เมื่อเดือนธันวาคม 2563 กานาได้นําวิธีการชําระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านระบบ QR code มาใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งกานาได้พัฒนาระบบดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2562 และเป็นประเทศแรกในแอฟริกา นาง Ursula Ekuful รมต. กระทรวงสื่อสารกล่าวว่า การชําระเงินผ่านระบบ QR Code จะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถชําระเงินค่าสินค้าและบริการได้ทันทีจากแหล่งเงินต่าง ๆ อาทิ กระเป๋าเงินดิจิทัล (mobile wallet) บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต และบัญชีธนาคาร เป็นต้น ซึ่งมีความสะดวกและปลอดภัย โดยผู้ใช้บริการเพียงใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QR Code หรือโทรศัพท์ผ่าน USSD ไปยังผู้ให้บริการ
.
Dr. Mahamudu Bawumia รองประธานาธิบดีกานากล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาหลักของประเทศ คือ ประชาชนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงระบบการเงินของประเทศได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ในชนบทที่ห่างไกล เพราะเศรษฐกิจของกานายังต้องใช้เงินสดในการชําระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การทําให้การชําระเงินค่า สินค้าและบริการให้สะดวกและง่ายขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าสู่ระบบการเงินได้อย่างทั่วถึง และจะอํานวยความสะดวกให้กับผู้ที่เป็นทั้งลูกค้าธนาคารและไม่ได้เป็นลูกค้าของธนาคารสามารถใช้บริการได้เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือและมีบัญชี ธนาคาร นาย Bawumia ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะนําระบบเศรษฐกิจดิจิทัลมาใช้ในประเทศและ ปรับเปลี่ยนกานาไปสู่ประเทศที่ไม่ใช้เงินสด ทั้งนี้ การใช้ระบบ QR Code จะมีความโปร่งใส ปลอดภัย และจะช่วยสนับสนุน การเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งธนบัตรสามารถเป็นตัวแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ ขณะนี้ ธนาคารจํานวน 13 แห่ง อาทิ Ecobank, Zenith Bank, United Bank of Africa (UBA), GCB Bank, Consolidated Bank of Ghana (CBG), Agriculture Development Bank (ADB) และ Fidelity Bank เป็นต้น ได้ให้บริการระบบ QR code กับบริษัท ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า รถแท็กซี่ และธุรกิจต่าง ๆ ในกานาแล้ว รวมทั้งบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือและระบบสื่อสาร ประกอบด้วย Vodafone, Airtel-Tigo และ MTN ได้เข้ามาให้บริการเช่นกัน โดยนาย Bawumia ได้ทดลองชําระเงิน ค่าอาหารผ่านระบบ QR Code ต่อสื่อมวลชน
.
นักวิเคราะห์ทางการตลาดมองว่า ระบบ QR Code จะช่วยให้กานาสามารถแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศที่จะสามารถรองรับการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบเดิม อาทิ บัตรเครดิตหรือ บัตรเดบิต เป็นต้น ทั้งนี้ การตัดสินใจนําระบบ QR Code มาใช้ ส่งผลให้มีผู้มาลงทะเบียนเพื่อใช้บริการเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ73 ภายใน 1 ปี นอกจากนี้ จากสถิติของธนาคารโลก การริเริ่มที่จะยกระดับอัตราของการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนใน ระบบการเงินในกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตกได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41 ในปี 2557 มาเป็นร้อยละ 58 ในปี 2560 รัฐบาลของประธานาธิบดี Akufo-Add๐ มีนโยบายที่จะนําระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริหารราชการและภาคธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าและความโปร่งใสของระบบราชการที่เป็นอุปสรรคสําคัญต่อการพัฒนาประเทศ และ หวังว่าจะช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจกานาขยายตัวจากการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์และอุปทานภายในประเทศ รวมทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการลงทุนโดยตรงและการอํานวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจท้องถิ่นและนักธุรกิจต่างชาติมากขึ้น
.
สำหรับไทยเอง ก็มีการผลักดันให้เกิดสังคมไร้เงินสดมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุคนี้ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งระบบชําระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านระบบ QR code นั้น จะช่วยให้เกิดประโยชน์ คือ ไม่เสี่ยงรับเชื้อโรค ไม่เจอเงินปลอม และ ไม่ถูกโจรกรรม รวมถึงยังเป็นการปรับตัวเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่มีพฤติกรรมการซื้อของที่เปลี่ยนไปอย่าง Gen X และ Gen Y ที่นิยมทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์กันมากขึ้น อีกทั้ง กรณีดังกล่าว ยังสอดคล้องกับนโยบาย คนละครึ่ง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าทั่วทั้งประเทศ หันมาปรับตัวรับชำระเงินผ่านทาง QR Code เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภคอีกด้วย
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา