รัฐบาลกาตาร์ได้เผยแพร่ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต พ.ศ. 2567-2573 ( NMS : National Manufacturing Strategy 2024) ที่เป็นส่วนหนึ่งของของปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ระยะสุดท้ายในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ Qatar National Vision 2030 ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในความพยายามกระจายความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจของกาตาร์และการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่หลากหลาย กระตุ้นการพัฒนา การประยุกต์ใช้นวัตกรรม การเสริมสร้างบทบาทของภาคเอกชน โดยเฉพาะ SME โดยกำหนดสาขาอุตสาหกรรมเร่งด่วน 6 สาขา และเป้าหมายสำคัญ 11 ด้าน มีดังนี้
1. อุตสาหกรรมเร่งด่วน 6 สาขา ได้แก่ (1) เภสัชกรรมและ R&D ด้านเภสัชกรรม (2) เคมีและปิโตรเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและเทคโนโลยีการผลิตสารตั้งต้น (3) พลาสติก บรรจุภัณฑ์ หีบห่อ (4) อาหารและเครื่องดื่ม (5) เหล็ก (6) วัสดุก่อสร้าง เช่น เซรามิค กระจก ซีเมนต์ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมข้างต้นจะมุ่งใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและความได้เปรียบของกาตาร์ เป็นการบรูณาการอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการ
2. เป้าหมายสำคัญ 11 ด้าน ได้แก่ (1) การเพิ่มมูลค่าของภาคอุตสาหกรรมการผลิต (2) การเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้ไฮโดรคาร์บอน (3) การเพิ่มมูลค่าของการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต (4) การเพิ่มสัดส่วนของอุตสาหกรรมการผลิต (5) การเพิ่มสัดส่วนของภาคเอกชน/อุตสาหกรรมการผลิต (6) การเพิ่มความได้ปรียบของอุตสาหกรรมการผลิตของกาตาร์ใน Competitive Industrial Performance Index (CIP) (7) การเพิ่มสัดส่วนคนชาติ (Qatarization) ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต (8) เพิ่ม Productivity ของแรงงาน (9) สนับสนุน Knowleage-based Industries และแรงงานทักษะสูง (10) การส่งเสริมการเปลี่ยนถ่ายเป็นอุตสาหกรรมสะอาด (11) การยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ (Smart Industries)
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นการพัฒนาการสำคัญที่สะท้อนความพยายามอย่างต่อเนื่องของกาตาร์ในการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศให้มีความก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นโอกาสดีของประเทศไทยในการในการขยายความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนที่ตอบโจทย์การค้าอุตสาหกรรมเพื่อให้ไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain และ Regional Value Chain และการพัฒนาความร่วมมือ รวมไปถึงแลกเปลี่ยน Know-How ด้านอุตสาหกรรมระหว่างไทย-กาตาร์ระยะยาวในอนาคตอีกด้วย
ข้อมูล : สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงโดฮา