อไปให้ที่โรงงานที่ต้องใช้ความร้อน แล้วจึงจ่ายให้ครัวเรือน เป็นต้น นอกจากนี้ สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพรูปแบบใหม่ โดยแทนที่จะสูบน้ำที่มีความร้อนขึ้นมา กลับใช้วิธีขุดบ่อและติดตั้งระบบถ่ายทอดความร้อนภายในบ่อ เพื่อสร้างไอน้ำที่สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้โดยตรง อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหว

ในส่วนของนาย Tamas Medgye ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบพลังงานความร้อนใต้พิภพในเมือง Szeged ไว้ว่า ในอดีต เมือง Szeged มีระบบสร้างความร้อนสำหรับใช้ในครัวเรือนแบบรวมเขต โดยใช้พลังงานฟอสซิลต้มน้ำในหม้อต้มหลักของเขตและส่งน้ำร้อนไปยังครัวเรือน ซึ่งทำให้ในฤดูหนาวมีมลภาวะมาก เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้ลงทุนในระบบพลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยใช้ระบบท่อน้ำร้อนเดิม ปัจจุบันสามารถสร้างความอบอุ่นให้ห้องชุด 27,251 ห้อง และ 469 สถาบัน โดยแบ่งเขตการผลิตความร้อนและการจ่ายน้ำเป็น 23 เขต ซึ่งระบบความร้อนใต้พิภพของเมือง Szeged  ใช้ระบบการสูบน้ำขึ้นมาถ่ายทอดความร้อน จากนั้นอัดฉีดน้ำร้อนที่ใช้แล้วกลับไปใต้ดิน โดยจุดสูบน้ำในแต่ละจุดจะมีจุดฉีดคืนน้ำสองจุด และในการสูบน้ำจะต้องพิจารณาสถานที่และการใช้น้ำใต้ดินอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงด้วย โดยยกตัวอย่างจาก กรุงบูดาเปสต์ ซึ่งมีข้อจำกัดในการสร้างระบบพลังงานความร้อนใต้พิภพ เนื่องจากมีสปาที่ใช้น้ำแร่ใต้ดินจำนวนมาก หากไม่พิจารณาการสร้างระบบให้ถี่ถ้วนอาจทำให้สปาเหล่านี้ไม่มีน้ำใช้

ในการก่อสร้างระบบจะต้องมีการเคลียร์พื้นที่สำหรับจุดสูบน้ำและจุดฉีดคืนน้ำ แต่เมื่อเจาะและเดินท่อเสร็จแล้ว จะสามารถกลบพื้นดินกลับ โดยเมื่อดำเนินการทุกอย่างเสร็จจะเหลือเพียงฝาท่อสำหรับการบำรุงซ่อมแซมเป็นครั้งคราว เนื่องจากเจ้าหน้าที่สามารถดูแลระบบได้ผ่านทางไกลและมีหม้อต้มน้ำด้วยก๊าซธรรมชาติเป็นระบบสำรอง รวมทั้งใช้ในกรณีที่อากาศหนาวมากจนพลังงานความร้อนใต้พิภพอย่างเดียวไม่พอ ซึ่งครัวเรือนที่ใช้บริการพลังงานใต้พิภพในเมือง Szeged สร้างมานานแล้วและใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยเก่า ทำให้มีความต้องการน้ำร้อน 90 องศา เพื่อสร้างความอุ่นที่เพียงพอต่อการอาศัยในฤดูหนาว อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีการสร้างอาคารในปัจจุบันสามารถลดความร้อนของน้ำที่ใช้สร้างความอบอุ่น โดยบ้านสมัยใหม่ต้องใช้น้ำร้อนเพียง 40 องศา ทำให้เกิดตลาดความร้อนในเมือง Szeged โดยระบบจะส่งน้ำไปยังบ้านรุ่นเก่าก่อน เมื่อน้ำเย็นลงก็จะจ่ายให้กับบ้านรุ่นใหม่

ทั้งนี้ ปัญหาที่พบในการใช้ระบบพลังงานความร้อนใต้พิภพในเมือง Szeged ได้แก่ 1) การตกตะกอน 2) ก๊าซมีเทนในน้ำที่สูบขึ้นมา 3) ความเข้าใจผิดว่าเครื่องสูบน้ำทำให้กิดแผ่นดินไหว และ 4) การต่อต้านจากครัวเรือนในบริเวณใกล้เคียงที่ไม่ต้องการให้ทำการขุดเจาะแต่ก็ต้องการได้ความร้อนในราคาถูก ซึ่งเทคโนโลยีสำหรับการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวก็ทำให้มีความต้องการวิศวกรและนักธรณีวิทยาในสาขานี้มากขึ้น อีกทั้งมหาวิทยาลัย Szeged มีการศึกษาและวิจัยในสาขาการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพและพร้อมร่วมมือกับนานาชาติ

ข้อมูล: สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์

Tags: #globthailand#globทันโลก#Hungary#ข่าววันนี้#นวัตกดรรม#พลังงาน#พลังงานความร้อน#พลังงานความร้อนใต้พิภพ#พลังงานสะอาด#อุตสาหกรรม#ฮังการี#เทคโนโลยี#เศรษฐกิจต่างประเทศ20242567slideshow
Previous Post

Info : “ด่านซั่วหลง” ด่านสากลทางบกแห่งใหม่ของ”กว่างซี” มุ่งกระชับความร่วมมือกับอาเซียน 

Next Post

‘รถไฟความเร็วสูงเวียดนาม’ จากเหนือสู่ใต้ คาดเสร็จปี 78

Globthailand

Globthailand

Next Post
‘รถไฟความเร็วสูงเวียดนาม’ จากเหนือสู่ใต้ คาดเสร็จปี 78

‘รถไฟความเร็วสูงเวียดนาม’ จากเหนือสู่ใต้ คาดเสร็จปี 78

Post Views: 461

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025
เกาหลีใต้รับมือภาษีตอบโต้สหรัฐฯ มาตรการเร่งด่วนและยุทธศาสตร์พยุงเศรษฐกิจ

เกาหลีใต้รับมือภาษีตอบโต้สหรัฐฯ มาตรการเร่งด่วนและยุทธศาสตร์พยุงเศรษฐกิจ

10/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X