John McCarthy ผู้บุกเบิกเทคโนโลยี AI ได้นิยามคำว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ไว้เมื่อปี 2498 ว่า ‘เป็นการนำเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์สร้างเครื่องจักรให้มีความฉลาด’ โดยในปัจจุบันเทคโนโลยี AI สามารถคิดและเรียนรู้ได้คล้ายกับมนุษย์ ซึ่งเป็นผลจากการนำ ‘Machine Learning’ และ ‘Deep Learning’ ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองและเรียนรู้ได้ในเชิงลึกมาเป็นตัวช่วยวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล จึงทำให้เทคโนโลยี AI สามารถทำงานของมนุษย์ได้อย่างชาญฉลาด เช่น ‘Generative AI’ หรือ ‘Gen-AI’ ที่สามารถสร้างข้อความ รูปภาพ และชุดคำสั่ง (Coding) แทนการเขียน การวาด และการเขียนโปรแกรม
ทั้งนี้ เทคโนโลยี AI ยังสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น หุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์ IT ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ‘สมาร์ตโฟน’ โดย AI เข้ามาเป็นผู้ช่วยจัดการพลังงานแบตเตอรี่ เช่น ฟีเจอร์ Adaptive Battery ของระบบ Android รวมถึงการตรวจจับและระบุใบหน้า (Face ID) เพื่อปลดล็อกสมาร์ตโฟน นอกจากนี้ AI ยังมีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่
(1) การผลิตและการจัดการ โดยใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลด้านการผลิตและช่วยคิดค้นโซลูชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้หุ่นยนต์ในกระบวนการผลิต รวมถึงการจัดการคลังสินค้าและสต็อกสินค้า
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://globthailand.com/InterEcon/InterEcon21/#p=4 (หน้า 02-03)