GDP ฮ่องกงขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดจากสภาวะถดถอยรุนเเรงในช่วง 2 ปีก่อน โดยเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั่วโลกเเละการขยายตัวของภาคการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 19 นับเป็นการเติบโตในอัตราที่สูง ในขณะที่การส่งออกด้านการบริการขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.1 ซึ่งยังเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนสภาวะถดถอยจากโควิด-19 เนื่องจากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศยังมีเเนวโน้มต่ำจากการเเพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
.
รัฐบาลฮ่องกงคาดการณ์ว่า GDP ฮ่องกงปี 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 2 – 3.5 จากปัจจัยสนับสนุน เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกหลังปี 2564 ซึ่งส่งผลให้การผลิตเเละกิจกรรมทางการค้าต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียเเละการส่งออกสินค้าของฮ่องกงเติบโต อีกทั้งเป็นผลจากการที่สถานการณ์การเเพร่ระบาดฯ ในฮ่องกงมีเเนวโน้มรุนเเรงน้อยลดตามลำดับบวกกับนโยบายสนับสนุนเเละมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเเละเยียวยาภาคส่วนที่ได้รับลกระทบจากการเเพร่ระบาดฯ ของรัฐบาลฮ่องกง เเต่ปัจจัยเสี่ยง อาทิ (1) ความไม่เเน่นอนของสถานการณ์การเเพร่ระบาดโควิด-19 (2) สภาวะคอขวดในห่วงโซุ่ปทาน (3) การปรับนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางขอเศรษฐกิจหลัก ๆ (4) ความสัมพันธ์จีน – สหรัฐฯ เเละ (5) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาค ยังเป็นปัจจัยที่รัฐบาลฮ่องกงยังมิอาจมองข้าม
.
ฮ่องกงมีศักยภาพทางธุรกิจสูง และเต็มไปด้วยปัจจัยที่เอื้อต่อธุรกิจและการลงทุน อาทิ ทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ การเป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลกระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง โครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ กฎหมายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่เป็นสากลพัฒนาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ความพร้อมของบุคลากรที่มีคุณภาพในสาขาต่าง ๆ และเป็นโอกาสในการเชื่อมโยงกับตลาดของจีนแผ่นดินใหญ่ผ่านพื้นที่เขต Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area (GBA) ที่มีประชากรรวมกว่า 70 ล้านคน ทำให้ฮ่องกงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่หวังเติบโตในระดับสากลที่ไม่ควรมองข้าม
.
ข้อมูล : สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง