สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของกรีซในรอบปี 2561 หลังจากสัญญาเงินกู้รอบที่ 3 ระหว่างกลุ่มเจ้าหนี้และรัฐบาลกรีซ และโครงการเยียวยาทางเศรษฐกิจ กรีซได้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 61 ทําให้เศรษฐกิจจากที่เคยถดถอยติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี เริ่มกลับมาฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2560 ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 1.4 % และต่อเนื่องถึงปี 2561 ด้วยอัตราเติบโต 2.1 % แต่เนื่องจากหนี้สาธารณะของกรีซยังมีจํานวนมาก และรัฐบาลกรีซยังคงต้องจัดทํางบประมาณเกินดุลต่อเนื่องไปอีกหลายปี ระบบการเงินการคลังของกรีซยังไม่เสถียรเพียงพอจึงทําให้รัฐบาลกรีซยังคงไม่ยกเลิกมาตรการควบคุมเงินทุน (Capital Control) จนถึงปัจจุบัน แต่ได้แก้ไขขยายวงเงินที่จะถอนจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวคือ บุคคลธรรมดาสามารถเบิกเงินจากบัญชีธนาคารของตนได้ไม่เกิน 5,000 ยูโร/เดือน หากจะเดินทางไปต่างประเทศเบิกเงินได้ไม่เกิน 10,000 ยูโร ส่วนนิติบุคคลและบริษัทห้างร้านสามารถทําธุรกิจกับบริษัทคู่ค้าในต่างประเทศได้ไม่เกิน 1 แสนยูโรต่อบริษัทต่อครั้ง [su_spacer size=”20″]
ในขณะที่สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์กรีซยังขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทําให้การปล่อยเงินกู้เพื่อการลงทุน หรือขยายการค้าเป็นไปอย่างจํากัด อีกทั้งรัฐบาลกรีซได้พยายามรณรงค์ให้มีการขยายการส่งออกสินค้ากรีซและลดการนําเข้าสินค้าเพื่อลดการขาดดุลการค้า แต่เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจของกรีซไม่แข็งแรง ขาดอุตสาหกรรมหนักพื้นฐาน จึงต้องพึ่งพาการนําเข้าสินค้าจําเป็นเพื่อการบริโภคและเพื่อการผลิต ทําให้กรีซยังคงขาดดุลการค้าเสมอมา [su_spacer size=”20″]
การค้าระหว่างประเทศกรีซ (รวมมูลค่าการนําเข้าน้ำมันดิบ) มูลค่า : ล้านยูโร
การค้า | 2559 | 2560 | 2561 | % เปลี่ยนแปลง |
1. กรีซส่งออก | 18,654.82 | 20,010.60 | 22,152.34 | +10.70 % |
2. กรีซนําเข้า | 34,889.84 | 38,484.48 | 39,602.43 | +2.90 % |
3. การค้ารวม | 53,544.66 | 58,495.08 | 61,754.77 | +5.57 % |
4. ดุลการค้า | -16,235.87 | -18,433.87 | 17,450.08 | -5.33 % |
ที่มา : สํานักงานสถิติแห่งชาติกรีซ [su_spacer size=”20″]
ในปี 2561 การค้ารวมของกรีซกับต่างประเทศมีมูลค่า 61,754.77 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 5.57 % แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 22,152.34 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้น 10.70 %) และการนําเข้ามูลค่า 39,602.43 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้น 2.90 %) ทําให้ขาดดุลการค้ามูลค่า 17,450.08 ล้านยูโร (ลดลง 5.33 %) [su_spacer size=”20″]
ประเทศคู่ค้านําเข้าที่สําคัญของกรีซ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี จีน รัสเซีย อิรัก และเกาหลีใต้ ส่วนสินค้านําเข้าที่สําคัญของกรีซ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรและเครื่องกล เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ เคมี ผลิตภัณฑ์ยา พลาสติก และเนื้อสัตว์สดและแช่แข็ง เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ประเทศคู่ค้าส่งออกที่สําคัญของกรีซ ได้แก่ อิตาลี เยอรมนี ไซปรัส ตุรกี และบัลแกเรีย และสินค้า ส่งออกที่สําคัญของกรีซ ได้แก่ เชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น อาหารและเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์และยา เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ในด้านการค้าระหว่างไทยและกรีซในปี 2561 มูลค่า : ยูโร
การค้า | 2557 | 2558 | 2559 | 2560 | 2561 | % เปลี่ยนแปลง |
1. ไทยส่งออก | 106,833,317 | 94,282,073 | 110,240,954 | 107,887,075 | 108,488,927 | 0.56 |
2. ไทยนําเข้า | 36,101,083 | 43,466,087 | 43,920,678 | 42,337,015 | 48,332,908 | 14.16 |
3. การค้ารวม | 142,934,400 | 137,748,160 | 154,161,632 | 150,224,090 | 156,821,835 | 4.39 |
4. ดุลการค้า | 54,240,434 | 50,815,986 | 66,320,276 | 65,550,060 | 60,156,019 | -8.23 |
ที่มา : สํานักงานสถิติแห่งชาติกรีซ
การค้าระหว่างไทยและกรีซได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจกรีซในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การขยายตัวทางการค้าเป็นไปอย่างจํากัด โดยในปี 2561 การค้ารวมของ 2 ประเทศกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย มีมูลค่า 156.82 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้น 4.39 %) แบ่งเป็นไทยส่งออกมูลค่า 108.48 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้น 0.56 %) และนําเข้ามูลค่า 48.33 ล้านยูโร (เพิ่ม 14.16 %) ทําให้ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับกรีซเป็นมูลค่า 60.15 ล้านยูโร (ลดลง 8.23 %) [su_spacer size=”20″]
สินค้าส่งออกหลักของไทยไปตลาดกรีซในปี 2561 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น/ตู้แช่แข็ง ยางรถยนต์ ปลากระป๋อง รถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ส่วนสินค้านําเข้าจากกรีซที่สําคัญในปี 2561 ได้แก่ ผลไม้แห้ง/ถั่วต่างๆ อลูมิเนียมแผ่น หินอ่อน หินที่ใช้ในการก่อสร้าง ผลไม้และลูกนัตดิบหรือแช่แข็ง แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
การค้าไทย-กรีซในหลายปีที่ผ่านมาอยู่ในสภาพทรงตัว โดยเฉพาะการส่งออกของไทย ซึ่งขยายตัวในสัดส่วนที่ไม่มากนัก ในขณะที่การนําเข้าจากกรีซเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมของกรีซที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ บวกกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างไทยกับอียูที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยมายังตลาดกรีซด้วย รวมทั้งคู่แข่งขันไทยในอาเซียน อาทิ เวียดนามและอินโดนีเซีย ต่างขยายการค้าเข้ามาในกรีซมากขึ้น ทําให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น และสินค้าไทยในตลาดกรีซในอนาคตอาจจะขยายตัวได้อย่างจํากัดหรือเพียงรักษาส่วนแบ่งตลาดสินค้าให้คงที่ในระดับเดิมเท่านั้น [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์