Sunday, May 25, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

How to? เพาะปลูกอย่างไรให้ได้เครดิต

02/06/2023
in ทันโลก, พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
0
How to? เพาะปลูกอย่างไรให้ได้เครดิต
0
SHARES
393
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

เมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา ได้มีการจัดสัมมนาคาร์บอนเครดิตออนไลน์ในหัวข้อ “เพาะปลูกอย่างไรให้ได้เครดิต?” โดยได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) (องค์การมหาชน) และบริษัท Spiro Carbon บริษัทเอกชนจากรัฐยูทาห์ เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้และร่วมตอบคำถามจากผู้ชม

โดยการจัดสัมมนาครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตให้กับคนกลุ่มใหม่ ๆ พร้อมกับนำเทคโนโลยีการเกษตรของสหรัฐอเมริกาไปเผยแพร่ให้แก่คนไทย โดยเฉพาะกลุ่มชาวนาและเกษตรกรได้ทราบข้อมูล เนื่องจากเป็นโอกาสทางธุรกิจของประชาชน การเตรียมการของบริษัทเอกชน และการเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็นการต่อยอดการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ที่ประเทศไทยผลักดันเมื่อตอนที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC ในปีที่ผ่านมานี้ด้วย

ซึ่งทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และบริษัท Spiro Carbon จากรัฐยูทาห์ได้แนะนำวิธีการทำนาแบบ “เปียกสลับแห้ง” ให้เป็นวิธีการทำนาแบบใหม่ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากแปลงนาได้ โดยทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ทดสอบวิธีการทำนาแบบใหม่นี้ใน 6 จังหวัดภาคกลาง ผ่านโครงการ Thai Rice NAMA ผลปรากฏว่า สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่ระบบการตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าวยังไม่ชัดเจน จึงดำเนินโครงการ Thai Rice GCF ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อยอดจาก Thai Rice NAMA โดยขยายผลไปยัง 21 จังหวัดในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 4.5 ล้านไร่ และเกษตรกรมากกว่า 250,000 ราย เพื่อให้ระบบการตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าวชัดเจนและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ  

ด้านบริษัท Spiro Carbon ได้ทดลองวิธีการทำนาแบบเปียกสลับแห้งร่วมกับชาวนาในไทยแล้วพบว่า วิธีดังกล่าวสามารถช่วยลดก๊าซมีเทนลงได้ถึง 70% และสามารถนำไปยื่นเป็นโครงการคาร์บอนเครดิตได้ ปัจจุบัน บริษัทดำเนินโครงการอยู่ที่ฟิลิปปินส์ อินเดีย และกำลังจะเริ่มโครงการในเวียดนาม โดยปกติบริษัทจะประสานกับชาวนาโดยตรงเพื่อลดคนกลาง โดยใช้แอปพลิเคชันทำนาเปียกสลับแห้งเพื่อให้ชาวนาส่งข้อมูลกิจกรรมการปลูกข้าวตั้งแต่เริ่มการปลูกจนถึงหลังเก็บเกี่ยว และให้มีการถ่ายภาพท่อวัดระดับน้ำขณะที่น้ำท่วมแปลงนาและเมื่อนาแห้งก่อนที่จะเติมน้ำในแปลงนา จากนั้นบริษัทจะใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมเป็นตัวตรวจสอบว่ากิจกรรมของชาวนาเป็นไปตามข้อมูลที่กรอกหรือไม่ ทั้งนี้ ทางบริษัทมีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB) เพื่อลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้สนใจดำเนินโครงการคาร์บอนเครดิตในไทย

ด้านองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ได้พัฒนาโครงการ Thailand Voluntary Emission Reduction Program (T-VER) ขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 โดยมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกแบบสมัครใจที่ตั้งอยู่ในไทย ซึ่งต้องสามารถตรวจวัดการลดก๊าซเรือนกระจกได้จริง ไม่มีการนับซ้ำ และก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมด้านใดเพิ่มเติมได้ด้วย ซึ่งแบ่งโครงการออกเป็นโครงการทั่วไป (Standard T-VER) และโครงการแบบพิเศษ (Premium T-VER) สำหรับภาคเกษตรที่สามารถเข้าร่วมดำเนินโครงการคาร์บอนเครดิตได้ ได้แก่ การลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน การปรับปรุงการจัดการน้ำหรือการให้น้ำ การกักเก็บคาร์บอนในดิน และการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของต้นไม้ ซึ่งปัจจุบันมีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน T-VER แล้ว 334 โครงการ และมีโครงการที่ได้รับการรับรองโครงการคาร์บอนเครดิตแล้ว 144 โครงการ โดยเป็นโครงการจากภาคการเกษตรขึ้นทะเบียน 2 โครงการ

จากข้างต้น วิธีการทำการเกษตรแบบใหม่และโครงการคาร์บอนเครดิต นับว่าเป็นโอกาสที่จะช่วยให้ภาคเกษตรและเอกชนไทยสามารถสร้างรายได้เสริม รวมถึงเป็นประโยชน์ในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ประเทศไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี ค.ศ. 2065

ข้อมูล: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส

เรียบเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์


 

Tags: #carboncredit#carbonmarket#globthailand#globทันโลก#TVER#คาร์บอนเครดิต#ตลาดคาร์บอน#ทำนาแบบเปียกสลับแห้งslideshow
Previous Post

ชวนเอกชนไทยลงทุนในออสเตรีย !

Next Post

ครั้งแรกในเอเชีย! กิจกรรมสำคัญสัมมนาระบบอาหารระดับโลก ‘FUTURE FOOD SYSTEM CONFERENCE & SHOW 2023’

Globthailand

Globthailand

Next Post
ครั้งแรกในเอเชีย! กิจกรรมสำคัญสัมมนาระบบอาหารระดับโลก ‘FUTURE FOOD SYSTEM CONFERENCE & SHOW 2023’

ครั้งแรกในเอเชีย! กิจกรรมสำคัญสัมมนาระบบอาหารระดับโลก ‘FUTURE FOOD SYSTEM CONFERENCE & SHOW 2023’

Post Views: 1,091

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

23/05/2025
เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

22/05/2025
เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

22/05/2025
ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

22/05/2025
“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

22/05/2025
สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

22/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X